พันธุกรรม...การถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ จากรุ่นสู่รุ่น แต่มนุษย์เราก็โกงธรรมชาติโดยการเข้าไปตัดต่อเปลี่ยนแปงส่วนประกอบบางอย่าง เพื่อให้เกิดลักษณะพิเศษขึ้นตามที่เราต้องการ และต้องผ่านการทดลองแปลกๆ แหวกแนวธรรมชาติขึ้นมาหลายครั้งหลายครา จะพาคุณไปดู 8 ผลผลิตการตัดต่อทางพันธุวิศวกรรม ที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตสุดประหลาดขึ้นมา ทั้งพืช สัตว์ หรือแม้แต่ คน!
Venomous cabbage : กะหล่ำปลีพิษแมงป่อง
เมื่อกะหล่ำปีมารวมตัวกับพิษจากหางแมงป่อง ก่อให้เกิดเป็นกะหล่ำปลีสุดสะพรึงที่มีพิษอยู่ในตัวเอง ซึงเมื่อมีหนอน หรือแมลงกัดเข้าไปแค่คำเดียว พิษแมงป่องก็จะเข้าขู่โจม ทำให้มันกลายเป็นกะหล่ำปีที่ไม่สารพิษจากยาฆ่าแมลงตกค้าง แค่มีพิษจากแมงป่องแค่นั้นเอง โดยที่พิษนี้จะเป็นอันตรายต่อศัตรูพืชของกะหล่ำปีเท่านั้น และปลอดภัยสำหรับคนกิน...แต่จะแน่นอน 100% หรือเปล่าอันนี้เราไม่ฟันธง
Human milk from cow : วัวผลิตน้ำนมคน
นักวิทยาศาสตร์อาร์เจนตินาโชว์เทพ ด้วยการโคลนนิ่งวัวที่มียีนส์ของคนผสมอยู่ชื่อว่า ‘โรสิตา ไอเอสเอ’ ก่อเกิดเป็นวัวสายพันธุ์ใหม่ที่ผลิตนมซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงเทียบเท่านมของคน โดยมีโปรตีนซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญอย่าง แลคโตเฟอริน (Lactoferrin) และ แลคโตเฟอริน (Lactoferrin) ที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของของจุลินทรีย์ เช่น เชื้อรา และช่วยต่อต้านเชื้อโรคต่างๆ อีกด้วย
Three eyes tadpoles : ลูกอ๊อด 3 ตา
มหาวิทยาลัย Warwick ซึ่งนำทีมโดย Nick Dale และ Elizabeth Jones ศาสตราจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ชีววิทยาได้ตีพิมพ์ผลงานชวนตะลึงเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2007 นักวิจัยในทีมค้นพบว่า ATP หรือ Adenosine Triphosphate เป็นสารที่ให้พลังงานแก่เซลล์นั้นมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการเคลื่อนไหวของกบ โดยทีมนักวิจัยนำโมเลกุลที่เรียกว่า “ectoenzymes” ใส่เข้าไปในตัวอ่อนของกบ จากนั้นรอให้เซลล์เจริญเติบโต ตัวอ่อนเหล่านี้ก็จะกลายเป็นลูกอ๊อดที่มี 3 ตา แค่นั้นยังไม่พอนักวิจัยต้องอึ้งต่อระลอก 2 เมื่อเซลล์มีการเจริญเติบโตบนส่วนอื่นนอกจากตา เช่น ส่วนหาง และหน้าท้อง ส่วนที่ทำไปทั้งหมดนั้นก็เพื่อนำไปรักษามนุษย์ที่สูยเสียการมองเก็นนั่น...งานนี้ต้องขอขอบคุณลูกอ๊อดซะแล้ว
GM mosquito : ยุงสายพันธุ์ใหม่ปลอดไข้มาลาเรีย
โรคมาลาเรียเกิดจากปรสิต ’พลาสโมเดียม’ ที่อยู่ในน้ำลายยุง จากนั้นจะเข้าสู่คนเมื่อโดนกัด นักวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาจึงได้ทำการทดลองดัดแปลงยีนยุง เพื่อให้ยุงมีภูมิต้านทานปรสิต ‘พลาสโมเดียม’ และเมื่อนำยุงที่ผ่านการตัดต่อยีนไปปล่อยสู่ธรรมชาติ ยุงเหล่านี้จะเข้าไปแย่งผสมพันธุ์กับยุงสายพันธุ์เดิม และยุงที่เกิดมาใหม่นั้นจะเป็นยุงที่ไม่แพร่เชื้อมาลาเรีย อัตราการเกิดโรคนี้ก็จะลดลง แต่ว่าโครงการนี้ยังอยู่ในขั้นการทดลอง ซึ่งถ้าจะทำได้จริงๆนั้น ต้องนำยุงปล่อยสู่ธรรมชาติไม่ใช่แค่การทดลองในห้องแล็บเท่านั้น และยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม และผลกระทบอื่น ๆ ที่จะตามมาเป็นขบวนอีกด้วย
Mouse frozen cloned : โคลนนิ่งหนูแช่แข็ง
ทีมนักวิจัยของสถาบัน Riken ประเทศญี่ปุ่นโชว์เทพ โคลนนิ่งหนูตายที่ถูกแช่แข็งไว้นานถึง 16 ปี ในอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส โดยการการเอานิวเคลียสบริเวณสมองที่ไม่ได้โดนนำแข็งทำลาย เหมือนกับเซสล์ในบริเวณอื่น ๆ เนื่องจากมีไขมันห่อหุ้มอยู่จากหนูที่ถูกแช่แข็ง ไปฉีดใส่หนูอีกตัวที่ยังมีชีวิตเพื่อเป็นหนูอุ้มบุญ จากนั้น 3 สัปดาห์ หนูอุ้มบุญก็จะคลอดหนูตัวใหม่ที่มี DNA เหมือนกับหนูที่ตายไปแล้วเป๊ะๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นการทดลองสำเร็จไปได้ด้วยดี หนูที่คลอดออกมามีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ทุกประการ ผสมพันธุ์ได้ตามปกติ ส่วนขั้นต่อไปนักวิจัยหวังว่ามันจะสามารถคืนชีพให้กับแมมมอธ และสัตว์สูญพันธุ์อื่นๆ ให้กลับมามีชีวิตลั้ลลากันบนโลกได้อีกครั้งหนึ่ง
Glow in the Dark Pigs : หมูเรืองแสง
เรื่องหมูๆ ที่ทำให้ทั่วโลกต่างตะลึงเมื่อนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย South China Agriculture ประเทศจีนได้พัฒนาหมูเรืองแสง โดยฉีดโปรตีนฟลูออเรสเซนต์จากแมงกะพรุนเข้าไปในเซลล์ตัวอ่อนหมู ให้หมูเรืองแสงจากภายในสู่ภายนอก จุดประสงค์ให้นักวิจัยสามารถเห็นพัฒนาการของเนื้อเยื่อ เพื่อนำพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพสำหรับมนุษย์ เพราะนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าร่างกายของหมูมีสภาพเหมือนของมนุษย์มากที่สุด กลายเป็นว่าเรื่องหมูๆ มันไม่หมูอีกต่อไป เพราะมันได้กลายเป็นหมูพลีชีพให้เราทดลองไปซะแล้ว
Spider Goats : แพะแมงมุม
การข้ามสายพันธุ์สุดประหลาดระหว่างแมงมุมและแพะ โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไวโอมิง ทำการตัดต่อยีนจากแมงมุมไปใส่ในตัวอ่อนของแพะ ก่อเกิดเป็นแพะสายพันธุ์ใหม่ที่ผลิตนมผสมโปรตีนใยไหม นอกจากนั้นยังนำมาทำเป็นเอ็นเทียม เสื้อกันกระสุน และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่นักวิจัยยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น แว่ว ๆ มาว่า ต่อไปจะเป็นการพัฒนานำยีนไหมไปใส่ในถั่วเพื่อให้ได้นมถั่วเหลืองที่มีโปรตีนสูงยิ่งกว่าเวอร์ชั่นเดิม บางคนอาจสงสัยแล้วทำไมไม่เลี้ยงแมงมุมมันซะเลยล่ะไปทำกับแพะอย่างนั้นทำไม เหตุเป็นเพราะว่าแมงมุมจะมีนิสัยปกป้องรังของตัวเอง เวลาที่เลี้ยงไว้มากๆ มันจะต่อสู้กันเองจนตายกันเกลื่อนกลาด สุดท้ายนักวิทยาศาสตร์เลยต้องมาลงเอยที่แพะซะงั้น
Twin town in Brezil : เมืองฝาแฝดในบราซิล
ดร.โจเซฟ แม็งเกเล่ (Josef Mengele) นักวิทยาศาสตร์ในค่าย Auschwitz ของพรรคนาซี นักวิทยาศาสตร์ผู้ชี้เป็นชี้ตายแก่นักโทษ ด้วยหน้าตาท่าทางหล่อเหลา และทำการทดลองมหาโหดอย่างสุดขั้ว จนได้รับฉายาว่า เทพเจ้าแห่งความตาย (Angel of Death) ซึ่งภารกิจของเขาคือ การค้นคว้าความลับทางพันธุกรรมของพวกฝาแฝดเพื่อสร้างชนเผ่าอารยันที่สมบูรณ์แบบ ตามความต้องการของผู้นำสูงสุดของเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แม็งเกเล่ หลบหนีไปประเทศบราซิล หากแต่ยังไม่หยุดทำการทดลองทางพันธุกรรมชิ้นนี้ หลักฐานคือชาวเมืองในแคนดิดู โกดอล เมืองเล็กๆ ในประเทศบราซิล 80 ครัวเรือนในพื้นที่ 1 ตารางไมล์ จะให้กำเนิดเด็กแฝดถึง 38 คู่ และแต่ละคู่จะมีผมสีทอง ตาสีฟ้าเหมือนกันหมด แต่อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการที่ชาวเมืองมีลูกแฝดผมทองตาฟ้านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับแม็งเกเล่เลย แต่หากเป็นเพราะเมืองถูกตัดขาดจากภายนอกเป็นเวลานาน พันธุกรรมที่ได้รับจากบรรพบุรุษกลุ่มแรก ๆ จึงยังไม่มีการผสมของเชื้อชาตินั่นเอง
การตัดต่อพันธุกรรมทั้งหมดนั้น ถ้าอ่านดูดีๆ จะรู้ว่าผลประโยชน์นั้นตกอยู่ที่มนุษย์เราล้วนๆ จนงานนี้ต้องขอไหว้งามๆ ให้สัตว์ผู้โชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่รู้เลยละกัน