หลาย คนคงทราบกันดีแล้วว่า การเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยนั้น เรื่องกฎระเบียบและข้อกำหนดต่างๆ ของทางมหาวิทยาลัยนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญและพึงปฏิบัติที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการแต่งกายเครื่องแบบนิสิตนักศึกษาที่มีให้เห็นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายล่อแหลม-วาบหวิว หรือการแต่งชุดนักศึกษาที่ขัดแย้งกับเพศสภาพเดิม ซึ่งถือว่ายังมีขอบเขตและข้อจำกัดหลายประการ ทางมหาวิทยาลัยได้มีข้อกำหนดและระเบียบในเรื่องการแต่งกายที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่มุ่งเน้นเหมือนกันนั้นคือ “ความเป็นระเบียบและความถูกต้อง” แต่จะมีมหาวิทยาลัยใดบ้างที่เปิดโอกาสให้นิสิต-นักศึกษาสาวประเภทสองสามารถแต่งกายตามความต้องการของจิตใจตัวเองได้บ้าง ตาม Life on Campus มาดูกัน..
สิทธิ-เสรีภาพ ในเครื่องแบบนิสิตนักศึกษา
เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “สิทธิเสรีภาพ” ในรั้วมหาวิทยาลัยนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการกระทำตามวิถีทางของตนอย่างถูกต้องและอยู่ในขอบ เขตที่สมควร รวมถึงการปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยและเรื่องการแต่งกายด้วย เพราะการแต่งกายนั้น สามารถบอกได้ว่าเราเป็นนิสิตนักศึกษาอยู่ รวมถึงบอกสถานะภาพและบทบาทหน้าที่ของตนเอง
ดังนั้นนิสิตและนัก ศึกษาจึงควรปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ได้กำหนดไว้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างวินัย ความรับผิดชอบ และยังเป็นการเคารพสถานที่ รวมถึงเป็นการสอนนิสิตนักศึกษาทางอ้อมให้รู้จักกาลเทศะ เพราะชุดนักศึกษาที่ถูกต้องตามระเบียบเป็นชุดที่ปลอดภัยที่สุด ไม่ล่อแหลมและไม่ส่อแววที่จะทำให้เกิดปัญหาทางเพศได้ ทางมหาวิทยาลัยจึงมีกฎระเบียบออกมาเพื่อปกป้องตัวนิสิตนักศึกษานั้นเอง
ถึงแม้การแต่งกายใน เครื่องแบบนักศึกษาจะถูกแบ่งแยกไว้ตามเพศสภาพของชาย-หญิง อย่างชัดเจน แต่ก็ต้องยอมรับเลยว่าปัจจุบันกลุ่มเพศที่ 3 นั้นมีบทบาทมากขึ้น และมีความต้องการที่จะแต่งกายด้วยชุดนิสิตนักศึกษาหญิงตามสิทธิและความต้อง การของตนเอง ซึ่งความสามารถในการกระทำดังกล่าวก็ต้องขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของ ทางมหาวิทยาลัย รวมถึงสาขาและคณะที่เรียน ตัวอาจารย์ผู้สอนด้วยว่ามีการเปิดกว้างและอนุญาตให้สวมใส่ชุดนักศึกษาหญิง มากน้อยเพียงใด
ไม่ได้ห้าม แต่…ไม่ได้สนับสนุน!!
หาก พูดถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพด้านการแต่งกาย หลายคนต้องนึกถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะมีการเปิดกว้างเรื่องการแต่งกายของนักศึกษาที่ไม่ว่าจะเป็นเป็นกลุ่ม เพศใดก็สามารถมีใช้สิทธิและเสรีภาพของตนในการแต่งกายได้อย่างเหมาะสมและอยู่ ในขอบเขต รวมถึงต้องถูกต้องตามกาลเทศะด้วย
ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษา พ.ศ.2549 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ข้อ 11 กำหนดว่า “หาก นักศึกษาผู้ใดแต่งกายโดยใช้เสรีภาพเกินกว่าขอบเขตอันเหมาะสม อันได้แก่ การแต่งกายหล่อแหลมจนเกินสมควร การแต่งกายที่เปิดเผยเนื้อตัวร่างกายมากจนเกินไปจนมีลักษณะไปในทางยั่วยุทาง เพศ หรือการแต่งกายไม่สุภาพหรือไม่เหมาะสมกับกาลเทศะเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นชุดที่แต่งในโอกาสทั่วไปหรือชุดนักศึกษา นักศึกษาผู้นั้นอาจถูกห้ามมิให้ขึ้นอาคารเรียนหรือห้องเรียน และหน่วยงานต่าง ๆ มีสิทธิงดให้บริการได้"
นั้นคือ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาตามเพศสภาพเดิม หรือสาวประเภทสองก็ตาม ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ว่าต้องปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ข้างต้น ทางทีมงาน Life on Campus จึงได้สอบถามไปทาง อาจารย์ปารียา ณ นคร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษาและการเรียนรู้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเรื่องการแต่งกายของสาวประเภทสองในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“ทางมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ไม่ได้มีกฎบังคับเรื่องการแต่งการของนักศึกษาค่ะ คือไม่ได้ห้ามและก็ไม่ได้สนับสนุน แต่ทางมหาวิทยาลัยไม่ได้ปิดกั้นเรื่องสิทธิการแต่งกายของนักศึกษาอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม และยังให้สิทธิในการใส่ชุดไปรเวทเข้าเรียนได้ด้วย แต่ในส่วนของนักศึกษาสาวประเภทสอง ก็คือสามารถใส่ชุดมาเรียนได้ตามปกติ แต่ต้องอยู่ในขอบเขต ในที่นี้คือต้องแต่งอย่างถูกต้องตามระเบียบของชุดนักศึกษาหญิงเลย ถูกต้องตามกาลเทศะ และก็ตามที่ผู้สอนแต่ละกำหนดและจะพิจารณาค่ะ”
ส่วนทางด้านเจ้าหน้าที่กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ พูดถึงระเบียบการแต่งกายของนิสิตว่าต้องเป็นไปตามระเบียบและความถูกต้อง ส่วนกรณีกลุ่มเพศที่ 3 หรือสาวประเภทสองนั้นทางมหาวิทยาลัยไม่ได้มีการหักห้ามหรือมีระเบียบ ออกอนุญาตที่ทำออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและขอบเขตในการสวมใส่ของ นิสิตด้วย เพราะทางมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นเรื่องการแต่งกายที่ถูกระเบียบมากกว่า
“ทางมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ยังไม่เปิดกว้างเรื่องการแต่งกายของนิสิตครับ เราจะให้นิสิตแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ส่วนนิสิตที่เป็นสาวประเภท 2 เราก็ไม่ได้ให้ใส่ แต่เราก็ไม่ได้ปิดกั้น แต่หลักสำคัญคือเราก็รณรงค์เรื่องการแต่งกายที่มันถูกต้องตามระเบียบ ของมหาวิทยาลัย แต่สาวประเภทสองนี้เรายังไม่ได้มีการบังคับหรือมีระเบียบออกมาชัดเจนว่าจะ ต้องแต่งกายอย่างไร เรื่องการบังคับหรือไม่บังคับ ยังไม่มีเป็นตัวเอกสารออกมาชัดเจนว่าห้ามหรือไม่ห้าม”
ในส่วนของมหาวิทยาลัยเอกชนก็ไม่ได้มีกฎระเบียบเรื่องการแต่งกายหรือปิดกั้นการใส่ชุดของนักศึกษาสาวประเภทสองเช่นเดียวกัน ซึ่ง อาจารย์มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้า ได้พูดถึงสิทธิเสรีภาพในการแต่งชุดนักศึกษาหญิงของสาวประเภทสองไว้ว่า “สาวประเภทสองจริงๆ แล้วเขาก็ใส่ได้ตามต้องการครับ ส่วนใหญ่ผมว่ามหาลัยเอกชนทุกที่เรื่องพวกนี้น่าจะเปิดนะครับ ทุกคณะสามารถใส่ได้ คือเราไม่ได้ออกเป็นกฎมาว่าให้ใส่ได้หรือใส่ไม่ได้ โดยส่วนใหญ่เวลามาสอบถ้ามีเพศสภาพเป็นผู้ชาย แต่มีการแปลงเพศมาแล้ว ส่วนใหญ่ก็ใส่ชุดนักศึกษาหญิงมาครับ”
เช่นเดียวกันกับมหาวิทยาลัยรังสิต ดร.พงษ์พัฒน์ รักอารมณ์ คณะบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องการแต่งชุดนักศึกษาของสาวประเภทสองกับทางทีมงานว่า “สำหรับ เรื่องเครื่องแต่งกายของนักศึกษาสาวประเภทสอง ทางมหาวิทยาลัยรังสิตก็ไม่ได้ห้ามในเรื่องตรงนั้น คือทางเราก็เคารพสิทธิของนักศึกษาครับ แต่จะมีสองเรื่องที่เป็นข้อเตือนใจเขานั้นคือ เรื่องการเคารพสิทธิ นั้นคือการเคารพสิทธิของตนเองและของผู้อื่น และก็ต้องเคารพในตัวของสถาบันด้วย และเรื่องที่สองคือเรื่องความปลอดภัย คือเมื่อเขาเลือกที่จะแต่งชุดนักศึกษาหญิงก็ต้องเคารพในระเบียบ ของมหาวิทยาลัยด้วยครับ”
จรรยาบรรณวิชาชีพ และ เสรีภาพในการแต่งกาย!!!
ใน ส่วนมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้มีการห้ามหรือติติงเรื่องการแต่งกายของนักศึกษาสาว ประเภทสอง แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการแต่งกายในบางคณะที่มีการเรียนการสอนในวิชาเฉพาะทาง เช่น คณะเภสัชศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ไม่อนุญาตให้สาวประเภทสองสวมใส่ชุดนักศึกษาหญิง ในเรื่องของความเหมาะสมในวิชาชีพ และในเรื่องของจรรยาบรรณวิชาชีพด้วยนั่นเอง ทางทีมงานได้ติดต่อไปทางเจ้าหน้าที่กองกิจการนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ถึงกรณีการแต่งชุดนักศึกษาของสาวประเภทสอง ที่สามารถใส่ได้ในบางคณะเท่านั้น เจ้าหน้าที่กองกิจการนักศึกษาได้ให้ข้อมูลว่า
“ทางมหาวิทยาลัย ศิลปากรเอง ไม่ได้มีกำหนดออกมาเป็นมาตรการระบุไว้ชัดเจนว่า อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้กลุ่มนักศึกษาเพศที่ 3 หรือสาวประเภทสอง สามารถแต่งกายได้ตามระเบียบมหาวิทยาลัย เพราะว่าก็แล้วแต่ว่าทางอาจารย์บางท่านก็จะเคร่งครัดหน่อย แต่ในส่วนการใช้ชีวิตตามปกติ บางกลุ่มเขาก็แต่ง และในบางวิชา อาจารย์บางท่านก็จะไม่ซีเรียสอะไรมาก อย่างถ้าคณะอักษรศาสตร์ สามารถใส่ชุดไปรเวทเข้าเรียนได้ รวมถึงนักศึกษาสาวประเภทสอง ก็สามารถใส่ชุดนักศึกษาหญิงได้เลย"
“แต่ อย่างเช่นบางคณะที่เป็นวิชาชีพเฉพาะ ก็ไม่สามารถใส่ได้ เช่น คณะเภสัชศาสตร์ ด้วยวิชาชีพ อาชีพของเขาไม่ได้เลย มันโดนจำกัดหมดทุกอย่างด้วยคำว่า วิชาชีพ และคณะศึกษาศาสตร์ อาจารย์ก็จะมีการตักเตือนอยู่แล้ว ส่วนในวิชาชีพอื่นๆ ตัวที่ไปเรียนด้วย การที่จะต้องออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ มันเลยบังคับให้เราต้องอยู่ในกฎเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย เราต้องกลับมาอยู่ในกฎเกณฑ์ที่เราไม่ได้รู้สึกอึดอัดหรือทำไม่ได้ บางอย่างมันต้องยอมรับด้วยกติกาหรือข้อตกลงของสังคม บางอย่างมันก็อาจจะโดนลดหย่อนด้วยกติกาข้อตกลงที่ถูกดัดแปลงไปแต่ละยุคแต่ละ สมัย”
นอก จากนี้การแต่งเครื่องแบบนักศึกษาของสาวประเภทสองที่สามารถสวมใส่ได้ในบางคณะ นั้น ยังรวมไปถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย ทางทีมงานได้พูดคุยกับนักศึกษาสาวประเภทสอง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ข้อมูลมาว่า
“มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ก็แล้วแต่คณะ เช่น เราอยู่คณะเศรษฐศาสตร์ ทางคณะก็จะไม่เข้มงวดอะไร อาจารย์หรือวัฒนธรรมไม่ได้เข้มงวดมากก็สามารถแต่งได้ ไม่ได้กีดกั้นอะไร แต่อย่างคณะศึกษาศาสตร์ เขาจะเข้มงวดหน่อย ก็ไม่สามารถแต่งชุดนักศึกษาหญิงได้ อาจเป็นเพราะวิชาชีพด้วย มันก็ต้องดูที่ความเหมาะสม และก็อยู่ที่อาจารย์และทางคณะด้วยว่ามีการกำหนดอย่างไรบ้าง ส่วนคณะที่ไม่มีการใส่เครื่องแบบนักศึกษาหญิงของสาวประเภทสองก็ยังมีคณะเกษตรศาสตร์ คณะประมง อันนี้จะไม่เคยเห็นมีใส่เลยค่ะ เทคนิคสัตว์แพทย์ ใส่ไม่ได้เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นคณะมนุษย์ศาสตร์ คณะบริหาร พวกนี้แต่งได้ ส่วนใหญ่ถ้าเข้าปี 1 จะยังไม่แต่งอะไรมากเท่าไหร่ค่ะ แต่ปี 2 จะเริ่มไว้ผมยาว และก็เริ่มแต่งชุดนักศึกษาหญิง แต่ถ้าจะแต่งหญิงก็ต้องแต่งตามกฏระเบียบของชุดผู้หญิงเลย ห้ามโป๊ ห้ามสั้น ส่วนการเข้าห้องสอบก็บางคณะ แล้วแต่อาจารย์ด้วย ที่จะห้ามไม่ให้ใส่ชุดเข้าห้องสอบ”
กฎระเบียบคือสิ่งสำคัญ พึงต้องปฏิบัติตาม!
หลายมหาวิทยาลัย ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์และระเบียบในการแต่งกายเครื่องแบบนักศึกษาไว้อย่าง ชัดเจน ซึ่งระเบียบกติกาเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ในส่วนของเครื่องแบบนักศึกษาสาวประเภทสองก็เช่นเดียวกัน ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ออกระเบียบควบคุมการแต่งชุดเครื่องแบบเหล่านั้น ให้เป็นไปตามเพศสภาพที่ถูกต้อง นั้นคือการแสดงออกทางเพศให้ตรงกับเพศสภาพที่ได้รับมอบหมาย เช่น ผู้หญิงควรจะแต่งตัวเป็นผู้หญิงอย่างชัดเจน และผู้ชายควรแต่งกายด้วยเครื่องแบบตามเพศสภาพที่ได้รับมาแต่กำเนิด
ใน ส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้ว่าจะไม่ได้มีกฎระเบียบห้ามเป็นลายลักษณ์อักษร แต่นิสิตที่นี่จะรู้ดีว่าต้องปฏิบัติและแต่งกายให้ถูกต้องและเหมาะสม Life on Campus จึงได้พูดคุยกับนิสิตสาวประเภทสอง จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงความสามารถในการแต่งชุดเครื่องแบบหญิงของ นิสิตสาวประเภทสอง
“จุฬาฯ ยังไม่เปิดให้นิสิตประเภทสองใส่ชุดนักศึกษาหญิงค่ะ ด้วยเพราะกฎระเบียบของมหาลัยด้วย และจุฬาฯ จะมีความเป็นอนุรักษ์นิยมสูง ในเรื่องการแต่งตัว ความเป็นระเบียบเรียบร้อย อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเคยออกมาพูดเรื่องการแต่งกาย ก็คือต้องแต่งตามเพศสภาพ ก็คือเพศของเรา เพศโดยกำหนดของเราเป็นผู้ชาย ก็ต้องแต่งเป็นผู้ชายเท่านั้นค่ะ จริงๆ เขาก็ไม่ได้เข้มงวดนะ แต่ด้วยวัฒธรรมที่มีมาขององค์กร ของตัวมหาวิทยาลัยเองด้วย จะรู้สึกว่าเรามีพระเกี้ยวอยู่บนปก เหมือนเป็นเรื่องหลักของความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะสิ่งเหล่านี้อยู่บนตัวเรา เพราะฉะนั้นเราต้องแต่งตัวให้เรียบร้อย และประพฤติตัวให้เหมาะสมตามกาลเทศะค่ะ”
อีกหนึ่ง มหาวิทยาลัยที่ยังไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาสาวประเภทสองใส่ชุดเครื่องแบบนัก ศึกษาหญิงได้ เนื่องด้วยกฎระเบียบของทางมหาวิทยาลัยที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน อย่างมหาวิทยาลัยมหิดล ทางทีมงานได้ติดต่อไปทาง คุณ จินตนา บุญสนอง รักษาการหัวหน้างานบริการและสวัสดิการนักศึกษาให้ข้อมูลมาว่า
“ทางมหาวิทยาลัย ขอเราเป็นไปตามระเบียบค่ะ คือถ้าอยู่ในเขตมหาวิทยาลัยก็ต้องแต่งไปตามระเบียบ แต่ถ้าคุณออกนอกมหาวิทยาลัยคุณจะแต่งยังไงก็ได้ ต้องแต่งตามเพศสภาพ ตามคำนำหน้าบัตรประชาชนเท่านั้น คือไม่ได้มีเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อบังคับหรือประกาศของมหาวิทยาลัยมีหลักการแน่นอน เค้าก็ระบุไว้ชัดเจนเลยว่าผู้ชายต้องใส่ยังไง ผู้หญิงต้องใส่ยังไง ก็มีคนใส่บ้างเหมือนกันอ่าค่ะ แต่ถ้าเราเจอก็จะชี้แจงตักเตือน”
เมื่อ ถามถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพ ว่าเป็นการปิดกั้นด้านและมีความเข้มงวดเรื่องการแต่งกายมากไปหรือไม่ ทางคุณจินตนาได้กล่าวว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎ ในที่นี้คือกฎของทางมหาวิทยาลัยและกฎหมายของประเทศ
“เรา ไม่ได้คิดอย่างนั้นนะคะ เราคิดว่าเราก็ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ ถ้ากฎหมายประเทศมีการเปลี่ยนกฎระเบียบใหม่ ให้ผู้ชายเป็นนางสาว- เป็นนาง ได้ เราก็จะเปลี่ยนตามกฎหมายของประเทศค่ะ เราไม่ขัดแย้งนะคะ คือนักศึกษาที่เข้ามาเรียนที่นี้ ก็ต้องยอมรับและทราบกฎระเบียบการแต่งกายของทางมหาวิทยาลัยดี เพราะเราต้องรู้อยู่แล้วว่าระเบียบของมหาวิทยาลัยเป็นยังไง จริงๆ ทางเรามองว่ามันก็ลำบาก เพราะเราไม่ได้มีระเบียบรองรับตรงนั้นเลย เราก็ต้องทำไปตามกฎเกณฑ์ กติกาของมหาวิทยาลัยที่มีแต่เดิมมาค่ะ"
อย่าง ไรก็ตาม สิทธิและเสรีภาพด้านการแต่งกายนั้นจำเป็นต้องอยู่ในขอบเขตและวิถีทางที่ ทางมหาวิทยาลัยกำหนด หากเราอยู่ในสถาบันศึกษาใดที่ออกกฎระเบียบไว้ชัดเจน นิสิตและนักศึกษาควรต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังเป็นการสร้างวินัย ความรับผิดชอบ และความปลอดภัยให้กับผู้แต่งกายนั้นเอง
Credit:
PostJung