วัดเจติยาคีรีวิหาร ( วัดภูทอก ) Chetigirivihar Temple (Phu Tok Temple)
เพื่อนๆคนไหนที่ไม่กลัวความสูง และชอบทำบุญเข้ามาชมเลยครับ วันนี้จะพาไปเที่ยวหนองคายกัน โดยจุดหมายอยู่ที่วัดเจติยาคีรีวิหาร(วัดภูทอก)........
เป็นวัดของ ท่านพระอาจารย์จวน วิศวะยังยอมแพ้ในการก่อสร้างว่าท่านพระอาจารย์จวนสร้างได้อย่างไร
โดยใช้เพียง แรงงานคนสร้างบรรไดเวียนไปมารอบภูทอกที่เป็นผาสูงชันถึง 7 ชั้น................. เราไปดูความมหัศจรรย์กันครับ
ภูทอก อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 163 กิโลเมตร จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอ โพธิ์ชัย อำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬ
แล้วเลี้ยว ขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึงอำเภอศรี วิไล จากอำเภอศรีวิไลมีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 30 กิโลเมตร
ภูทอกใน ภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว อยู่ในเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง เป็นภูเขาหินทรายโดดเด่นมองเห็นได้แต่ไกล
ประกอบด้วย ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย แต่ก่อนบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย
พระอาจารย์ จวน กุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ
การเดิน เท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก ต้องเดินไปตามสะพานไม้เวียนวนรอบเขาสูงชันจนถึงยอด สะพานไม้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากเหล่าพระ เณร และชาวบ้าน
เริ่มก่อ สร้างในปี พ.ศ. 2512 ใช้เวลาในการ ก่อสร้างนานถึง 5 ปี บันไดขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น แตกต่างกันดังนี้
ก่อนขึ้นภู ทอกทราบกฎกันก่อนนะครับ ขึ้นไปด้านบน ห้ามถ่มน้ำลาย สุภาพสตรี สายเดี่ยวและกระโปรงห้ามนะครับ ส่วนสุภาพ บุรุษก็ห้ามส่งเสียงดังโปรดสำรวมครับ
มองจากไกลๆ เหมือนแกรนแคนย่อนเลยครับ
ด้านล่างเป็นศาลาการเปรียญครับ
ทางขึ้นภูทอกครับ .....
จากด้านล่างสู่ด้านบนครับ
ลองดูทางเดินครับซึ่งถูกแบ่งเป็นเจ็ดชั้น
มองจากด้านล่างขึ้นไป หลวงพ่อท่านสร้างได้อย่างไร ใช้เพียงแรงงานคน ?
ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่ม เป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหิน ลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยกสอง ทาง
ทางซ้ายมือ เป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านหลืบหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4
ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอย ไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออก จดกับภูลังกา
เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบ บนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะๆ
บนภูทอกจะมุมปฎิบัต ิธรรมสร้า้งหลบอยู่ตามซอกหินครับ
ภายมีพระพุทธ รูป และรูปพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ขาว หลวงตาบัว หลวงปู่แหวน หลวงปู่คำพอง ติดอยู่ผนังถ้ำ อย่าลืมไปนมัสการกันนะครับ
มองจากด้านบนลงไปครับ
จะเห็นเจดีย์ พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่บรรจุอัฐบริขาร ในสมัยบำเพ็ญสมณธรรม และเก็บอัฐิธาตุท่านและรูปปั้นขนาดเท่าองค์จริงของท่าน
เดินกันต่อครับ หมดแรงกันยัง
อีกมุมครับ
ที่เห็นเป็นก้อนหินใหญ่ๆด้านบน คือ ศาลาปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์จวนครับ
ชั้นที่ 5 มีศาลาและ กุฏิที่อาศัยของพระ ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ 6 มีที่พักเป็น ลานกว้างหลายแห่ง
มีหน้าผาชื่อ ต่าง ๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พระวิหาร
อันเป็นที่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มักหยุดการเดินทางเพียงแค่นี้
เพราะจากชั้น ที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้ เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สุดทางที่ชั้น 7 เป็นป่าไม้ ร่มครึ้ม
ทางเข้าครับ ศาลาปฎิบัติธรรมครับ
ตามแผนที่เลย นะครับเพื่อนๆ จบไปอีกหนึ่ง ทริป ก็อย่างที่ บอกทุกครั้งครับ เมืองไทยเรา ยังมีอะไรที่เยี่ยมๆอีกมากครับ
สุดท้ายขอฝาก เหมือนเดิมทุกครั้งครับ เที่ยวเมืองไทยกันให้หมดก่อนนะครับ แล้วเราค่อยไปลุยต่อกันเมืองนอก รักเมืองไทยครับ