มรดกวัฒนธรรมสุดเขตแดนล้านนาตะวันออก

1.วัดภูมินทร์

 

ดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อ ตำบลในเวียงในปัจจุบัน เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2139  ต่อมาอีกประมาณ  300 ปี  มีการบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิ์เดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4)  ใช้เวลาซ่อมแซมนานถึง  7 ปี
            ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ ที่เป็นหนึ่งเดียว คือ  เป็นวัดที่สร้างทรงจัตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาคขนาดใหญ่  2 ตัว แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว  ตรงใจกลางพระอุโบสถจัตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่  4 องค์ หันพรพักตร์ออกด้าน

ประตูทั้งสี่ทิศหันเบื้องปฤษฏาค์ชนกัน ประดับนั่งบนฐานซุกชี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
            อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ในหลังเดียวกัน โดยใช้อาคารในแนว ตะวันออก-ตะวันตก เป็นพระวิหาร และอาคารแนว เหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ ในธนบัตรใบละ 1 บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2      
            ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเรื่องราวชาดก  วิถีชีวิตตำสนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ได้แก่ การแต่งกายคล้ายผ้าซิ่นลายน้ำไหล การท่อผ้าด้วยกี่ทอมือ  การติดต่อซื้อขายกับชาวต่างชาติ     สิ่งน่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ บานประตูแกะสลักลึกเป็น 3 ชั้น บนไม้สักทองแผ่นเดียวขนาดใหญ่ ความหนาของไม้ประมาณ 4 นิ้วสลักเป็นลวดลายเครือเถา ที่ทั้งดอกและมีผลระย้า รวมทั้งสัตว์นานาชนิด ฝีมือช่างเมืองน่าน

2.วัดหัวข่วง (สำหรับคนที่เคยดูหนังเรื่อง 9 วัดก็จะคุ้นๆกับวัดนี้ครับ)

วัดหัวข่วง ตั้งอยู่บนถนนมหาพรหม ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นวัดที่มีความสำคัญในเขตหัวแหวนเมืองน่าน อยู่ติดหอคำ หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน และคุ้มอดีตเจ้าเมืองน่าน ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยล้านนาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 20-22 มีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามภายในพระวิหาร มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะพุทธศิลป์แบบท้องถิ่นล้านนา สกุลช่างเมืองน่าน ฝีมือประณีตงดงาม โดยมีหลักฐานว่าเกี่ยวกับประวัติการบูรณะครั้งแรกใน พ.ศ. 2425 โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าเมืองน่าน และต่อมาปี พ.ศ. 2472 ในสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองน่าน องค์สุดท้าย

เจดีย์วัดหัวข่วง เป็นเจดีย์ทรงปราสาทหรือทรงเรือนธาตุ ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านนา ประกอบด้วย ส่วนฐานสร้างเป็นสี่เหลี่ยมฐานปทม ประดับด้วยลูกแก้วสองชั้น มีฐานไม้ คั่นกลาง ฐานบัวลูกแก้วชั้นบนย่อมุม รับกับเรือนธาตุไปจรดชั้นบัวถลาใต้องค์ระฆัง ส่วนเรือนธาตุมีซุ้มจรนัมด้านละซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริด ประดับมุมด้วยรูปเทวดาทรงเครื่องยืนพนมมือ เรือนธาตุเป็นชั้นบัวถลาซ้อนกันสามชั้น ยอดขององค์เจดีย์เป็นทรงระฆังมีขนาดเล็กไม่มีบัลลังก์ สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะที่ดัดแปลงตามแบบของช่างเมืองน่าน มีอายุระหว่างสมัยล้านนาตอนปลาย

3.วัดศรีพันต้น

วัดศรีพันต้น ตั้งอยู่เลขที่ 105 ถนนเจ้าฟ้า ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเขตเทศบาลเมืองน่าน สร้างโดยพญาพันต้น เจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองนครน่าน ระหว่าง พ.ศ. 1960 - 1969 ) ชื่อวัดตรงกับนามผู้สร้าง คือพญาพันต้น บางสมัยเรียกว่า วัดสลีพันต้น (คำว่า สลี หมายถึง ต้นโพธิ์) ซึ่งในอดีตมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของวัด ปัจจุบันถูกโค่นเพื่อตัดเป็นถนนแล้ว วัดศรีพันต้นได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2505 ภายในวัดมีวิหารที่สวยงามตั้งเด่นเป็นสง่ามีสีทองระยับ เป็นอีกวัดหนึ่งในจังหวัดน่านที่มีจิตรกรรมปูนปั้นที่สวยงามโดยเฉพาะพระยานาค

ที่เฝ้าบันไดหน้าวัด ดูอ่อนโยนมีชีวิตชีวาซึ่งปั้นแต่งโดยช่างชาวน่านชื่อ นายอนุรักษ์ สมศักดิ์ หรือ "สล่ารง" และภายในวิหารได้มีการเขียนภาพลายเส้นประวัติของพระพุทธเจ้าและประวัติการกำเนิดเมืองน่าน โดยช่างชาวน่าน มันเป็นภาพเขียนลายเส้นลงสีธรรมชาติสวยงามและทรงคุณค่าอย่างยิ่ง วัดศรีพันต้นเคยเป็นที่พำนักของหลวงปู่ครูชันทะ อดีต เจ้าอาวาสวัดศรีพันต้นซึ่งเป็นพระสงฆ์ผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ มีวิชารักษาคนป่วยด้วยการเป่าคาถาเสกน้ำมนต์และการใช้สมุนไพรพื้นบ้านรักษาได้ผลดีมากโดยเฉพาะโรคกระดูกและแผลอักเสบจากตุ่มฝีหนองตลอดชีวิตของหลวงปู่ครูบาชันทะ ท่านได้เมตาไปรักษาคนป่วยในโรงพยาบาลน่านเป็นประจำทุกวัน จนถึงแก่มรณะภาพ

 

4.วัดมิ่งเมือง  สถานที่ตั้งพระเสาหลักเมือง

วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ เป็น เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน ประวัติของวัดมิ่งเมือง คือ เดิมเป็นวัดร้าง มีเสาหลักเมืองที่เป็นท่อนซุงขนาดใหญ่สองคนโอบ พบที่ซากวิหาร ในราวปี 2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าครองนครน่านสถาปนาวัดใหม่ ตั้งชื่อว่า วัดมิ่งเมือง ตามชื่อที่เรียกเสาหลักเมืองว่า เสามิ่งเมือง ต่อมาปี 2527ได้มีการรื้อถอนและสร้างอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบล้านนาร่วมสมัยแบบในปัจจุบัน

ษณะเด่นคือ ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ มีความสวยงามวิจิตรบรรจงมาก เป็นฝีมือตระกูลช่าง เชียงแสน มีความวิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน ฝีมือช่าง ท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน เสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ในศาลาจตุรมุข ด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลัก เป็นรูป พรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

 

5.วัดบุญยืน

ดบุญยืน พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 31 หมู่ 4 บ้านกลางเวียง ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2347 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งหลัง เมื่อ ปี พ.ศ.2499 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ได้รับการ ยกฐานะจากวัดราษฎร ขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2539 มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา

วัดบุญยืน เป็นวัดประจำอำเภอเวียงสา มีความสำคัญต่่อความมั่นคงบของจังหวัดน่าน ตั้งแต่สมัจเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56 เป็นต้นมา เมื่อขบ้านเมืองเกิดความไม่สงบหรือเกิดภัยธรรมชาติ ในเมืองบน่านคราใด เจ้าผู้ครองนครน่านและประชาชนจะปคระกอบพิธีบวงสรวงกักการะบูชาพระธาตุเจดีย์วัดบุญยืน ซึ่งก่อให้เกิดขวัญกำลังใจต่อประชาชนได้เป็นอย่างดี และสมัยที่ยังมีเจ้าผู้ครองนครน่านนั้น ได้มีการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาขึ้น ในพระวิหารต่อหน้าพระพุทธปฏิมาปางประทับยืน องค์พระประธานตลอดมา

6.วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

ยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรง สร้างตามสถาปัตยกรรม ทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลาง ทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็ก อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธาน ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบัน ตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลัก ลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนกระย้าย้อย เหมือนลวดลาย ที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์


           ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์ มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎก ใหญ่ที่สุดในประเทศ

7.วัดสวนตาล

วัดนี้สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมมาวดีชายาของพญาภูเข็ง เจ้าผู้ครองนครน่านเมื่อราว พ.ศ.1955 เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองน่านด้านพิศเหนือ ในบริเวณที่เป็นสวนตาลหลวง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด ตัวเจดีย์หลังวิหารนั้น เดิมเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย ต่อมาพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ผู้ครองนครน่านโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2547 ได้แก้ไขรูปทรงเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ ดังปัจจุบัน


  ภายในวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าทรงทิพย์ พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยองค์ใหญ่หน้าตักกว้าง  10  ฟุต  สูง 14  ฟุต  4 นิ้ว  พระเจ้าติโลกราช แห่งนครเชียงใหม่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี  พ.ศ.1993 เพื่อแสดงถึงชัยชนะ ที่พระองค์สามารถยึดเมืองน่าน ไว้ในพระราชอำนาจ   ทุกปีใหม่ช่วงเทศกาลมหาสงกรานต์ ชาวน่าน จัดงานนมัสการ และสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ฯ ประทานน้ำสรงเป็นประจำทุกปี ชาวน่านเคารพนับถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง

 

8.วัดพระธาตุเขาน้อย  (ถือว่าเป็นจุดชมวิวมุมสูงของเมืองน่านครับ)

ดพระธาตุเขาน้อย ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นวัดราษฎร์ องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ. 2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างในสมัยนี้เช่นกัน

จากวัดพระธาตุเขาน้อย สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่าน ปัจจุบันบริเวณลานชมทิวทัศน์ ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

 

9.วัดพระธาตุแช่แห้ง (วัดนี้ใครมาน่านไม่มาสักการะถือว่ามาไม่ถึงน่ะครับ)

วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง วัดพระธาตุแช่แห้ง หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง ประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต

ตัวพระธาตุตั้งอยู่บนเชิงเนินปูด้วยอิฐ ลาดขึ้นไปยังยอดเนิน กว้างประมาณ 20 วา มีบันไดนาคขนาบทั้งสองข้าง องค์พระเจดีย์เป็นแบบล้านนา ฐานเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไปจนสูง ใช้แผ่นทองเหลืองบุรอบฐาน แล้วลงรักปิดทอง จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พระยาการเมือง เจ้านครน่านได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจาก กรุงสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง

Credit: PostJung
#ล้านนาตะวันออก
PatPuch
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
11 ต.ค. 57 เวลา 09:12 2,929
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...