พระภรรยาเจ้า และ พระสนมใน รัชกาลที่ 5

พระภรรยาเจ้า และ พระสนมใน รัชกาลที่ 5

พระภรรยาเจ้า และ พระสนมใน รัชกาลที่ 5 

 เรื่อง    "ความรัก"    และบาทบริจาริกาในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนั้น    เป็นที่เลื่องลือว่าพระองค์ทรงมีมากมายในตลอดรัชสมัยหากทว่าพระมเหสีและเจ้าจอมทุกพระองค์นั้นได้รับความรัก    และเมตตาจากพระองค์อย่างดียิ่ง    พระองค์ทรงเป็นยอดนักรักที่มิเคยมีพระราชประวัติเสื่อมเสียพระเกียรติ    และพระราชโอรสพระราชธิดาทุกพระองค์นั้น    สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงอบรมสั่งสอนพระราชทานพระบรมราโชวาทด้วยพระองค์เองเป็นนิตย์ 

 

หากจะเรียงตามลำดับพระอิสริยยศแล้ว    พระมเหสีและเจ้าจอมทั้งหมดปรากฎพระนามและนามดังต่อไปนี้ 
       

  พระภรรยาชั้นลูกหลวง 

 

            ๑      สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี    พระบรมราชินีนาถ 
(สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนา๔    พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง) 

แต่เดิมนั้น เป็น ลำดับรอง จาก พี่สาวทั้งสองพระองค์  พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ใหญ่สุด

รองลงมา คือ พระนางเจ้าสว่างวัฒนา  แต่ด้วย รัชทายาท สิ้นพระชนม์ 

พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี จำขึ้นตำแหน่ง มาแทน เป็นพระมารดา ของ ร. 6

 

  ๒      สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา    พระบรมราชเทวี 
(สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี    พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า 

พระพี่นาง ทรงสิ้นพระชนม์ ทางน้ำ และพระองค์ทรงมี รัชทายาท 

จึงขึ้นตำแหน่งต่อมา จากนั้น รัชทายาท สิ้นพระชนม์ พระน้องนางจำขึ้นตำแหน่ง

พระองค์ ทรงเป็นพระมารดา เจ้าฟ้ามหิดล บิดาของรัชกาล ปัจจุบันนั้นเอง

 

 

  ๓      สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์    พระบรมราชเทวี 

สิ้นพระชนม์ ทางน้ำ เป็นพระพี่นาง องค์โต ของสองพระองค์

พระนางเจ้าสว่างวัฒนา    พระบรมราชเทวี 

 พระนางเจ้าสว่างวัฒนา    พระบรมราชเทวี 

๔    สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี    พระราชเทวี 
                    (สมเด็จพระปิตุฉาเจ้า    สุขุมาลมารศรี    พระอัครราชเทวี)

ผู้ให้กำเนิดราชสกุล บริพัตร เจ้าของวังบางขุนพรหม

 

๕      พระองค์เจ้าทักษิณชานราธิราชบุตรี    (พระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวงพระองค์แรก มิได้สถาปนา)

ผู้มีสิทธิขึ้นตำแหน่งเป็นพระราชินี   ก่อน พระนางเจ้าทั้งสาม

พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์  พระนางเจ้าสว่างวัฒนา    พระนางเจ้าสว่างวัฒนา  

 (พระนางผู้เผชิญเรื่องราวอันน่าเศร้า)

พระนางได้ ประสูติ เจ้าชายองค์แรก มีสิทธิ ขึ้นเป็นรัชทายาท แต่สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ จึงทำให้พระนางเสียพระสติจึงไม่สามารถรับใช้ถวายงานได้อีก พระอนุชาของพระองค์จึงทูลขอ รับพระองค์กับไปประทับยังตำหนักเดิม จนถึงวันสิ้นพระชนม์

 

พระภรรยาเจ้าชั้นหลานหลวง 

 

ทั้งสามพระองค์เป็นพี่น้องกัน

๑      พระอัครชายาเธอ    พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค 

 

๒      พระอัครชายาเธอ    พระองค์เจ้าสาวภาคย์นารีรัตน์ 

 

 

๓      พระอัครชายาเธอ    พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ 
            (สมเด็จพระวิมาดาเธอ    กรมพระสุทธาสินีนาฏ    ปิยมหาราชปดิวรัดา) 

ผู้ให้กำเนิด ราชสกุล ยุคล

 

พระราชชายา 

เป็นตำแหน่งตั้งขึ้นใ้หในสมัย ร.5


๑      พระราชชายา    เจ้าดารารัศมี 

เจ้านาย จากล้านนา เชียงใหม่ แต่เดิม ตำแหน่ง เป็นเพียงเจ้าจอม เนื้องจากเจ้านอกราชวงค์ ไม่นับเป็นเจ้านายในราชวงค์

ต่อมา ร.5 ทรงแต่งตั้งตำแหน่งให้ ถือได้เป็น มเหสี พระองค์หนึ่ง

 

พระสนม  

เรียกว่าเจ้าจอม มีพระโอรส ธิดา เติม ต่อท้ายว่า มารดา เป็น เจ้าจอมมารดา

 


๑    เจ้าคุณจอมมารดาแพ  (  เจ้าคุณพระประยุรวงศ์  "รักแรกในรัชกาลที่๕) 

เป็นดังพระสนมเอก ก็ว่าได้ มาจาก สกุลบุคนาค

เป็น เจ้าจอม องค์แรก ๆ ตั้งแต่ ร.5 ยังไม่ขึ้นเป็นราชา ทำให้ทุกคนจะเกรงใจท่านอย่างมาก มีคำนำหน้าว่าคุณ เจ้าจอม


๒      เจ้าจอมมารดาอ่อน    เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธ  (เทศ    บุนนาค)   

มีอายุยืน 100 ปี

 

   


๓      เจ้าจอมมารดาเอี่ยม    (เช่นเดียวกับเจ้าจอมมารดาอ่อน)   

มีความสามารถในการถวายงานนวดถูกพระทัย  


    ๔      เจ้าจอมเอิบ  (เช่นเดียวกับเจ้าจอมมารดาอ่อน)        

มีความสามารถในด้ายการถ่ายภาพ                                            

                                                                 
๕      เจ้าจอมมารดาอาบ    (เช่นเดียวกับเจ้าจอมมารดาอ่อน) 


๖      เจ้าจอมเอื้อน    (เช่นเดียวกับจอมมารดาอ่อน) 


๗      เจ้าจอมมารดาแข    (เจ้าจอมแรก    ก่อนพระพุทธเจ้าหลวงขึ้นครองราชย์) 

มาจาก ราชสกุล พึ่งบุญ เป็นหลายพระองค์เจ้าไกสร นั้นเองถูกปลดพระยศ คุณแข ทรงเป็นพระพี่เลี้ยง ร.5 และทรงเป็นนางห้ามของ ร.5 องค์แรกในสมัยที่ ร.5 พระอายุ 14 15 

ต่อมาหลังจากมี เจ้าจอมแพ และได้ขึ้นเป็น ราชา

ได้รับ พระองค์เจ้าทักษิณชานราธิราชบุตรี   เป็นพระภรรยาเจ้าพระองค์แรก


๘      เจ้าจอมมารดาแสง    เป็นธิดาของพระยาไชยวิชิต    (ช่วง    กัลยาณมิตร) 


๙      เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย    เป็นหลานสมเด็จเจ้าฟ้า  เกศ    กรมขุนอิศรานุรักษ์    (ต้นราชสกุล    "อิศรางกูร"ฯ) 


๑๐    เจ้าจอมมารดาสุด    เป็นธิดาของพระยาสุรินทรราชเสนี    (จั่น      สุกุมลจันทร์) 


๑๑    เจ้าจอมมารดาตลับ    เป็นธิดาของพระยาเวียงในนฤบาล    (หรั่ง      เกตุทัต) 


๑๒    เจ้าจอมมารดามรกฎ    เป็นธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง    (เพ็ง      เพ็ญกุล) 


๑๓    เจ้าจอมมารดาอ่วม    เป็นธิดาของเจ้าพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์    (ยิ้ม    พิศลบุตร) 


๑๔      เจ้าจอมมารดาแช่ม    เป็นธิดาของพระอำมาตย์    (ชื่น    กัลยาณมิตร) 


๑๕    เจ้าจอมมารดาทับทิม    เป็นธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์    (ดิศ    โรจนดิศ)    


๑๖    เจ้าจอมมารดาบัว    (ไม่ปรากฏท่านบิดา) 


๑๗    เจ้าจอมมารดาโหมด    เป็นหลานสมเด็จพระเจ้าบรมมหาศรีสุริยวงศ์  และเป็นน้องเจ้าคุณจอมแพ) 


๑๘    เจ้าจอมมารดาจันทร์    เป็นธิดาของพระยาราชสัมภารากร    (เทศ) 


๑๙    เจ้าจอมมารดาสาย    เป็นธิดาของพระยาสุรินทรราชเสนี    (และเป็นน้องสาวของเจ้าจอมมารดาสุด) 


๒๐    เจ้าจอมมารดาเรือน    เป็นธิดาของพระยาสุนทรบุรี    (สว่าง    สุนทรศาลทูล) 


๒๑      เจ้าจอมมารดาวาด    เป็นธิดานายเสถียรรักษา    ชาวรามัญ 


๒๒    เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสร    เป็นธิดาเจ้าราชวงศ์เชียงใหม่  (และเป็นพระยาติของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี) 

พระโอรส คือ พระองค์เจ้าชายดิลกนพรัฐ



๒๓    เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง    เป็นธิดาของพระองค์เจ้าชายสนิทวงศ์ 


๒๔    เจ้าจอมมารดาพร้อม    เป็นธิดาของพระยาพิษณุโลกธิบดี    (บัว) 


๒๕    เจ้าจอมมารดาวงศ์    เป็นธิดาของพระยาอรรคราชนาถภักดี  (เนตร) 


๒๖    เจ้าจอมมารดาแส    เป็นธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์  (และเป็นน้องต่างมารดาเจ้าจอมมารดาทับทิม) 


๒๗    เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร    เป็นธิดาของหม่อมเจ้า    สวาท    สนิทวงศ์ 


๒๘    เจ้าจอมมารดาชุ่ม    เป็นธิดาของพระมงคลรัตน์    (ช่วง    ไกรฤกษ์) 


๒๙    เจ้าจอมมารดาเลื่อน    เป็นธิดาของพระยานรินทราภรณ์  (ลอย    นิยะวานนท์) 


๓๐    เจ้าจอมมารดาเหม    เป็นธิดาของพระยาธรรมสารนิติ  (พลับ    อมาตยกุล) 


๓๑    เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์จิ๋ว    เป็นธิดาของหม่อมเจ้าวัฒนากปิตถา 


๓๒    เจ้าจอมมารดาเจิม    เป็นธิดาของพระยาวิเศษสัจธาดา    (จัน) 


๓๓    เจ้าจอมมารดาเยื้อน    เป็นธิดาของพระยาสุรศักดิ์มนตรี    (แสง    แส-ชูโต) 


๓๔    เจ้าจอมมารดาแก้ว    เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธ    (เทศ    บุนนาค) 


๓๕    เจ้าจอมมารดาแส    เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธ    (เทศ    บุนนาค  )    


๓๖    เจ้าจอมพิศ    เป็นธิดาของพระยาภาสกรวงศ์    (พร    บุนนาค) 


๓๗    เจ้าจอมปุก    เป็นธิดาของเจ้าพระยาศรีพิพัฒฯ    (แพ    บุนนาค) 


๓๘    เจ้าจอมเยื้อน    เป็นธิดาของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์    (แย้ม    บุนนาค) 


๓๙    เจ้าจอมวอน    เป็นธิดาของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์    (แย้ม    บุนนาค) 


๔๐    เจ้าจอมจีน    เป็นธิดาของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์    (แย้ม    บุนนาค) 


๔๑    เจ้าจอมแถม    เป็นธิดาของพระยาสัจจาภิรมณ์    (แถบ    บุนนาค) 


๔๒    เจ้าจอมเรียม    เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์    (โต    บุนนาค) 


๔๓    เจ้าจอมเพิ่ม    เป็นธิดาของพระยาราชภัคดี    (โค    สุจริตกุล) 


๔๔    เจ้าจอมประคอง    เป็นธิดาของพระยาธรรมสารนิติ  (ตาด    อมาตยกุล) 


๔๕    เจ้าจอมสำอาง    เป็นธิดาของพระยาศรีธรรมาธิราช    (เวก    บุณยรัตพันธ์  ) 


๔๖    เจ้าจอมนวล    เป็นธิดาของพระยาเสนานุชิต    (นุช    ณ    นคร  ) 


๔๗    เจ้าจอมก้อนแก้ว    เป็นธิดาของพระยาจรรยาธรรจุกุลมนตรี 


๔๘    เจ้าจอมสวน    เป็นธิดาของพระยาภูธราภัย    (นุช    บุณยรัตนพันธ์) 

๔๙    เจ้าจอมเนื่อง    เป็นธิดาของพระยาสีหราชฤทธิไกร    (แย้ม    บุณรัตนพันธ์) 


๕๐    เจ้าจอมเปลี่ยน    เป็นธิดาของพระยามหิศณราชสัมพันธ์    (กุญ) 


๕๑    เจ้าจอมสมบูรณ์    เป็นหลานเจ้าสัวสกุลโชติพุกณะ 


๕๒    เจ้าจอมเพิ่ม    เป็นธิดาของสมุทรสาคร    (ยอด) 


๕๓    เจ้าจอมสว่าง    เป็นธิดาของหลวงมหามณเฑียร    (จุ้ย) 


๕๔    เจ้าจอมสว่าง    เป็นธิดาของพระยานคร    (น้อย    กลาง    ณ    นคร  ) 


๕๕    เจ้าจอมถนอม    เป็นธิดาของพระราชภัคดี    (ม.ร.ว    ช้าง    เทพหัสดิน  ณ  อยุธยา) 


๕๖    เจ้าจอมกลีบ    เป็นธิดาของพระยาไชยสุรินทร์    (เจียม      เทพหัสดิน    ณ    อยุธยา) 


๕๗    เจ้าจอมลิ้นจี่    เป็นธิดาของพระยาไชยสุรินทร์    (เจียม    เทพหัสดิน    ณ    อยุธยา) 


๕๘    เจ้าจอมฟักเหลือง    เป็นธิดาของพระยาไชยสุรินทร์    (เจียม    เทพหัสดิน    ณ  อยุธยา) 


๕๙    เจ้าจอมเหรียญ    เป็นธิดาของพระยาโยธากรมศรศรี    (เถียน    โชติกเสถียร) 


๖๐    เจ้าจอมน้อม    เป็นธิดาของพระยาอรรคจรรยานุกูลมนตรี  (ทองดี    โชติกเสถียร) 


๖๑    เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เฉียด    เป็นธิดาของหม่อมเจ้าฉาย    ลดาวัลย์ 


๖๒    หม่อมเจ้าราชงศ์สดับ    เป็นธิดาของหม่อมเจ้า  เพิ่ม    ลดัลย์ 

หลังจาก ร.5 สิ้นพระชนม์ ในปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตนั้น เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมีอายุเพียง 20 ปี ทำให้ท่านเป็นที่จับตามองจากคนรอบข้างว่าจะสามารถครองตัวครองใจเป็นหม้ายได้ต่อไปตลอดหรือไม่ ท่านได้ถวายเครื้องเพชร คืนหมด มีเพียงกำไลตะปูทองที่ติดตัวจนวันสิ้นอายุ ต่อมาท่านได้ออก บวชเป็นชีอยู่บนเขาวัดบางทราย ชนบุรี

จนเ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้ไปพบว่าบวชชีจึงได้พระบรมราชานุเคราะห์ให้ท่านกลับเข้ามาอยู่ใน พระบรมมหาราชวัง ในช่วงเวลานี้นี่เอง ที่ท่านได้มีโอกาสทำคุณประโยชน์อีกครั้ง โดยการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้แก่ชนรุ่นหลัง เช่น

วิธีถักตาชุนหรือ ถักสไบ ที่เรียกกันว่า กรองทอง วิธีทำน้ำอบ น้ำปรุง ยาดมส้มโอมือ ฯลฯ

ตลอดจนถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆในพระราชสำนักเมื่อครั้งกระนั้น ให้ชนรุ่นหลังได้ฟังและจดบันทึกไว้ นับเป็นประโยชน์มาก เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2526 สิริรวมอายุได้ 93 ปี 

ตำแหน่ง นางสนมนางในดูจาก

 
ชั้นที่ ๔ - นางอยู่งาน ได้รับพระราชทานหีบหมากเงินกาไหล่ โดยยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม

ชั้นที่ ๓ - เจ้าจอม ได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำ โดยผู้ได้รับพระราชทาน มีคำนำหน้าชื่อเรียกว่าเจ้าจอมทุกท่าน 

ชั้นที่ ๒ - เจ้าจอม พระสนม ได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี ซึ่งหมายรวมถึงเจ้าจอมมารดา ด้วย

ชั้นที่ ๑ - พระสนมเอก ได้พระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี พานทอง เป็นพานหมากมีเครื่องในทองคำ กับกระโถนทองคำ

ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าฝ่ายในแล้ว บรรดาเจ้าจอมที่โปรดเกล้าฯให้เป็น “พระสนมเอก” ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๒ คือ ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) โดยเจ้าจอม พระสนม ได้รับพระราชทาน ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) 

สำหรับเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ เป็น "เจ้าจอมพระสนมเอก" ในรัชกาลที่ 5 ไม่ใช่ พระสนมสามัญ โดยได้รับพระราชทาน ท.จ. ในรัชกาลที่ 5 และรับ ท.จ.ว. ในรัชกาลปัจจุบัน 

 

 

 

 

               ในความจริงนั้น    หลังจากหม่อมราชวงศ์สดับก็ยังมีเจ้าจอมที่ท่านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่    หรือข้าหลวงเสนาบดีต่างๆ    นำมาถวายรับใช้สนองเบื้องพระยุคลบาทอีกหลายท่าน    แต่มิปรากฏนามนัก  และเป็นเพียงเจ้าจอมมิได้มีพระราชดโอรสหรือพระราชธิดา    ซึ่งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงใกล้ชิดพระองค์ท่านใดอีก    ทรงดูแลภารกิจบ้านเมืองจนประชวรและเสด็จสวรรคตเสียก่อน 
              บรรดาบาทบริจาริกาและพระภรรยาเจ้าในสมัยในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนั้น    ล้วนแล้วแต่ถวายตัวใต้ร่มพระบาทมาด้วยความเต็มใจและเต็มพระทัยทั้งสิ้น  ด้วยพระราชประเพณีโบราณที่บรรดาขุนนางผู้ใหญ่หรือพ่อค้าใหญ่นานาต่างพากันนำธิดามาถวายกษัตริย์แห่งแผ่นดินจึงต้องรับไว้ด้วยเหตุผลการบ้านการเมือง    เพื่อผูกสัมพันธ์มัดใจเป็นบิดาและป็นปู่ของขัตติยนารีแต่ละคนนั้นไว้    ซึ่งมีหลายคนที่เมื่อมิได้ถวายการรับใช้ใกล้ชิดพระองค์แล้วจึงได้กราบถวายบังคมลากลับไปอยู่กับบิดามารดา    พระองค์ก็ทรงพระราชทานพระราชุนุญาต    และก็มีหลายคนหลายพระองค์ที่เป็นที่ผูกพระทัยสิเน่หาถึงกับทรงสู่ขอมาด้วยพระองค์เอง 
ทุกคนทำพระองค์นั้น    ต่างล้วนมี  "ความรัก"    ต่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงอย่างผูกพันธ์ลึกซึ้งด้วยเพราะพระรูปโฉมอันงดงามสง่าของพระองค์ประการหนึ่ง    และเพราะ  "น้ำพระทัย"    ของพระองค์ที่ทรงเมตตา  "ถนอม"  ความรู้สึกของพระภรรยาเจ้าและเจ้าจอมทุกพระองค์อย่างที่เป็นที่น่าตื้นตันยิ่ง    ยามที่พระองค์เสด็จสวรรคตไปนานนับสิบปีแล้ว    พระภรรยาเจ้าและเจ้าจอมของพระองค์ก็ยังภัคดีและอาวรณืในพระองค์อย่างลึกซึ้งยิ่งนัก 

          ฝ่ายใน  ...  สมัย ร.5 นั้น  มีผู้นิยมวิ่งเต้นส่งบุตรหลานเข้าถวายตัวเป็นข้าหลวงในวังมากเป็นจำนวนมาก  ผู้ใดมีช่องทางคุ้นเคยรักใคร่กับใคร  ก็ช่วยชักนำกันถวายตัวเป็นข้าหลวงของบรรดาเจ้านายพระบรมวงศ์  พระมเหสี  หรือเจ้าจอมชั้นผู้ใหญ่  เพื่อที่จะมีโอกาสได้รับการฝึกฝนขนบธรรมเนียม  จรรยามารยาท  และวิชาการชั้นสูงต่างๆ  สำหรับกุลสตรี  ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นโอกาสอันดีในการแสวงหาโชควาสนา  ที่จะได้ถวายตัวรับราชการเป็นข้าหลวงพนักงาน  หรือจนกระทั่งอาจได้รับการโปรดเกล้าฯ  ให้รับไว้เป็นข้าบาทบริจาริกา

            การที่บรรดาพระบรมวงศ์  พระภรรยาเจ้าและพระภรรยามีบริวารในสังกัดเป็นจำนวนมากนี้  จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในสังคมไทย  ตลอดจนการแสดงถึงอำนาจบารมีของเจ้านายในแต่ละสำนัก  ทั้งยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้านายผู้เป็นเจ้าสำนักกับองค์พระมหากษัตริย์  ในกรณีที่ผู้เข้ามาถวายตัวเป็นข้าในสำนักนั้นเกิดเป็นที่โปรดปราน  จนได้เป็นบาทบริจาริกา  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสตรีที่เข้ามาสู่บารมีของเจ้านายในแต่ละสำนักนั้นมักเป็นญาติ  หรือญาติของผู้พำนักอยู่ในสำนักนั้น  หรือขุนนางที่เจ้าสำนักคุ้นเคยหรือไว้วางใจ

            ในต้นรัชกาลเจ้าสำนักส่วนใหญ่มักเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในชั้นผู้ใหญ่  เช่น 

สำนักของสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ซึ่งดำรงพระอิสริยยศเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี  เนื่องจากได้ทรงเป็นผู้ถวายการอภิบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์  โดยสำนักของพระองค์นั้นมีข้าราชสำนักมาจากหลายสายสกุล  และหลายท่านได้เลื่อนฐานะเป็นพระภรรยาเจ้าและพระภรรยา  นอกจากนี้ยังมีสำนักของพระเจ้าพี่นางเธอ  พระองค์เจ้าโสมวดี  กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ  พระพี่นางพระองค์ใหญ่   และสำนักท้าววรจันทร  (เจ้าจอมมารดาวาด  ในรัชกาลที่  4)  ซึ่งเป็นท้าวนางผู้ใหญ่  มีหน้าที่บังคับบัญชาพระสนมกำนัลท้าวนาง  เถ้าแก่  พนักงานมโหรีฝ่ายใน  ตลอดจนข้าราชการฝ่ายในทุกระดับชั้น  สำนักกรมหลวงวรเสรฐสุดา  (พระองค์เจ้าบุตรี)  พระราชธิดาในรัชกาลที่  3   โดยพระองค์เจ้าบุตรีนี้ทรงเคยเป็นผู้ถวายอภิบาลสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์  พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่  5 

                ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระภรรยาเจ้า  และพระภรรยามากขึ้น  จึงได้แยกสำนักออกมาจากเจ้านายที่เคยสังกัดอยู่  โดยพระภรรยาเจ้า  และพระภรรยาที่จะสามารถมีสำนักเป็นของตนเองได้นั้น  ต้องอาศัยคุณสมบัติหลายประการ  เช่น  ด้านชาติตระกูล  มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเป็นที่โปรดปราน  หรือได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนเป็นที่โปรดปราน  เป็นต้น  สำนักที่มีบทบาทสำคัญได้แก่

สำนักของ  “สมเด็จพระตำหนัก”  

          หรือสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา  พระบรมราชเทวี  สมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์ที่  2  ทรงเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  สยามมกุฎราชกุมาร  โดยทรงมีเจ้าจอมอยู่ในสำนักของพระองค์ท่านหลายคนด้วยกัน  เช่น  เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง  สนิทวงศ์  เจ้าจอมมารดาพร้อม  เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ข้อ  สนิทวงศ์  เจ้าจอมถนอม  และเจ้าจอมเรียม  เป็นต้น  ส่วนข้าหลวงในสำนักนั้นมักเป็นสมาชิกจากตระกูลที่ใกล้ชิด  โดยเฉพาะตระกูลสุจริตกุล  และตระกูลชูโต

 

 สำนักของ  “สมเด็จที่บน”  

          สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระบรมราชินีนาถ  มีที่ประทับ  ณ  พระที่นั่งศรีสุทธาอภิรมย์  อันเป็นส่วนหนึ่งของ  “ที่บน”  หรือ  “หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท” ทรงเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  สยามมกุฎราชกุมาร  (รัชกาลที่  6)  จึงนับได้ว่าสำนักของพระองค์เป็นสำนักที่รุ่งเรืองมากที่สุดในหมู่พระภรรยาเจ้า  เนื่องจากทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอรุ่นเล็กของรัชกาลที่  4  จึงมีพระเจ้าลูกเธอพี่นางน้องนางที่มีวัยรุ่นเดียวกันเป็นที่สนิทชิดชอบ  และเจริญพระชันษาขึ้นมาด้วยกันหลายพระองค์  และต่อมาเมื่อทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี  มีพระราชโอรสเป็นหลักในการสืบราชสันตติวงศ์  จึงทำให้มีเจ้านายที่ทรงรักใคร่ต้องพระอัธยาศัยกันมาถวายความจงรักภักดีในสำนักของสมเด็จที่บนหลายพระองค์ด้วยกัน  เช่น  พระองค์เจ้าศรีนาคสวาสดิ์  พระองค์เจ้าแขไขดวง  พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์  และพระองค์เจ้านารีรัตนา  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังทรงมีเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้น  เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม  เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ม  เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ว  แห่งราชสกุลมาลากุล  พระธิดาในกรมหมื่นปราบปรปักษ์  เป็นข้าหลวงคนสนิทที่ทรงโปรดปรานไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นนางสนองพระโอษฐ์  มีอำนาจว่ากล่าวดูแลคนทั้งปวงโดยสิทธิ์ขาด  อีกทั้งยังทรงมีเจ้าจอมมารดาเลื่อน เจ้าจอมมารดาแส  เจ้าจอมอ้น  เจ้าศรีพรหมา  ธิดาเจ้าผู้ครองนครน่าน  อยู่ในสังกัดสำนักสมเด็จที่บนอีกด้วย

 

 สำนัก  "พระนางเจ้าพระราชเทวี"  

          ของพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี  พระราชเทวี  ทรงมีข้าหลวงในสำนักเป็นสตรีจากตระกูลบุนนาค  เพราะทรงมีศักดิ์เป็นหลานตาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ  (ทัด  บุนนาค)  อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสำนักของเจ้าคุณจอมมารดาแพ  ในฐานะญาติสายสกุลบุนนาค  ซึ่งต่อมากลุ่มเจ้าจอม  “ก๊กออ”  ธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์แห่งสกุลบุนนาค  ที่สังกัดอยู่กับเจ้าคุณจอมมารดาแพ  ได้มาถวายงานใกล้ชิดร่วมกับพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี  ภายหลังจากที่เจ้าคุณจอมมารดาแพเปลื้องหน้าที่ตามวัยวุฒิ

 

สำนักของ  “ท่านองค์เล็ก”  

          หรือพระอัครชายาเธอ  พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์  กรมขุนสุทธาสินีนาฏ  เรียกว่า  “ก๊กพระวิมาดา”  “ก๊กท่านองค์เล็ก”  หรือ  “พวกท่านองค์เล็ก”  เจ้าจอมและนางข้าหลวงส่วนใหญ่มักสืบสายราชสกุลมาจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เช่น  ราชสกุลลดาวัลย์,  สิงหรา  นอกจากฝึกหัดอบรมคุณสมบัติกุลสตรีแล้ว  สำนักของพระอัครชายายังมีโรงเลี้ยงเด็กด้วย

 

  สำนัก  “ตำหนักเจ้าลาว”  (สมัยก่อนเค้า เรียกคนนุ้งซินว่า ลาว กัน ไม่ได้พาดพิง ประเทศเพื่อนบ้านนะค่ะ )

          ของ พระ

8 ต.ค. 57 เวลา 10:09 11,306 2 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...