ต้นกําเนิด OUIJA เกมส์ผีถ้วยแก้วแบบฝรั่ง น่ากลัวไม่แพ้ของไทย

ต้นกำเนิด OUIJA เกมส์ผีถ้วยแก้วแบบฝรั่ง น่ากลัวไม่แพ้ของไทย

 

“เกมส์ผีถ้วยแก้ว” หนึ่งในวิธีติดต่อสื่อสารกับวิญญาณที่คนไทยนั้นชอบเล่นกันมาตั้งแต่สมัยอดีต ซึ่งคงไม่ต้องบรรยายถึงความน่ากลัว บางทีสิ่งที่คุณเรียกเข้ามาอยู่ในถ้วยแก้วอาจจะไม่ใช่วิญญาณที่คุณต้องการก็เป็นได้ แต่อาจจะเป็นวิญญาณสัมภเวสีที่รอคอยตัวตายตัวแทนหรือต้องการคนมาอยู่ในอีกโลกเป็นเพื่อนเขาก็ได้ .. วันนี้ทีนเอ็มไทยก็เลยนำเรื่องเกมส์ผีกระดานนี้มาฝากเพื่อนๆ กันคะ แต่ไม่ใช่ของไทยนะ เป็นของต่างประเทศเรียกว่า “OUIJA” (อุยจา) จะโหด, สยองแค่ไหน ไปติดตามกันเลย ^^ ต้นกำเนิด OUIJA เกมส์ผีถ้วยแก้วแบบฝรั่ง น่ากลัวไม่แพ้ของไทย

เรียบเรียงเขียนโดย teen.mthai.com (หากนำไปใช้กรุณาให้เครดิตเว็บไซต์ด้วยนะคะ)

ต้นกำเนิด OUIJA เกมส์ผีถ้วยแก้วแบบฝรั่ง น่ากลัวไม่แพ้ของไทย

ถ้าพูดถึงเกมส์ผีถ้วยแก้วในบ้านเรานั้น ทีนเอ็มไทยเชื่อว่าวัยรุ่นหลายคนคงเคยเล่นกันมาหมดแล้วไม่ว่าจะใช้ถ้วยแก้ว เหรียญ หรือปากกาในการเล่น คู่กับกระดานไม้หรือกระดาษที่มีการเขียนอักษรต่างๆ ลงไปในนั้น ความหลอนของผีถ้วยแก้วถ้าใครไม่เคยเจอจะไม่สามารถรู้ถึงความน่ากลัวของมันได้เลย นอกจากนี้ในต่างประเทศก็มีการเล่นเกมส์ผีถ้วยแก้ว หรือผีกระดานเหมือนในบ้านเราเลยคะ เพียงแต่อุปกรณ์นั้นจะแตกต่างจากของเรา วัฒนธรรมการเล่นก็แตกต่างไปด้วยเช่นกัน

ผีถ้วยแก้วของฝรั่ง นั้นจะเรียกกันว่า OUIJA (อุยจา) หรือ Ouija board (กระดานอุยจา) แปลได้ว่า กระดานอักษรและสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเข้าทรงเรียกผี แต่จะไม่มีพิธีการใช้ธูป-เทียนจุดเพื่อเรียกวิญญาณเหมือนของไทย, ใช้นิ้วในการเล่น 2 นิ้ว (บ้านเรานิ้วชี้นิ้วเดียว) ส่วนอุปกรณ์การเล่นจะมีเพียง “กระดาน” และ “planchette” หรือใช้ถ้วยแก้วได้เช่นกัน

Pythagoras (พีทาโกรัส)

ต้นกำเนิด OUIJA (อุยจา) หรือ Ouija board (กระดานอุยจา) 

ผีถ้วยแก้วอุยจา หรือกระดานอุยจา เกมส์นี้ว่ากันว่ามีจุดเริ่มต้นย้อนไปในยุคก่อนคริสตกาล ยุคสมัยของ Pythagoras (พีทาโกรัส) เป็นยุคแรกๆ ที่ใช้ศาตร์เพื่อติดต่อภูติผีวิญญาณ พีทาโกรัสทุกคนรู้จักกันดีว่าเขาคือ “บิดาแห่งตัวเลข” ผู้คิดค้นสูตรคูณ หรือตารางปีทาโกเรียน (Pythagorean Table) เป็นต้น

Pythagoras - ในสมัยนั้นถือเป็นยุครุ่งเรื่องของพีทาโกรัส เขาไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อคณิตศาสตร์โลกเท่านั้น เขายังได้สร้างสรรค์ความคิดหลายอย่างให้กับปรัชญาและศาสนาอีกด้วย ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาลจนถึงทุกวันนี้ ชีวประวัติของพีทาโกรัส บางอย่างไม่สามารถหาข้อเท็จจริงบางอย่างได้ แน่นอน เพราะตำนานเรื่องเล่าต่างๆ นานาปิดบังข้อเท็จจริงของชีวิตพีทาโกรัสมากกว่าปราชญ์ใดๆ ในยุคก่อนโสกราตีส

บางเรื่องเล่าบอกไว้ว่า พีทาโกรัส ได้ย้ายถิ่นฐานจากซามอส (บ้านเกิด) มายังโครโทน เขาก็ได้ก่อตั้งสมาคมศาสนาลับขึ้นมา อีกทั้งเขาได้สร้างกลุ่มสาวกของพีทาโกรัสขึ้นมา เรียกว่า “พวกพีทาโกเรียน” เขาได้เปิดสถานศึกษา(มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น) ซึ่งผู้ที่จะเข้าร่วมจำเป็นต้องสละทรัพย์สิน กินอยู่แบบมังสวิรัต และเรียกตัวเองว่ามาเทมาทิคอย (Mathematikoi)

พวกพีทาโกเรียนยังมีความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด และ ความเชื่อว่าตัวเลขเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสิ่ง  พวกเขาปฏิบัติพิธีกรรมล้างมลทิน ปฏิบัติตามกฎการกินอาหาร และกฎอื่นๆ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้พวกเขาเป็นอิสระจากวงจรการเกิดใหม่ และยังเชื่ออีกว่าการชำระล้างวิญญาณที่สูงที่สุดคือ”ปรัชญา” (ขอบคุณข้อมูล th.wikipedia.org)

มุมมองเกี่ยวกับศาสนาและวิทยาศาสตร์ ในความคิดของพีธากอรัสนั้น เขาเชื่อว่าทั้ง 2 อย่างนั้นมีความเชื่อมโยงกันเขาเชื่อในเรื่องวิญญาณ วงจรวัฏจักรชีวิต การกลับชาติมาเกิด การเกิดใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในร่างมนุษย์ สัตว์ รวมถึงชีวิตเป็นอมตะ! ซึ่งความคิดนี้เขาได้รับอิทธิพลมาจากศาสนากรีกโบราณ นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงเรื่องราวของพีทาโกรัสอีกว่า เขาได้อ้างว่าตัวเองนั้นเคยเกิดมาแล้วถึง 4 ชาติ ตัวอย่างเช่น เป็นโสเภณีที่สวยงาม เป็นต้น

OUIJA เกมส์ผีถ้วยแก้วแบบฝรั่ง ในสมัยก่อน

รูปแบบต่างๆ ของ OUIJA (อุยจา) หรือ Ouija board (กระดานอุยจา) เกมส์ผีถ้วยแก้วแบบฝรั่ง 

เอลิจาย์ เจ บอนด์ เป็นผู้ตั้งชื่อและจดสิทธิบัตรขายอย่างเป็นทางการ ต่อมาลิขสิทธิ์ได้ถูกส่งขายต่อไปยังบริษัทต่างๆ 

กระดานอุยจาเป็นกระดานแบนราบที่มีตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์อื่นๆที่ใช้ในการติดต่อกับวิญญาณ มีชิ้นไม้ทรงหัวใจมีขายืน 3 ขาหรือเรียกว่า”แพลนเช็ท” (planchette) เป็นอุปกรณ์สำหรับชี้ข้อความจากวิญญาณ โดยการสะกดทีละตัวอักษร ส่วนวิธีการเล่นคล้ายของประเทศไทยเรา โดยการเอาปลายนิ้วแตะบนแพลนเช็ทเบาๆ แล้วทำการเชิญวิญญาณเพื่อถามคำถาม

“คกคุริซัง” (Kokkuri san)

นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นก็มีการเล่นแบบนี้เช่นเดียวกัน แถมโด่งดังเป็นที่รู้จักเป็นอันดับต้นๆ ซะด้วย โดยชาวญี่ปุ่นจะเรียกว่า “คกคุริซัง“ (Kokkuri san) หรือเรียกแบบไทยนั่นก้คือ “ผีเหรียญ” นั่นเองคะ จะใช้เหรียญในการเล่น ซึ่งวิธีการเล่นคือ ให้แต่ละคนวางปลายนิ้วมือบนเหรียญเบาๆ แล้วท่องคำอัญเชิญ“คกคุริซัง คกคุริซัง ได้โปรดมาด้วยเถอะ” (คาถานี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่) จากนั้นเหรียญจะค่อยๆ เลื่อนไปที่อักษรฮิรางานะทีละตัวเพื่อตอบคำถาม โดยชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าวิญญาณของสุนัขจิ้งจอกจะมาตอบคำถามแทนวิญญาณของคนตาย

ในยูทูบจะมีคนถ่ายคลิปวิดีโอลงเกี่ยวกับการเล่น OUIJA (อุยจา) หรือ Ouija board (กระดานอุยจา) นี้อยู่เรื่อยๆ และจะเห็นได้ในหลายคลิปว่ามีคนถูกผีเข้าเป็นประจำ นั้นเพราะคนที่เล่นจิตอ่อนเลยถูกเข้าสิงก็เป็นได้ แล้วเพื่อนๆ คิดเห็นยังไงกับเกมส์อุยจานี้กันบ้างคะ ใครเคยเล่นก็มาบอกเล่าประสบการณ์สยองกันหน่อย ^^

เรียบเรียงเขียนโดย teen.mthai.com (หากนำไปใช้กรุณาให้เครดิตเว็บไซต์ด้วยนะคะ)

ขอบคุณรูปภาพ atcloud.com, ขอบคุณข้อมูล en.wikipedia.org/wiki/Pythagoras, th.wikipedia.org,marumura

ดูหนังเพิ่มเติม movie.mthai.com

OUIJA : Kennard Novelty Company (1891)

OUIJA (อุยจา)

ผลิตโดยบริษัท Kennard Novelty ในปี  1891 (10 กุมภาพันธ์) เป็นกระดานไม้

OUIJA : William Fuld (1902)

OUIJA (อุยจา)

By William Fuld, Design on wood 1902

MAGIC MARVEL 1940

OUIJA (อุยจา) : MAGIC MARVEL

By Lee Industries, Design on cardboard 1940′s

RAJAH 1940

OUIJA (อุยจา) : RAJAH

By Gift Craft, Design on paper-hardboard 1940′s

MYSTIC TRAY 1940

OUIJA (อุยจา) : MYSTIC TRAY

By Haskelite Manufacturing Corp., Design on paper-wood 1940′s

MYSTIC BOARD 1940

OUIJA (อุยจา) : MYSTIC BOARD

By Haskelite Manufacturing Corp., Design on paper-wood 1940′s

WIRELESS=MESSENGER 1898

OUIJA (อุยจา) :  “WIRELESS=MESSENGER”

By WM. W. Wheeler Company, Design on paper-wood 1898

WIZARD 1940

OUIJA (อุยจา) : WIZARD

By Fortune Industries, Design on paper-hardboard 1940′s

MAGI-BOARD 1943

OUIJA (อุยจา) : MAGI-BOARD

By Psychic Graf Company Inc., Design on cardboard 1943

GUIDING STAR BOARD 1960

OUIJA (อุยจา) : GUIDING STAR BOARD

By Palmer and Associates, Design on paper-hardboard 1960′s

TALKING BOARD

OUIJA (อุยจา) : TALKING BOARD

By Manufacturer unknown, Design on hardboard

ka-bala 1967

OUIJA (อุยจา) : ka-bala

By Transogram Company Inc., Design in plastic 1967

ZIRIYA 1972

OUIJA (อุยจา) : ZIRIYA

By Ziriya Creative Arts Associates, Design on paper-hardboard 1972

วิธีการเล่นหลังกล่อง OUIJA เกมส์ผีถ้วยแก้วแบบฝรั่ง

 

 

Credit: เอ็มไทยวาไรตี้
#ผีถ้วยแก้ว
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
29 ต.ค. 57 เวลา 09:59 1,680 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...