13 หนังทำเงินทรงอิทธิพลแห่งยุคปัจจุบัน

13 หนังทำเงินทรงอิทธิพลแห่งยุคปัจจุบัน

 

The Dark Knight 
ใครว่าประเด็นหนัก ๆ จะอยู่ในหนังแมสไม่ได้



"มันคงเป็นเรื่องน่าเศร้าถ้าหนังเนื้อหาจริงจังกลายเป็นหนังเล็กมาก และหนังฟอร์มยักษ์ถูกสร้างขึ้นเพื่อความบันเทิงโดยไม่มีสาระอะไรเลย แต่สิ่งที่โนแลนพิสูจน์ให้เห็นก็คือ เราสามารถสร้างหนังฟอร์มยักษ์ ที่ทั้งระทึกขวัญและให้ความบันเทิง แถมมีสาระเกี่ยวกับโลกที่เราอาศัยอยู่" คำกล่าวยกย่อง The Dark Knight โดย 'แซม เมนเดส' ผู้กำกับ Skyfall ซึ่งแสดงให้เห็นอิทธิพลของหนังเรื่องนี้ที่มีต่อหนังปีต่อ ๆ มา

เขายังเสริมอีกว่า "ถ้าไม่มี The Dark Knight แล้ว มันอาจเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำหนังฟอร์มยักษ์เนื้อหาจริงจัง เพราะผู้คนก็จะเอาแต่พูดว่า 'มันมีด้านมืดมากเกินไป ใครจะไปอยากดู' แต่เมื่อเรายก The Dark Knight เป็นตัวอย่างแล้วบอกว่า 'ดูนั่นสิ หนังที่มีด้านมืดกว่า และทำเงินได้เป็นพันล้าน' มันช่วยได้อย่างมาก ทั้งยังบอกอีกด้วยว่า มันมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างหนังที่มีด้านมืดมาก แต่ผู้คนก็ยังไปชมกัน"

เรายังอ้างอิงความเห็นของ 'แกเร็ธ เอ็ดเวิร์ด' ผู้กำกับ Godzilla ที่ช่วยยืนยันเรื่องสตูดิโอได้จากการที่เขาพอใจมากที่ The Dark Knight ประสบความสำเร็จ โดยเขาให้ความเห็นว่า "เพราะสตูดิโอไม่สามารถดูแคลนผู้ชมได้อีกต่อไป" จะเห็นว่างานของสตูดิโอ Warner Bros. อย่างเช่น Godzilla ก็มาพร้อมเนื้อหาที่หนักขึ้น ไม่ใช่เป็นเพียงแค่หนังสัตว์ประหลาดถล่มโลกสร้างความระทึกขวัญแต่เพียงอย่างเดียว

"ผมอ้างอิงถึง The Dark Knight ตลอดเวลาที่ถ่ายทำหนังเรื่อง Apes" รูเพิร์ท ไวแอตต์ยังเสริมอีกว่า "เพราะโนแลนเนี่ยแหละที่ทำให้สตูดิโอต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ผู้กำกับได้แสดงความสามารถในการสร้างปมตัวละครในหนังฟอร์มยักษ์" ดังนั้นเราจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมหนังจักรวาลวานรถึงมาพร้อมเนื้อหาที่เข้มข้นหม่นหมองมากขึ้น

'เควิน ฟีจ' ประธานฝ่ายผลิตของ Marvel ยังเคยกล่าวไว้ว่า "ความสำเร็จของ The Dark Knight ด้านรายได้และคุณภาพมีความสำคัญต่อ Marvel Studios" แม้เขาจะปฏิเสธที่จะทำหนังช่วงนั้นให้มีความมืดหม่นเหมือนผลงานของโนแลน แต่เราก็คงได้เห็นว่างานล่าสุดอย่าง Captain America 2 ก็เริ่มมีเนื้อหาที่จริงจังมากขึ้นกว่าเดิม

The Dark Knight ทำรายได้ทั่วโลกมากกว่าหนึ่งพันล้านเหรียญ ทั้งยังสร้างปรากฎการณ์ให้วงการทำหนังเมื่อหนังฟอร์มยักษ์เช่นนี้สามารถเล่นเรื่องจิตวิทยาหนัก ๆ สร้างโลกซูเปอร์ฮีโร่ให้กลายเป็นหนังอาชญากรรมสุดเข้มข้น ซึ่งความสำเร็จทั้งรายได้และเสียงวิจารณ์ส่งผลให้สตูดิโอต่าง ๆ ต้องประเมินรสนิยมคนดูหนังกันใหม่ นายทุนกล้าเปิดทางให้ผู้กำกับหนังฟอร์มยักษ์ทำเนื้อหาที่เข้มข้นจริงจังขึ้น ส่งผลให้หนังรุ่นต่อมาต่างได้รับอิทธิพลของโทนหนัง The Dark Knight ที่มีเนื้อหาจริงจังหนักแน่น ไม่ใช่เป็นเพียงแค่หนังซัมเมอร์ไร้สาระที่มีแค่ความบันเทิงเพียงอย่างเดียว

 

The Lord of the Rings 
แฟนตาซีลือลั่นปฐพี



"ว่าไงนะ เอ็งจะทำหนังผจญภัยแฟนตาซี ใครที่ไหนมันจะไปดู" ย้อนกลับไปก่อนหน้าปี 2001 หนังแนวแฟนตาซีเรื่องสุดท้ายที่ทำเงินสูงสุดก็คือ Hookหนังปี 1991 ผลงานกำกับของ 'สตีเฟน สปีลเบิร์ก' ที่มีดาราดังอย่าง 'ดัสติน ฮอฟฟ์แมน', 'โรบิน วิลเลี่ยมส์' และ 'จูเลีย โรเบิร์ตส์' โดยทำเงินทั่วโลกไป 300 ล้านเหรียญ และหลังจากนั้นก็ไม่เคยมีหนังแฟนตาซีทำเงินอีกเลย หรือพูดง่าย ๆ ว่าไม่มีใครคาดหวังว่าหนังแฟนตาซีผจญภัยจะเป็นที่ชื่นชอบของคนดู

แต่แล้วการมาของหนังที่สร้างจากนิยายแฟนตาซีพร้อม ๆ กัน 2 เรื่องก็คือ The Lord of the Rings และ Harry Potter ที่สร้างเป็นหนังทั้งที่คนเขียนยังแต่งไม่ครบ 7 เล่มด้วยซ้ำ มันได้สร้างปรากฎการณ์สำหรับตลาดหนังบล็อกบัสเตอร์ เมื่อหนังผจญภัยแฟนตาซีสองเรื่องนี้สามารถกวาดรายได้ไปมากกว่า 300 ล้านเหรียญ 

และที่มันเป็นปรากฎการณ์ยิ่งกว่าคือไม่มีใครคาดคิดหรอกว่าหนังผจญภัยแฟนตาซีภาคแรกจะเข้าชิงถึง 13 รางวัลออสการ์ และสามารถคว้ามาได้ถึง 4 รางวัล โดยก่อนหน้านี้หนังผจญภัยแฟนตาซีเรื่องล่าสุดที่สร้างปรากฎการณ์แบบนี้ได้ต้องย้อนไปถึงปี 1977 นั่นก็คือ Star Wars: Episode IV - A New Hope ที่เข้าชิง 10 รางวัลออสการ์ (ชนะเลิศ 6 รางวัล) 

"อย่างไม่ต้องคาดเดา การคว้ารางวัลออสการ์เป็นช่วงเวลาที่เหลือเชื่อสำหรับอาชีพของผม" ปีเตอร์ แจ็คสันยังเสริมต่ออีกว่า "แต่หนังเรื่อง Lord of the Rings มันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อออสการ์หรอกนะ พวกเราสร้างเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ชม"
คำกล่าวที่แสดงถึงความสำเร็จเกินคาด เมื่อการจบไตรภาคยังสร้างประวัติศาสตร์เวทีออสการ์ด้วยการประกาศศักดาเป็นผู้ชนะทั้ง 11 รางวัลที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 

ความสำเร็จทั้งรายได้และรางวัลของ The Lord of the Rings ส่งผลให้สตูดิโอต่าง ๆ แห่กันเข้ามาในตลาดหนังดัดแปลงจากวรรณกรรมแฟนตาซีทั้งหลาย เราจึงได้เห็น The Chronicles of Narnia, The Spiderwick Chronicles, The Golden Compass หรือแม้แต่ Eragon ที่พาเหรดกันเข้ามาหมายจะทำเงินจากกลุ่มคนรักหนังผจญภัยแฟนตาซี อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าใครก็จะสร้างปรากฎการณ์ได้เฉกเช่นเดียวกับ The Lord of the Rings Trilogy ของ 'ปีเตอร์ แจ็คสัน'

 

Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 1 / Part 2 
วิธีทำรายได้มากกว่าเดิมแม้มีวรรณกรรมเพียงแค่ภาคจบ



สตูดิโอยักษ์ใหญ่จะทำอย่างไรเมื่อพวกเขารู้ตัวว่าหนังแฟรนไชส์ของตัวเองดำเนินมาถึงภาคสุดท้ายแล้ว เมื่อปี 2010 ค่าย Warner Bros. ได้สร้างสรรค์วิธีการทำเงินแบบใหม่ด้วยการหั่น Harry Potter ภาคสุดท้ายของตัวเองออกเป็น 2 ส่วน ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อให้แฟน ๆ ได้อรรถรสเต็มของเนื้อหา ซึ่งไอเดียดังกล่าวสามารถใช้หนังภาคจบทำเงินเฮือกสุดท้ายให้สตูดิโอได้ถึง 2,300 ล้านเหรียญ ไม่ธรรมดาจริง ๆ 

แน่นอนว่าเมื่อมีสตูดิโอใหญ่กล้าหั่นภาคจบเป็นสองส่วนให้เห็นแล้วประสบความสำเร็จด้านรายรับขนาดนี้ มีหรือที่สตูดิโออื่นจะไม่ทำตาม เริ่มด้วย The Twilight Saga: Breaking Dawn ที่หั่นหนังตัวเองออกเป็น 2 ส่วนเช่นกัน และล่าสุด The Hunger Games: Mockingjay ก็ขอเดินรอยตามสูตรแบ่ง 2 ส่วนด้วยเช่นกัน และยังไม่นับ The Hobbit ที่หั่นนิยายหนึ่งเล่มออกเป็นหนังไตรภาคกันเลยทีเดียว

แน่นอนว่าในอนาคตอันใกล้นี้ อิทธิพลของการหั่นหนังเป็น 2 ส่วนคงมีมาอีกแน่ ๆ เตรียมพบกับ Allegiant ภาคต่อของ Divergent และ Insurgent ที่วางแผนจะหั่นหนังภาคจบของตัวเองเป็น 2 ส่วนเรียบร้อยแล้ว

 

X-Men 
เปิดศักราชประกาศศักดาหนังซูเปอร์ฮีโร่



เมื่อปี 2000 สตูดิโอ 20th Century Fox ได้เปิดตัวหนังซูเปอร์ฮีโร่ดัดแปลงจากคอมมิคเรื่อง X-Men ซึ่งได้เสียงตอบรับจากคนดูเป็นอย่างดี 

จากความสำเร็จของ X-Men ทำให้ค่ายอื่นต่างกระโจนเข้ามาสู่ตลาดหนังซูเปอร์ฮีโร่ เกิดการแย่งชิงลิขสิทธิ์ตัวละครซูเปอร์ฮีโร่จาก Marvel comicsตั้งแต่ Daredevil+Elektra, Fantastic Four ที่เป็นของ 20th Century Fox ซูเปอร์ฮีโร่อย่าง Spider-Man, Ghost Rider ก็อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์การทำหนังของค่าย Sony Pictures แม้กระทั่ง Universal Pictures ยังโดดลงมาคว้าสิทธิการทำหนัง Hulk 

รวมถึงฝั่ง DC comics ที่เข็นทั้ง Batman, Superman และ Catwoman ออกมาเป็นหนังเช่นกัน

เรียกว่าความสำเร็จของ X-Men นั้นทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตลาดหนังซัมเมอร์เลยทีเดียว

และที่ตอกย้ำความสำเร็จของหนังซูเปอร์ฮีโร่อีกประการก็คือการกำเนิด Marvel Studios เมื่อค่ายเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวละครมองเห็นโอกาสในการทำรายได้ด้วยตัวเอง จึงเกิดเป็นหนังซูเปอร์ฮีโร่เรื่อง Iron Man ที่เป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จด้านรายได้ของ Marvel Studios จนปัจจุบันสตูดิโอถูกซื้อไปอยู่ใต้ชายคาของ Disney เรียบร้อยแล้ว

 

The Matrix 
พลิกตำราปรัชญาไซไฟด้วยการขายฉากแอ็คชั่น



'สองพี่น้องวาโชสกี้' เดินเข้าไปหานายทุนพร้อมกับเปิดอนิเมชั่นเรื่อง Ghost in the Shell แล้วกล่าวสั้น ๆ ว่า "ผมต้องการทำให้มันเป็นหนังจริง ๆ"เป็นที่รู้กันโดยทั่วว่า The Matrix ได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากอนิเมชั่นญี่ปุ่นเรื่อง Ghost in the Shell อนิเมชั่นว่าด้วยโลกอนาคตที่มนุษย์สามารถเก็บความทรงจำแปลงเป็นดิจิตอลแล้วเก็บรักษาหรือถ่ายโอนไปยังร่างกายไซบอร์กได้ ซึ่งส่งอิทธิพลในแง่มุมของการตั้งคำถามถึงการพิสูจน์การมีอยู่ของตัวตนแท้จริงของเรา

ยังไม่นับรวมอิทธิพลต่าง ๆ ที่ได้มาจากหนังหลาย ๆ เรื่องเช่น 
• การใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อศีรษะเพื่อสร้างตัวแทนบนโลกเสมือนจริงและสามารถบิดเบือนกฎกายภาพต่าง ๆ ได้ ไอเดียนี้เคยถูกนำเสนอในซีรี่ส์ Dr. Who: The Deadly Assassin ปี 1976 และยังปรากฎใน Ghost in the Shell ด้วยเช่นกัน
• ไหนจะอิทธิพลของ cyberpunk จากอนิเมชั่นญี่ปุ่นเรื่อง Akira (cyberpunk คือแนวไซไฟที่พูดถึงโลกแห่งเทคโนโลยีล้ำยุคแต่คุณภาพชีวิตต่ำ) ซึ่งสองพี่น้องวาโชสกี้ยังได้แสดงความคารวะอิทธิพลของตัวเองด้วยการนำฉากจบ Akira มาดัดแปลงเป็นฉากที่ 'คีอานู รีฟ' พบเด็กพรสวรรค์พิเศษ แล้วไอเดียฉากหยุดกระสุนยังเคยปรากฎใน Akira มาแล้วเช่นเดียวกัน
• ยังไม่พูดถึงฉากแอ็คชั่นต่าง ๆ ที่สองพี่น้องวาโชสกี้รับอิทธิพลมาจากหนังแอ็คชั่นของ 'จอห์น วู' เช่น The Killer, A Better Tomorrow
• ไหนจะศิลปะการต่อสู้มือเปล่าอย่างกังฟู ที่หนังได้จ้าง 'ยฺเหวียน เหอผิง' ผู้เคยผ่านการออกแบบฉากแอ็คชั่นในหนังดังมาแล้วมากมายเช่น Fist of Legend, Iron Monkey, Drunken Master ให้เป็นผู้ออกแบบฉากการต่อสู้ใน The Matrix


นอกจากนี้แล้วไอเดียพล็อตของ The Matrix ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ใหม่แต่อย่างใด เราเคยเห็นหนังที่ตั้งคำถามว่าสิ่งที่เห็นคือความทรงจำหรือเรื่องจริง เช่นTotal Recall ที่มีแม้กระทั่งฉากให้เลือกกินยาแคปซูลเพื่อตื่นจากความทรงจำ, The Truman Show ที่ตัวเอกต้องมารับรู้ว่าโลกของตัวเองคือของปลอม, และ Dark City ที่พูดถึงการค้นหาความทรงจำที่หายไป 

อย่างไรก็ตาม The Matrix ก็ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในหนังทรงอิทธิพลของยุคใหม่ เพราะมันได้ก่อให้เกิดปรากฎการณ์หลาย ๆ อย่างขึ้นมา เช่น
• แนวทางการทำหนังปรัชญาไซไฟผสมด้วยแอ็คชั่น ซึ่งในเวลาต่อมา Equilibrium ที่แสดงนำโดย 'คริสเตียน เบล' ก็ได้รับอิทธิพลไปโดยตรง แล้วไหนจะ Inception ที่กลายเป็นหนังปรัชญาไซไฟแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ที่ประสบความสำเร็จอีกเรื่อง
• การถือกำเนิด 'bullet time' ที่ถูกนำมาใช้ในฉากหลบกระสุน อธิบายง่าย ๆ ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างสรรค์เทคนิคแพนกล้องรอบตัวละครที่กำลังซูเปอร์สโลว์โมชั่น ทำให้เหมือนว่าตัวละครกำลังเคลื่อนไหวด้วยความเร็วในขณะที่สิ่งของรอบตัวเคลื่อนที่ช้าลง 

เบื้องหลัง


ซึ่งเทคนิคหลบกระสุนจาก The Matrix ได้กลายเป็นมาตรฐานของคนทำงานด้าน visual effects รุ่นต่อมาทันที โดยเราสามารถพบเห็นเทคนิคนี้อย่างแพร่หลายในหนังแอ็คชั่นยุคใหม่ เช่น Spider-Man

รวมถึงหนังฟอร์มยักษ์อย่าง Transformer, Wanted และ Max Payne ต่างก็หยิบยืมเทคนิคนี้ไปใช้

• การมาของ 'ยฺเหวียน เหอผิง' ผู้กำกับฉากแอ็คชั่นยังได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่งานสตั๊นท์แมนในฮอลลีวูด เมื่อเขาใช้เวลาถึง 6 เดือนในการฝึกนักแสดงและสตั๊นท์แมน ซึ่งไม่เคยปรากฎการซ้อมจริงจังยาวนานขนาดนี้มาก่อนในหนังอเมริกัน
• อิทธิพลสู่ Inception การต่อสู้ระหว่างจิตใจของเรากับหมายเตือนให้เราตระหนักว่าโลกที่อยู่นั้นเป็นเพียงแค่สิ่งจำลอง

มั่นใจได้เลยว่าปรากฎการณ์ความสำเร็จและอิทธิพลของ The Matrix จะก่อให้เกิดหนังแอ็คชั่นปรัชญาไซไฟตามมาอีกแน่นอน หรืออย่างน้อยเราก็คงได้ชมหนังแอ็คชั่นเท่ ๆ อีกหลายเรื่องที่เดินตามรอย The Matrix (ไม่ต้องดูอื่นไกล เพราะเราผ่านตามาทั้ง The Matrix Reloaded, The Matrix Revolutions และ V for Vendetta)

 

The Avengers 
แยกกันยังอยู่ แต่รวมหมู่โคตรอลัง



ในยุคที่คนดูชินตากับการได้เห็นซูเปอร์ฮีโร่คนโปรดโลดแล่นบนจอภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็น Iron Man, Thor, Captain American และ Hulk แต่ใครจะคาดคิดว่าอยู่ดี ๆ จะมีสตูดิโอที่บ้าดีเดือดจับซูเปอร์ฮีโร่ตัวทำเงินประจำค่ายตัวเองมายัดลงในหนังเรื่องเดียวด้วยการแท็กทีมเป็น The Avengersโดยที่สามารถแบ่งซีนกันออกมาได้เหมาะสมด้วย

จากซูเปอร์ฮีโร่ฉายเดี่ยวที่ทำเงินทั่วโลกแตะระดับ 370-600 ล้านเหรียญ เมื่อมารวมตัวกันสามารถกวาดรายได้ทั่วโลกไปกว่า 1,500 ล้านเหรียญ

ความสำเร็จเช่นนี้ส่งผลให้ Marvel Studios เลิกสนใจแนวทางการทำหนังซูเปอร์ฮีโร่ที่มีความจริงจังของเนื้อหาจนประสบความสำเร็จทั้งรายได้และเสียงวิจารณ์ของ The Dark Knight ซูเปอร์ฮีโร่ตัวชูโรงจากค่ายคู่แข่งไปได้เลย แถมยังทำให้ค่ายคู่แข่งอย่าง Warner Bros. ต้องวางแผนระยะยาวเพื่อนำตัวละครในสังกัด DC comics มารวมกันเป็นหนัง The Justice League ให้ได้โดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตามพวกเขาได้เริ่มสร้างทางลัดด้วยการจับสองตัวละครที่มีแฟน ๆ มากที่สุดในโลกอย่าง Batman และ Superman มาประชันกันในหนังภาคต่อของ Man of Steel เรียกได้ว่าเป็น The Avengers effects ของแท้แน่นอน

 

Toy Story 
เรื่องราวของเหล่าของเล่นผู้พลิกโฉมวงการอนิเมชั่น



หลังจาก Disney ถือครองความสำเร็จแต่เพียงผู้เดียวในตลาดอนิเมชั่นช่วงก่อนศตวรรษที่ 21 ไล่ตั้งแต่ Who Framed Roger Rabbit ที่ทำรายได้ทั่วโลกไปมากกว่า 300 ล้านเหรียญ, The Little Mermaid อีก 200 ล้านเหรียญ, Beauty and the Beast ที่นอกจากทำรายได้สูงเป็นประวัติการณ์สำหรับตลาดอนิเมชั่นคือ 424 ล้านเหรียญ ยังประสบความสำเร็จด้วยการเป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถเข้าชิงออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, Aladdin ทำรายได้อีก 500 ล้านเหรียญ, ยังไม่พูดถึงความสำเร็จจาก The Lion King ที่กวาดรายได้ไปเฉียด 1,000 ล้านเหรียญ เพียงเท่านี้ก็พอจะบอกถึงความสำเร็จของ Disney ได้เป็นอย่างดี

แต่สัญญาณบอกถึงความเปลี่ยนในตลาดอนิเมชั่นเกิดขึ้นครั้งแรกหลังจากการมาของ Toy Story อนิเมชั่นเรื่องแรกภายใต้สตูดิโอ Pixar (ซึ่งเราจะขอละเว้นการพูดถึงสัญญาการจัดจำหน่ายโดย Disney เพราะโดยหลักแล้ว Pixar มีสิทธิขาดในการควบคุมการผลิตอนิเมชั่น) แม้เจ้าของเล่นพวกนี้จะทำรายได้ไปเพียง 361 ล้านเหรียญ แต่มันกลับบอกถึงความเปลี่ยนแปลงในแวดวงเทคโนโลยีการผลิตอนิเมชั่น เมื่อ Toy Story เป็นผู้นำการใช้ computer graphic เข้ามาผลิตอนิเมชั่นแทนการวาดมือ รวมถึงบทบาทการสร้าง characters ตัวละครที่พร้อมจะกำเนิดภาคต่อในอนาคต

ตัวบ่งชี้อิทธิพล CG ของ Toy Story อย่างชัดเจนเกิดขึ้นหลังการกำเนิด DreamWorks Animation ด้วยอนิเมชั่นที่ใช้ CG ในการผลิตตั้งแต่เรื่องแรกของสตูดิโอ คือเรื่อง Antz ที่ชิงตัดหน้าออกฉายก่อน A Bug's Life ของ Pixar นั่นเอง แม้ว่า Antz จะทำกำไรไปเพียง 70 ล้านเหรียญ แต่มันไม่ได้บั่นทอนกำลังใจหัวเรือหลักของ DreamWorks ในการผลิตอนิเมชั่น สิ่งที่ช่วยยืนยันเรื่องนี้ได้ดีคือการมาของ Shrek ในอีก 3 ปีต่อมา โดย Shrekภาคแรกทำรายได้ทั่วโลกไปถึง 484 ล้านเหรียญ และยังเป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกที่คว้ารางวัลออสการ์สาขาอนิเมชั่นยอดเยี่ยม โดยเป็นการเอาชนะคู่แข่งจาก Pixar อย่าง Monsters, Inc. นอกจากนี้ภาคต่อสามารถทำรายได้สูงถึง 919 ล้านเหรียญ นับเป็นตัวเบิกทางให้ DreamsWork จับตลาด CG อนิเมชั่นอย่างจริงจัง จนเกิดการผลิตอนิเมชั่นชื่อดังตามมาอีกมากมาย เช่น Madagascar, Kung Fu Panda, How to Train Your Dragon เป็นต้น

บทบาทการใช้ CG ผลิตอนิเมชั่นยาวครั้งแรกของ Pixar ยังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตลาดอนิเมชั่นศตวรรษที่ 21 ทันที เมื่อทุกสตูดิโอต่างหันมาใช้ CG ผลิตอนิเมชั่นกันหมด เริ่มจาก Blue Sky Studios สตูดิโอลูกของ 20th Century Fox ที่เปิดตัว CG อนิเมชั่นเรื่องแรกด้วย Ice Age เมื่อปี 2002 และตามมาด้วยภาคต่ออีก 3 ภาคที่ทำเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกภาค, Sony Pictures ก็กระโดดลงมาในตลาดนี้ด้วย Open Seasonและ Monster House, หรือแม้กระทั่ง  Warner Bros. ยังปล่อยอนิเมชั่นตามมาทั้ง Happy Feet และ Legend of the Guardians: The Owls of Ga'Hoole

เห็นกันอย่างนี้แล้วคงต้องบอกว่า Toy Story ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตลาดอนิเมชั่นจริง ๆ เมื่อทุกสตูดิโอต่างเปลี่ยนมาใช้ CG ผลิตอนิเมชั่น แต่เรายังเห็นอีกหนึ่งอิทธิพลที่ถือกำเนิดโดย Toy Story 2 นั่นก็คือ 'การกำเนิดภาคต่อด้วยตัวละครชุดเดิม'

อนิเมชั่นของ Pixar มักจะบอกเล่าในลักษณะของ 'hero mission' หรือภารกิจในลักษณะของวีรบุรุษ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือ Toy Story ภาคแรกเป็นเรื่องของภารกิจในการช่วยเหลือ 'บัซ ไลท์เยียร์' ให้หลุดพ้นจากเด็กแสบ, ภาคต่อของ Toy Story ก็เป็นเรื่องของภารกิจในการช่วยเหลือ 'นายอำเภอวู้ดดี้' จากนักสะสมของเล่น, A Bug's Life ก็เป็นภารกิจของมดตัวน้อยในการปกป้องเผ่าพันธุ์, Monsters, Inc. ในภารกิจช่วยเหลือส่งตัวเด็กหญิงให้กลับถึงโลกมนุษย์โดยปลอดภัย, Finding Nemo ก็เป็นภารกิจของพ่อผู้เป็นฮีโร่ในการออกช่วยเหลือปลาน้อยลูกชายคนเดียวของตัวเอง จากแนวทางการทำอนิเมชั่นของ Pixar เราจึงพอจะบอกได้อย่างหนึ่งว่ามันเอื้อให้เกิดการสร้างภาคต่อโดยใช้ตัวละครชุดเดิมได้โดยง่าย

อิทธิพลการสานต่อความสำเร็จด้านรายได้จากตัวละครชุดเดิม ก่อให้เกิดอนิเมชั่นภาคต่อขึ้นมามากมายในศตวรรษที่ 21 เมื่อพวกเขารู้ดีว่าตัวละครเหล่านี้เป็นขวัญใจคนดูเรียบร้อยแล้ว การฉกฉวยประโยชน์ด้วยภาคต่อก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เราจึงได้เห็นการกำเนิดภาคต่อของตัวละครอนิเมชั่นชื่อดัง ทั้งShrek, Ice Age, Madagascar, Rio, Despicable Me, Kung Fu Panda และยังไม่นับรวมถึงสตูดิโอ Pixar เองก็ใช้ความสำเร็จของตัวละครเดิมในการสร้างภาคต่อทั้ง Monsters University, Finding Dory, Cars 2 และความเป็นไปได้ในการสร้าง The Incredibles 2 ในอนาคตอันใกล้นี้

จึงไม่เป็นการยกย่องเกินจริงที่จะบอกว่า Toy Story คืออนิเมชั่นทรงอิทธิพลผู้เปลี่ยนโฉมหน้าวงการอนิเมชั่นในศตวรรษที่ 21

 

 

The Hunger Games 
วรรณกรรมเยาวชนขยายกลุ่มคนดู



โลกภาพยนตร์ได้นำวรรณกรรมเยาวนมาดัดแปลงเป็นหนังหลายต่อหลายเรื่อง ด้วยความที่วรรณกรรมเยาวชนมักจะมีตัวละครเอกเป็นช่วงวัยรุ่นและกลุ่มเป้าหมายคนอ่านก็คือวัยรุ่นเช่นกัน ดังนั้นเนื้อหาโดยมากก็มักจะวนอยู่กับความรักวัยรุ่น หรือบางเรื่องก็เป็นแนวแอ็คชั่นแฟนตาซี ซึ่งส่วนมากก็มักจะมีเนื้อหาเบา ๆ ตอบโจทย์แค่ความบันเทิงและความเพ้อฝันของเด็กวัยรุ่นเท่านั้น

ก่อนหน้านี้การดัดแปลงวรรณกรรมเยาวชนมาเป็น young adult films ก็มีทำเงินอยู่แค่ตระกูล Harry Potter และ The Twilight Saga ส่วนแนวแอ็คชั่นวัยรุ่นเรื่องอื่น ๆ เช่น I Am Number Four, Percy Jackson ที่ทำรายได้ทั่วโลกเพียงหลัก 200 ล้านเหรียญ ก็พอจะบอกได้ว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิงทั้งรายได้และเสียงวิจารณ์

แต่การทำรายได้สูงสุดในอเมริกาของ The Hunger Games ด้วยยอด 408 ล้านเหรียญ  และปิดยอดการทำเงินทั่วโลกไปได้ถึง 691 ล้านเหรียญ ส่วนภาคต่อ Catching Fire สามารถทำลายสถิติรายได้สูงสุดในอเมริกาของตัวเองลงได้ และยังกวาดรายได้ทั่วโลกไปถึง 864 ล้านเหรียญ ความสำเร็จทั้งรายได้และเสียงตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ย่อมทำให้สตูดิโออื่น ๆ เหลียวมองโมเดลการทำหนังดัดแปลงจากวรรณกรรมวัยรุ่นของตัวเองกันใหม่ เพราะถึงแม้จะมีตัวเอกเป็นวัยรุ่น แต่ถ้าเนื้อหาของหนังสามารถเจาะกลุ่มผู้ใหญ่ได้เมื่อไรแล้วมันก็ขยายกลุ่มคนดูได้มากกว่าเดิมทันที 

อิทธิพลของ The Hunger Games ทำให้สตูดิโออื่น ๆ เริ่มมองกลุ่มตลาดใหม่คือ young adult films ที่สอดแทรกเนื้อหาที่มีความเป็นผู้ใหญ่ ตัวอย่างเช่นการมาของ Ender's Games ที่แม้จะทำรายได้ไม่ค่อยดีนัก รวมถึงเสียงตอบรับก็แบ่งเป็นสองส่วนชัดเจน แต่ก็ยังนับว่าเป็นสัญญาณที่ดี หรือการมาของเทรนด์การทำหนังแนวดิสโทเปีย (การจินตนาการถึงโลกที่ไม่พึงปราถนาจะอาศัย) เช่น Maze Runner, The Giver, Divergent, The Host ก็พอจะบอกถึงอิทธิพลจาก The Hunger Games ในตลาดหนังดัดแปลงจากวรรณกรรมเยาวชนได้อย่างชัดเจน

 

The Bourne Identity 
เจสัน บอร์นผู้ช่วยชีวิตเจมส์ บอนด์



ในขณะที่โลกสายลับยังมัวเมาอยู่กับอุปกรณ์ไฮเทคเช่น รถล่องหน, แหวนคลื่นโซนิค, นาฬิกาเลเซอร์, หน้ากากเปลี่ยนโฉมสุดเหลือเชื่อ พร้อมด้วยเนื้อเรื่องของสายลับที่เก่งเกินมนุษย์และวายร้ายที่คิดแต่จะยึดครองโลก แม้ Die Another Day จะสร้างประวัติศาสตร์เป็นเจมส์ บอนด์ 007 ที่ทำรายได้มากที่สุดในเวลานั้น แต่เหล่าโปรดิวเซอร์ต่างรู้ดีว่าเวลาของเสือผู้หญิงขี้โม้รายนี้กำลังจะหมดลง แม้ 007 ของพวกเขาจะทำรายได้มากกว่าเจสัน บอร์นถึง 200 ล้านเหรียญ (และมากกว่าแจ็ค ไรอัน The Sum of All Fears ถึง 240 ล้านเหรียญ)

เจสัน บอร์นกำลังพลิกโฉมใหม่วงการภาพยนตร์สายลับแอ็คชั่นให้หลุดจากโลกแฟนตาซี เริ่มต้นสู่การทำให้คนดูเชื่อว่าถ้าโลกนี้จะมีสายลับ มันก็ต้องเป็นมนุษย์ธรรมดาแบบเจสัน บอร์นเนี่ยแหละ!

เราคุ้นเคยอยู่กับสายลับที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์พกพาโคตรไฮเทค เราคุ้นเคยกับฉากหลังองค์กรวายร้ายบนภูเขาน้ำแข็ง เราคุ้นเคยกับฉากแอ็คชั่นที่มีแต่ระเบิดตูมตามปราศจากความสร้างสรรค์ ฉากต่อสู้ออกแบบเน้นความสวยงามของท่วงท่า




แต่เจสัน บอร์นเข้ามาสร้างภาพจดจำให้เราใหม่ สายลับที่ไม่มีอุปกรณ์ไฮเทคต้องเอาตัวรอดด้วยไหวพริบ ฉากหลังเป็นโลกยุคใหม่เสมือนจริง ฉากขับรถไล่ล่าที่เน้นความสมจริง และฉากต่อสู้ดิบ ๆ ที่เน้นความว่องไวและสัญชาตญาณการเอาตัวรอด



แฟรนไชส์สายลับที่ประสบความสำเร็จมากว่า 40 ปี ทำไมจะต้องแบกรับความเสี่ยงเพื่อปฏิวัติตัวตนของเจมส์ บอนด์? นี่อาจเป็นคำถามที่เหล่าโปรดิวเซอร์ถกเถียงกันในห้องประชุม พวกเขาเคยพบความเสี่ยงใหญ่เพียงครั้งเดียวนั่นคือการเปลี่ยนนักแสดงจาก 'ฌอน คอนเนรี่' เป็น 'จอร์จ ลาเซนบี้' แต่นี่คือการเปลี่ยนสไตล์หนัง 007 พวกเขาต้องกำจัดเอกลักษณ์ของแฟรนไชส์ ตั้งแต่การใช้เสน่ห์หลอกล่อสาวสวยให้ช่วยเหลือแผนการ, กำจัดอุปกรณ์ไฮเทคล้ำสมัย, ตัวร้ายบิดเบี้ยวผิดมนุษย์, ลักษณะจับต้องไม่ได้ของบอนด์ผู้ไร้ความรู้สึก ตลอดจนเอกลักษณ์ที่จะต้องมี 'คิว' และ 'มันนี่เพนนี' พวกเขากำลังเดิมพันครั้งใหญ่กับแฟนหนังสายลับที่ติดตามมาโดยตลอด 

และผลลัพธ์หลังการเปิดตัว Casino Royale การ reboot กำเนิดใหม่โดย 'แดเนียล เคร็ก' 007 คนปัจจุบัน ทำรายได้ทั่วโลก 600 ล้านเหรียญ สูงสุดตลอดกาลของแฟรนไชส์ และได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาก ๆ จากนักวิจารณ์ แถมยังกลายเป็น 007 ภาคโปรดของแฟนเจมส์ บอนด์ดั้งเดิมจำนวนมาก

ผลตอบรับเช่นนี้เราจึงบอกได้เลยว่าเป็นการเดิมพันที่โคตรคุ้มค่าของเหล่าโปรดิวเซอร์เจมส์ บอนด์

เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของแฟรนไชส์เจมส์ บอนด์ตั้งแต่ฉากเปิดตัว Casino Royale ด้วยภาพขาวดำในห้องน้ำ ฉากต่อสู้มือเปล่าแบบดิบ ๆ ว่องไวและโหดเหี้ยมของ 007 ทำให้เราลืมมาดเพลย์บอยเจ้าสำอางเปี่ยมเสน่ห์ของ 'เพียซ บรอสแนน' ไปได้ทันที และการต่อด้วยฉากไล่ล่าแบบ p

10 พ.ย. 57 เวลา 11:07 5,398 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...