12 บุคคลที่ทีนเอ็มไทยนำมาเสนอในวันนี้ ล้วนเป็นผู้หญิงที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาติต่างๆ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงโด่งดังในประวัติศาสตร์โลกอีกด้วย ทั้ง 12 คนนี้ได้รับสมยานามต่างๆนาๆ ทั้งในแบบของความดีงาม และความอัปยศอดสู! ซึ่งรูปภาพที่เพื่อนๆ จะได้เห็น ผู้หญิงทั้ง 12 คนนี้เป็นรูปที่ถ่ายขึ้นใหม่ โดยใช้นางแบบจริงๆ และปรับแบล็คกราวน์ สะท้อนให้เห็นเรื่องราวของหญิงทั้ง 12 ในยุคนั้นๆด้วยภาพบและองค์ประกอบต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความสวยงามและชัดเจนในตัวของแต่ละบุคคล ^^ ภาพถ่าย 12 หญิงผู้โด่งดังในประวัติศาสตร์โลก
ภาพถ่าย 12 หญิงผู้โด่งดังในประวัติศาสตร์โลก
ภาพถ่าย 12 หญิงผู้โด่งดังในประวัติศาสตร์โลก1. ราชินีอลิซาเบธที่ 1 : ผู้ได้รับพระราชสมัญญาว่า ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์
ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ที่พระองค์ได้รับพระฉายานามว่า “ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” เนื่องจากพระองค์ไม่มีการอภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์
ถึงแม้พระองค์เป็นราชินีที่ไม่มีการสมรสตลอดพระชนม์ชีพ แต่พระองค์ก็ทรงขับเคลื่อนอังกฤษให้ไปในทางที่ดีขึ้น และในยุคของพระองค์นี้เองที่อังกฤษได้แสดงแสนยานุภาพ ทั้งการสำรวจ วรรณกรรม สงคราม และการศึกษาไปกว่าครึ่งค่อนโลก หรือเรียกได้ว่าพระนางเป็น ” หญิงเก่งโดยแท้ “
ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินี คำขวัญที่ทรงถืออยู่คำหนึ่งคือ “video et taceo” ( ข้าพเจ้ารู้แต่ข้าพเจ้าไม่พูด) นโยบายดังกล่าวสร้างความอึดอัดใจให้แก่บรรดาราชองคมนตรี แต่ก็เป็นนโยบายที่ทำให้ทรงรอดจากการสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางการมีคู่ในทางที่ไม่ถูกไม่ควรมาหลายครั้ง
แม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายการต่างประเทศอย่างระมัดระวัง และทรงสนับสนุนการสงครามในเนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส และ ไอร์แลนด์อย่างครึ่งๆ กลางๆ แต่ชัยชนะที่ทรงมีต่อกองเรืออาร์มาดาของสเปนในปี พ.ศ. 2131 ก็ทำให้ทรงมีชื่อว่าทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับชัยชนะอันสำคัญที่ถือกันว่าเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ ภายใน 20 ปีหลังจากการเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงได้ชื่อว่าเป็นพระมหากษัตรีย์ของยุคทองของอังกฤษ
พระราชินีนาถอลิซาเบธทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้นำผู้มีเสน่ห์และเป็นผู้นำให้ประเทศรอดจากภัยพิบัติต่างๆ ในยุคที่รัฐบาลอยู่ในสภาวะที่ปั่นป่วนและสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศเพื่อนบ้านต้องเผชิญกับสถานะการณ์ภายในที่เป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ หลังจากรัชสมัยอันสั้นของพระอนุชาและพระเชษฐภคินีแล้วรัชสมัยอันยาวนานถึง 44 ปีก็เป็นรัชสมัยที่สร้างความมั่นคงให้แก่ราชอาณาจักร และเป็นรัชสมัยที่วางรากฐานของความเป็นชาติของอังกฤษด้วย
รัชสมัยของพระองค์เป็นที่รู้จักกันว่า “สมัยเอลิซาเบธ” ที่มีชื่อเสียงเหนือสิ่งใดว่าเป็นยุคเรอเนสซองซ์ของนาฏกรรมของอังกฤษ ที่นำโดยนักเขียนบทละครผู้มีชื่อเสียงเช่นวิลเลียม เชคสเปียร์ และ คริสต์โตเฟอร์ มาร์โลว์, และความเจริญทางการเดินเรือโดยผู้นำเช่นฟรานซิส เดรค เป็นต้น
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา
2. จักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย : ผู้ได้รับพระราชสมัญญาว่า อิสตรีคนสุดท้ายแห่งคาซาลีน่า
พระจักรพรรดินีอเล็กซานดราทรงเป็นที่รู้จักดีที่สุดในฐานะที่ทรงเป็นจักรพรรดินีพระองค์สุดท้ายของรัสเซีย ผู้เป็นพาหะโรคฮีโมฟีเรียให้กับบรรดาเครือญาติของพระ องค์ ทั้งนี้พระนางก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยมในฐานะอิสตรีคนสุดท้าย ของคาซาลีน และเนื่องจากพระนางทรงปฏิบัติหน้าที่ดีจนเกินไป จนไปขัดความก้าวหน้าของบาทหลวงปิศาจรัสปูติน ผู้ที่ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟอันยิ่งใหญ่ของรัสเซียล่มสลาย ทั้งนี้ยังมีอีกหลายหลักฐานปักใจเชื่อว่า สาเหตุที่พระนางทรงเสียชีวิตมีส่วนเกี่ยวข้องกับ รัสปูติ
อ่านเพิ่มเติม : จักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย
3. สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย : ผู้ได้รับพระราชสมัญญาว่า จักรพรรดินีผู้ทรงภูมิธรรม
พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินีนาถที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและครองราชย์ยาวนานที่สุดของรัสเซีย การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น ผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดที่ทรงเรืองปัญญา (enlightened despot) ทั้งยังทรงฟื้นฟูจักรวรรดิรัสเซียให้แข็งแกร่งและมีอาณาเขตกว้างกว่าเดิมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จนรัสเซียกลายมาเป็นชาติมหาอำนาจที่สำคัญมากที่สุดชาติหนึ่งในยุโรป
พระองค์ทรงทำการปฏิรูประบบราชการรวมไปถึงมีรับสั่งให้สถาปนาเมืองและหมู่บ้านขึ้นมากมาย และในฐานะที่ทรงเป็นผู้นิยมชมชอบพระราชกรณียกิจของซาร์ปีเตอร์มหาราช พระองค์จึงได้ดำเนินพระราโชบายตามแนวทางของซาร์ปีเตอร์มหาราชโดยการปฏิรูปรัสเซียให้เข้าสู่ความทันสมัยตามแบบฉบับชาติยุโรปตะวันตก
อย่างไรก็ตามการเข้ารับราชการในกองทัพและระบบเศรษฐกิจของประเทศยังคงต้องพึ่งพาระบบทาสอยู่ต่อไป ในขณะที่ความต้องการใช้แรงงานของประเทศและของเหล่าผู้ครอบครองที่ดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้แรงงานทาสดำเนินไปถึงขั้นกดขี่แรงงานทาส และระบบทาสดังกล่าวก็เป็นหนึ่งในเหตุผลประการสำคัญของการก่อกบฏหลายต่อหลายครั้ง ดังเช่นกบฏปูกาเชฟที่มีกองทหารม้าและชาวนาจำนวนมากมายเข้าร่วมการกบฏ
ตลอดระยะเวลาในการครองราชย์หรือ สมัยแคทเธอรีน ถูกพิจารณาว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิรัสเซียและของระบอบศักดินาในรัสเซีย แถลงการณ์ว่าด้วยเสรีภาพของขุนนางซึ่งเป็นที่โต้แย้งกันในรัชสมัยของซาร์ปีเตอร์ที่ 3 ก็ได้รับการยินยอมในช่วงรัชสมัยของพระนางแคทเธอรีน โดยแถลงการณ์ฉบับนี้ได้ให้อิสรภาพแก่บรรดาขุนนางไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของกองทัพหรือการรับราชการสนองคุณประเทศ ให้อิสรภาพในการครอบครองที่อยู่อาศัย
เช่น แมนชันรูปแบบคลาสสิก โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมดังกล่าวเป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนโดยพระนางเจ้าแคทเธอรีนอย่างมาก ก่อให้เกิดตึกรามบ้านช่องอันหรูหราขึ้นจำนวนมาก ซึ่งตลอดช่วงการครองราชย์ของพระองค์ได้ทรงทำให้โฉมหน้าของประเทศเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จึงกล่าวได้ว่ารัชสมัยของพระนางคือยุคเรืองปัญญาของรัสเซียก็ว่าได้
4. คาท์เตสอลิซาเบธ บาโธรี่ ผู้มีฉายาว่า เคาท์เตสคลั่งเลือด
เป็นหญิงสาวที่มีความเชื่อในเรื่องชีวิตที่เป็นอมตะ และต้องการคงร่างของตนเองให้คงดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ จึงมีความคิดที่ว่า หากได้อาบเลือดของหญิงสาวบริสุทธิ์แล้ว จะทำให้ตนเองดูอ่อนเยาว์ได้ตลอดไป เธอจึงสั่งให้คนรับใช้ไปเอาร่างของหญิงสาวบริสุทธิ์ มากรีดเอาเลือดใส่อ่างด้วยเครื่อง ไอรอน เมเดน (Iron maiden) แล้วอาบต่างน้ำ โดยมีเหยื่อที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับเธอไปไม่น้อยกว่า 600 คน กว่าที่เธอจะถูกคนจับไปขังในคุกมืดจนตาย เธอได้รับสมญานามว่า The Blood Countess และ Countess Dracula - เคาท์เตสคลั่งเลือด (แดร็กคิวล่า)
เอลิซาเบธ เกิดในตระกูลบาโธรี่ เป็นตระกูลขุนนางชั้นสูงของฮังการี่และสืบสายมาจากตระกูลแฮบสเบิร์กอันเก่าแก่ของยุโรป ตระกูลที่เก่าแก่ร่ำรวย มีอำนาจ เป็นที่น่ายำเกรงของประชาชนมาหลายต่อหลายยุคสมัย เธอไม่ใช่สาวสวยออกขี่เหร่ด้วยซ้ำ อีกทั้งเธอยังมีอาการบกพร่องทางจิตอย่างรุนแรง
เป็นเรื่องธรรมดาของตระกูลเก่าแก่ที่มีการแต่งงานกันเองในหมู่ญาติเพื่อ รักษาทรัพย์สมบัติและอำนาจเอาไว้ ทำให้ผู้สืบสายเลือดตระกูลนี้จำนวนมากมีอาการบกพร่องทางจิตอันเนื่องมาจาก ลักษณะทางพันธุกรรม เป็นต้นว่าโรคฮิสทีเรีย หรือแม้แต่การสืบทอดของสาวกลัทธิบูชาปีศาจ ผู้มักมากในกาม ฯลฯ เอลิซาเบธ ก็เช่นเดียวกัน นิสัยเพี้ยนของเอลิซาเบธ ปรากฏตั้งยังเล็กๆ เอลิซาเบธนั้นแทนที่จะพอใจกับเกียรติยศที่ผู้คนเตรียมใส่พานทองมาประเคนให้ แต่เธอกลับทำท่าเบื่อหน่ายพวกพี่เลี้ยง ครูอาจารย์ที่มาอบรมสั่งสอน เธอกลับเกเรหนีเรียน แอบไปเที่ยวเล่นกับลูกชาวนา ชาวไร่ที่เป็นทาส เธอชอบเล่นสัปดนเสียจนท้องเมื่ออายุเพียง 13
อ่านเพิ่มเติม : คาท์เตสอลิซาเบธ บาโธรี่ ผู้มีฉายาว่า เคาท์เตสคลั่งเลือด
5. สมเด็จพระราชินีนาถคริสติน่าแห่งสวีเดน : ผู้ได้รับพระราชสมัญญาว่า ราชินีผู้ชาย
เป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟ อดอล์ฟที่ 2 แห่งสวีเดน พระนางมีบุคลิกลักษณะเหมือนผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โปรดการทรงม้า การลุกนั่งแบบผู้ชายและฉลองพระองค์สั้นผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทเรียกพระนางว่า“เจ้าชายคริสติน่า”
พระนางขึ้นครองราชย์ตอนพระชันษาครบ 6 ปี แต่พระนางเบื่อกับการเป็นกษัตริย์ จึงทำให้พระเจ้าชาลส์ที่ 10 กุสตาฟผู้เป็นญาติของพระองค์ขึ้นครองราชย์แทน หลังพระนางสละราชบัลลังก์ พระนางพร้อมด้วยบริวารใกล้ชิดเดินทางไปเข้าเฝ้าพระสันตปาปาและก็เปลี่ยนมานับถือโรมันคาทอลิก
พระนางชอบทำตัวให้เป็นที่สนใจเมื่ออยู่ในโรม ชวนคนใหญ่คนโตในโรมทะเลาะ พระสันตปาปาทรงอยากให้พระนางออกไปจากโรมเสียที จึงพระราชทานเงิน 10,000 เหรียญให้พระนางกลับสวีเดน(ค.ศ. 1656) และเสด็จแวะไปหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระเจ้าหลุยส์ทรงต้อนรับอย่างสมพระเกียรติที่พระราชวังฟองแตนโบล
พระนางสั่งสังหาร เคานต์ เมนาล เดซิ ที่มีตำแหน่งเจ้ากรมอัศวราชโดยเพราะท่านเคานต์เขียนจดหมายตำหนิพระนาง พระนางยังพยายามเป็นกษัตริย์เนเปิลส์ และโปแลนด์แต่ไม่สำเร็จ และเมื่อพระนางไม่สามารถกลับสวีเดนได้แล้ว พระนางจึงกลับสู่โรม พระนางอดทำตัวเป็นที่สนใจไม่ได้แต่ไม่มีใครสนเลย พระนางเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1689 พระศพถูกเก็บไว้ในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์
6. เจ้าหญิงโอลิมเปียส ผู้ได้รับฉายาว่า เจ้าหญิงแม่มด หรือ เจ้าหญิงอสรพิษ
เพราะพระนางอยู่ในลัทธิบูชางู ของเทพสุราเมรัย ไดโอนีซุอุส พระนางจึงเทิดทูนงูมาก ๆ และบางตำราก็บอกว่าพระนางสามารถคุยกับงูได้ บังคับงูได้ แถมยังชอบหลับนอนกับงูอีกด้วย
7. พระนางคลีโอพัตรา (คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลปาตอร์) : ผู้ได้รับพระราชสมัญญาว่า ราชินีผู้แสนเย้ายวน
ความสวยของพระนางเคยทำให้อียิปต์ รอดจากการเป็นเมืองขึ้นมาแล้ว โดยการที่พระนางแอบหลบซ่อนตัวไปกับม้วนพรมที่เอาไปถวายแด่กษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ จนพระองค์หลงพระนางหัวปักหัวปำ ทำให้กองทัพอียิปต์เมื่อรวมกับทัพรัสเซีย กลายเป็นกองทัพไร้เทียมทานจนประเทศอื่น ๆ ไม่กล้ารุกรานอียิปต์อีกเลยจนถึงวัน ที่จูเลียส ซีซาร์โดนลอบปลงพระชนม์โดยกบฏของรัสเซีย
พระนางคลีโอพัตรา เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณและเชื้อพระวงศ์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งมาซิโดเนีย ดังนั้นจึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย พระนางมีพระปรีชาสามารถมากทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ฮิบรู, ละติน, มาเซดอนโบราณ, เอธิโอเปียน, ซีเรีย, เปอร์เซีย, และ อียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ น้อยคนนักที่จะแตกฉานภาษานี้
พระนางคลีโอพัตรา นับว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อนๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกันถูกลบเลือนไปสิ้น ในความเป็นจริงแล้วพระนางไม่เคยปกครองอียิปต์เพียงลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา, พระอนุชา ,สวามีผู้เป็นอนุชาของพระองค์ หรือไม่ก็พระโอรส การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น
8. เอเลเนอร์แห่งอาควิเตน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ ผู้ได้รับพระราชสมัญญาว่า ราชินีนักรบ
เป็นพระราชินีของฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 7, พระราชินีของอังกฤษในพระเจ้าเฮนรีที่ 2, เป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์อังกฤษสองพระองค์สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ และสมเด็จพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ พระราชินีเอเลเนอร์ทรงเป็นสตรีที่มีฐานะดีและอำนาจมากที่สุดในยุโรปในยุคกลาง
เอเลเนอร์แห่งอาควิเตน ทรงได้รับการเลี้ยงดูขึ้นมาในราชสำนักที่มีวัฒนธรรมดีที่สุดราชสำนักหนึ่งในยุโรปในสมัยนั้น ซึ่งเป็นที่กำเนิดของปรัชญารักในราชสำนัก (courtly love) ดยุกวิลเลียมที่ 10 พยายามส่งเสริมให้พระราชินีเอเลเนอร์มีการศึกษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าภาษาแม่ของพระราชินีเอเลเนอร์จะเป็นภาษาปัวเตแวน (Poitevin) แต่ก็ทรงได้รับการศึกษาในภาษาละติน การดนตรี วรรณคดี การทรงม้า การล่าด้วยเหยี่ยว และการล่าสัตว์
เอเลเนอร์ มีพระลักษณะที่ชอบการสังคม มีพระปรีชาสามารถฉลาดเฉลียว และทรงมีชื่อว่าเป็นผู้มีหัวแข็ง นอกจากนั้นก็ทรงมีชื่อว่ามีพระสิริโฉมงดงามโดยผู้คนร่วมสมัยแต่ไม่มีหลักฐานคำบรรยายความงามของพระองค์หลงเหลืออยู่
พระราชินีเอเลเนอร์ ทรงมีส่วนร่วมในการเดินทางไปต่อสู้ในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 ทรงติดตามกองทัพพระเจ้าหลุยส์ พร้อมกับนางสนองพระโอษฐ์และข้าราชหญิงอีกกว่า 300 คน ทรงยืนยันในการมีส่วนร่วมในสงครามครูเสดในฐานะผู้นำทัพของแคว้นในการปกครองของพระองค์
9. ราชินีอกริพพีนา : ผู้ได้รับพระราชสมัญญาว่า ราชินีนักวางยา
พระองค์ได้ลอบปลงพระชนม์ จักรพรรดิคลอเดียส (คลอดิอุสที่ 1) สามีของนาง ด้วยการให้หมอหลวงนำขนนกเคลือบยาพิษเข้าปากองค์จักรพรรดิ เพื่อที่จะได้ให้ลูกชายของตัวเอง จักรพรรดินีโร (ลูเซียส คลอดิอุส นีโร หรือฉายา นีโรจอมโหด) ขึ้นครองราชย์ ซึ่งความจริงจักรพรรดิคลอเดียส ผู้ที่ถูกอกริพพีนาวางยา เคยช่วยพระนางให้รอดพ้นจากความตายในฐานะกบฏมาก่อน แต่สุดท้ายก็ต้องตายเพราะพระนางเอง จักรพรรดิคลอเดียส ครองราชย์ได้ 13 ซึ่งตลอดเวลา 13 ปีในรัชกาลทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความยุติธรรมทำให้บ้านเมืองสงบสุข
อ่านเพิ่มเติม : ที่มา โปรแกรมเนโร Nero Burning Rom (มาจากนี่นี่เอง! >.<)
10. พระนางบอว์ดิคา : ผู้ได้รับสมัญญาว่า ราชินีแห่งคาเธช์
พระนางทรงเป็นผู้นำของชนเผ่าคาเธช์ ให้รุกขึ้นต่อต้านและทำศึกกับทัพโรมันอันยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น โดยที่พระองค์ทรงออกรบและบัญชาด้วยตัวพระองค์เอง
ด้วยเรื่องนี้มีตำนานว่า เมื่อสมัยก่อนกล่าวถึงอีเนียสผู้ก่อตั้งจักรวรรดิโรมันยังไม่ได้เป็นใหญ่ เธอได้หลงมาติดเกาะชาวคาเธช์ และด้วยแรงบัลดาลจากราชินีสวรรค์เฮร่า ด้วยความโกรธแค้นที่มีต่ออีเนียสทำให้ราชินีโดโด้ ผู้ปกครองคาเธช์ตกหลุมรักจนถอนตัวไม่ขึ้น ทั้งนี้เทวีเฮร่าทำขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้อีเนียสหนี ไปสร้างจักรวรรดิโรมัน อันยิ่งใหญ่ แต่น่าเสียดายที่แม่ของอีเนียส เทวีอะโฟรไดร์ที ได้ทรงขอร้องให้มหาเทพซีอุส ทรงมีโองการไปเตือนสติอีเนียสให้หนีออกจากเกาะคาเธช์ ไปสร้างโรมซะ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อพออีเนียสหนีไป ราชินีโดโด้ก็ตรอมใจตาย แต่ทว่าก่อนที่พระนางจะสิ้นชีพได้แช่งอีเนียสไว้ว่า ต่อไปชาวคาเธช์กับชาวโรมันจะรบพุ่งกันเรื่อยไปจนกว่าจะตายไปข้าง และนี้คือผลพวงนั้นเอง
11. สมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีล : ผู้ได้รับสมัญญาว่า ราชินีคาร์ทอลิค
สมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งสเปน พระนางและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 (พระราชสวามี) ได้วางรากฐานในการรวมสเปน ทั้งสองได้เป็นขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในการยึดดินแดนสเปนกลับคืนมาจากพวกมัวร์และได้กระทำการรวมชาติสเปนเป็นปึกแผ่น อีกทั้งยังรู้จักนางในฐานะผู้อุปถัมภ์ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
พระนางทรงอนุมัติให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสไปแสวงหาดินแดนโพ้นทะเลและจนสำรวจพบทวีปอเมริกา พระนางจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ได้รับการกล่าวชื่อในประวัติศาสตร์ พระนางได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเจริญอย่างมากในสเปน พระนางทำให้กรานาดาในการปกครองของมุสลิมมัวร์ยินยอมส่งเครื่องบรรณาการต่อพระองค์ ต่อมาพระนางได้ทำการยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี พ.ศ. 2055 แล้ว คำว่า สเปน ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้การรวมเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรคาสตีล ราชอาณาจักรอารากอน และราชอาณาจักรนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก
พระราชินีนาถอีซาเบล ได้แต่งตั้งให้นายพลโทมาส เดอ ทอร์คิวมาดา เจ้าหน้าที่สอบสวน(โดยวิธีทรมาน) รุ่นแรกๆเป็นผู้บัญชาการในการสอบสวนทรมาน จนวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1492 มีบันทึกว่าเป็นวันออกกฤษฎีกาแอลฮัมบราโดยมีคำสั่งให้ขับไล่ชาวยิวและชาวมุสลิมออกนอกประเทศ
นอกจากนั้นประชาชนราว 2 แสนคนที่หลงเหลือในประเทศสเปน ถ้าไม่เปลี่ยนศาสนาก็จะถูกจับมาลงโทษอย่างทารุณ ในปี ค.ศ. 1974 สันตะปาปาพอลที่ 6 กล่าวถึงการกระทำของพระนางว่า “สมควรทำ” และอวยพร ให้พระนางเป็นนักบุญ
ในโบสถ์นิกายคาทอลิก ในฐานะข้ารับใช้ของพระเจ้า เพราะในยุคสมัยของพระนางได้กวาดล้างชาวคริสต์นิกายโปแตสแตนท์จนหมดสิ้น และทำนุบำรุงศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิคให้ถึงจุดสูงสุด จนทำให้พระนางได้รับพระสมัญญานามมาจนถึงทุกวันนี้
12. พระนางมารีอองตัวเน็ต แห่งฝรั่งเศส : ผู้ได้รับสมัญญาว่า ราชินีฟุ่มเฟือย
มารี อ็องตัวแน็ต เป็นเจ้าหญิงแห่งฮังการีและโบฮีเมีย อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย อดีตพระราชินีแห่งฝรั่งเศส และนาวาร์ (แคว้นบาสก์ในปัจจุบัน) รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า มารี-อ็องตัวแน็ตแห่งออสเตรีย ถูกประหารด้วยกิโยตีนระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส
พระนางใช้เงินท้องพระคลังดั่งเศษกระดาษ ทุกวันต้องมีงานเลี้ยง เครื่องประดับต้องเเบรนด์เนมเท่านั้น น้ำหอมต้องน้ำหอมอย่างดี เสื้อผ้าต้องสวยหรูที่สุด อาหารต้องเลิศรสที่สุด เฟอร์นิเจอร์ต้องใหม่เอี่อมที่สุด และอื่น ๆ อีกมากมายจนทำให้เกิดการจลาจลขึ้นที่ฝรั่งเศศ ผลสุดท้ายคือพระนางและพระสวามี พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โดนโทษประหารด้วยกิโยติน โทษฐานทำให้ฝรั่งเศสยากแคล้นอย่างมากจนประชาชนล้มตาย เพราะความอดอยาก
อ่านเพิ่มเติม : พระนางมารีอองตัวเน็ต แห่งฝรั่งเศส
เรียบเรียงโดย teen.mthai.com (ให้เครดิตเว็บไซต์ด้วยนะคะ)
ขอบคุณข้อมูล http://hogwartsthai.com/forum/index.php?showtopic=13763, http://th.wikipedia.org,http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5_%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95,http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%98_%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88