เข้าใจบริโภคอาหารปลอดภัยห่างไกลโรค

การรับประทาน อาหาร ที่ถูกลักษณะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ส่งเสริมให้สุขลักษณะที่ดี จะทำให้สุขภาพแข็งแรง ช่วยให้ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บได้ การดูแลสุขภาพที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรรับประทาน อาหาร  ที่สะอาดปรุงสุก หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อย่างในต่างประเทศ อาหาร ที่สุกแล้วนั้นจะมีแท่งวัดอุณหภูมิปักลงไปในเนื้ออุณหภูมิต้องมากกว่า 78 องศาเซลเซียส จึงจะปลอดภัย ขณะที่ด้านนอกต้องมากกว่า 100 องศาเซลเซียส และก่อนการปรุง อาหาร ต้องล้างให้สะอาดเป็นพิเศษ ทั้งเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ในการล้างก็ต้องล้างแยกกัน ไม่ปะปนกัน การใช้เขียง ใช้มีดหั่นแล้วก็ต้องล้างทำความสะอาดทุกครั้ง

อาหารกึ่งสุกกึงดิบเป็นการเพาะเชื้อโรค

ผู้บริโภคควรงด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่บริโภค อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ จะมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง เช่น อาหารเป็นพิษ ท้องร่วง ท้องเสีย อีกทั้งการบริโภค อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ ยังมีความเสี่ยงต่อโรคพยาธิต่าง ๆ โดยบางรายอาจถึงขั้นเจ็บป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้ และเมื่อรับประทาน อาหาร ที่ปรุงไม่สุกเข้าไป ร่างกายก็มีโอกาสจะได้รับเชื้อเข้าไปด้วย ส่วนมากแล้วเชื้อจะเข้าไปฟักตัวเป็นชั่วโมงหรือทั้งวัน ขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่ได้รับเข้าไปในร่างกาย ความรุนแรงของเชื้อโรคนั้น ๆ ขึ้นอยู่กับสภาวะของคนไข้ที่รับเชื้อเข้าไป อย่างเช่น เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ มีโอกาสเป็นรุนแรงมากกว่าคนปกติเป็นเท่าตัว อีกทั้งผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ อย่างผู้ที่เป็นมะเร็งหรือเป็นโรคเลือด ก็มีโอกาสเป็นได้มากกว่าคนปกติ   ส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อทางอาหาร มีทั้ง เชื้อไวรัส และ เชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งสารพิษที่สร้างจากเชื้อเหล่านี้ อย่างที่พบบ่อย ๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้มีไข้ ท้องเสีย ปวดท้อง เชื้อโรคเหล่านี้พบได้ในลำไส้ของสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อีกทั้งในอาหารทะเลจำพวกหอยหลายชนิด หากนำ อาหาร เหล่านี้ปรุงไม่สุกไม่สะอาดก็จะมีความเสี่ยงต่อการได้รับ เชื้อแบคทีเรีย และ เชื้อไวรัส เข้าไปในร่างกาย

นอกจาก เชื้อแบคทีเรีย และ เชื้อไวรัส ที่มากับ อาหารที่กึ่งสุกกึ่งดิบ แล้วนั้น พยาธิ ที่อยู่ในดินที่ติดมากับสัตว์และผัก รวมทั้งหากสัมผัสขุดจับดินที่มี พยาธิ โดยไม่ล้างมือ ให้สะอาดให้ดีแล้วนั้น ก็อาจจะติดเข้าไปในร่างกายของเรา ติดกับอาหารที่รับประทานได้ อย่างเช่น พยาธิกล้ามเนื้อ หากเข้าสู่ร่างกายจะไปฝังตามกล้ามเนื้อในร่างกายของเรา พวกนี้ติดมากับพวกหมู กระรอก หนู กระแต เป็นต้น แล้วยังมี พยาธิตัวจี๊ด จะไชเข้าไปตามผิวหนังของเรา แล้วจะมีอาการคันตามเนื้อตามตัว ซึ่งพวกนี้จะอยู่ในพวกไรน้ำ ซึ่งปลา ปลาช่อน ปลาไหล ปลาดุก กบ เขียด กุ้ง ปู จะกินไรน้ำพวกนี้เข้าไปและหากรับประทานเข้าไปแบบกึ่งสุกกึ่งดิบ จะมีโอกาสที่พยาธิเข้าไปในร่างกายของเราได้

พยาธิใบไม้ตับ  ส่วนใหญ่จะพบใน พวกหอย ปลา ที่นำมาทำปลาร้า ปลาส้ม ปลาก้อย พบได้ทางภาคอีสาน ถ้านำมาทำแบบยังไม่สุกดี เมื่อนำมารับประทานพยาธิพวกนี้ก็จะไปอยู่ที่ทางเดินน้ำดี เกิดอาการที่พบก็จะมีตัวเหลือง ตาเหลืองแล้วยังสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งทางท่อน้ำดีได้อีกด้วย

ส่วนอาการของผู้บริโภค อาหาร ที่ปรากฏจะคล้ายกันในผู้ที่ได้รับเชื้อโรคเข้าไปคือ ปวดท้อง มีไข้ ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน ส่วนมากเชื้อพวกนี้มักจะหายเองได้ใน 3-4 วัน ยกเว้นแต่ในรายที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอาจจะเสียน้ำ เสียเกลือแร่ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตก็เกิดขึ้นได้

อาหารปรุงสุกแล้วก็ต้องระวัง

อาหาร ที่ปรุงสุกแล้วนั้นเมื่อตั้งให้เย็นแล้วควรเก็บใส่ตู้เย็นภายใน 3 ชั่วโมง หากตั้งวางเอาไว้เชื้อโรคอาจจะมีการเพิ่มจำนวนหรืออาจจะสร้างสารพิษขึ้นมาในช่วงนั้นได้ การเก็บรักษาควรแยกเป็นภาชนะเล็ก ๆ จะช่วยให้เย็นเร็วยิ่งขึ้น การรับประทานก็ควรนำมาอุ่นก่อน ซึ่งการอุ่นอาหารควรทำให้เดือดไม่ใช่แค่ทำให้ร้อนเฉย ๆ ส่วนพวกผัก ผลไม้ ควรล้างให้น้ำไหลผ่านชะล้างเชื้อโรคให้ดีก่อน ถ้าในฤดูร้อนอากาศอบอ้าวด้วยแล้วจะทำให้อาหารนั้นเสียง่าย ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินอาหารอีกด้วย

การที่ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญและเมื่อทราบถึงอันตรายการบริโภค อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ จึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น และไม่ว่าจะเป็น อาหาร ประเภทใดก็ตามการปรุงสุกสะอาดเข้าไว้ก่อน ล้วนแต่จะช่วยสร้างความปลอดภัยส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณเองได้

Credit: PostJung
#ห่างไกลโรค
PatPuch
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
11 ต.ค. 57 เวลา 09:24 705
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...