เปิด 'สมุดบันทึก' นักสำรวจชาวอังกฤษ หลังถูกแช่แข็งขั้วโลกใต้นับ 100ปี

 

มูลนิธิมรดกขั้วโลกใต้ (Antarctic Heritage Trust) ของนิวซีแลนด์ เผยโฉมสมุดบันทึกของ "จอร์จ เมอร์เรย์ เลวิก" นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ หนึ่งในคณะนักเดินทางสำรวจขั้วโลกใต้ ภายใต้การนำของ โรเบิร์ต สกอตต์ นักเดินทางชาวอังกฤษผู้โชคร้าย โดยถูกพบนอกจุดพักแรม เตร์ราโนวา 1991 ของสกอตต์ ขณะน้ำแข็งละลายในฤดูร้อน เมื่อปีที่แล้ว หลังถูกแช่อยู่ในก้อนน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกามานานนับศตวรรษ 

 



ไนเจล วัตสัน ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิมรดกขั้วโลกใต้ระบุถึงการค้นพบในครั้งนี้ว่า มันคือส่วนที่ขาดหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์การเดินทางสำรวจอย่างเป็นทางการ ซึ่งลายมือในบันทึกยังอยู่ในสภาพที่อ่านได้ โดยปรากฏชื่อของ เลวิก ในหน้าแรกๆ แต่หน้ากระดาษเริ่มหลุดออกจากกัน เพราะชำรุดเสียหายจากการแช่ในน้ำแข็งและน้ำมานานหลายปี

วัตสัน กล่าวว่า หน้ากระดาษของสมุดเล่มนี้ถูกส่งไปยังนิวซีแลนด์ และแยกเก็บไว้ต่างหาก จากนั้นจะถูกนำไปเข้าเล่มใหม่ และส่งกลับไปยังทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นสถานที่ที่มูลนิธินี้กำลังดูแลสถานที่ทั้ง 5 แห่งที่นักสำรวจ สกอตต์, เออร์เนสต์ แชกเคิลตัน และเอ็ดมันด์ ฮิลลารีเคยใช้

หลังจากเดินทางไปถึงทวีปแอนตาร์ติกา คณะนักสำรวจของสกอตต์ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มของหัวหน้าคณะเดินทางไปถึงขั้วโลกใต้เมื่อวันที่ 17 มกราคม 1912 แต่ก็ต้องพบว่า โรอัลด์ อามุนด์เซน นักสำรวจชาวนอร์เวย์ เดินทางไปถึงก่อนหน้าพวกเขา 1 เดือนเท่านั้น

ส่วนนายเลวิก ซึ่งเป็นเจ้าของสมุดบันทึกเล่มนี้นั้น อยู่ในคณะสำรวจอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งออกสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์ตามแนวชายฝั่ง แต่กลับติดแหงกออกมาจากจุดพักแรมไม่ได้ เมื่อก้อนน้ำแข็งที่จับตัวหนาขวางไม่ให้พวกเขาขึ้นเรือเพื่อร่วมเดินทางไปกับสกอตต์ ซึ่งในเวลาต่อมา สกอตต์และเพื่อนร่วมทางของเสียชีวิตความหนาวเย็นและขาดแคลนอาหาร

ส่วนชายทั้ง 6 คนในกลุ่ม เลวิก สามารถเอาชีวิตรอดในฤดูหนาวอันโหดร้ายด้วยการขุดน้ำแข็งให้เป็นโพรง แล้วประทังชีวิตด้วยการกินสัตว์ประจำถิ่น เช่น เพนกวิน และแมวน้ำ 

 

 

       จอร์จ เลวิก เมอร์เรย์ นักสำรวจชาวอังกฤษ เจ้าของบันทึกการเดินทางเล่มดังกล่าว ภายในกระท่อมแถบทวีปแอนตาร์กติกา

 

Credit: http://variety.thaiza.com/
24 ต.ค. 57 เวลา 20:59 3,990 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...