น้ำใบบัวบก ล้างผักสด ลดเชื้อโรคได้ดี

 

 

 

 

 

นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.บ้านหัวคู จ.นครศรีธรรมราช คิดค้นกรรมวิธีล้างผักเครื่องเคียงด้วย น้ำใบบัวบก  พบว่าให้ผลดี  สามารถลดเชื้อได้ดีกว่าน้ำสะอาดถึงเท่าตัว เนื่องจากในใบบัวบกมีสารกลุ่มไตรเทอปินอยด์ กลัยโคไซด์ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ช่วยป้องกันการเกิดอุจจาระร่วงได้

ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ที่จังหวัดเชียงใหม่ ระว่างวันที่ 10-12 กันยายน 2557 นายสามารถ สุวรรณภักดี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)บ้านหัวคู อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเสนอผลการวิจัย เรื่อง“ประสิทธิภาพผลการลดเชื้อ อีโคไล (Escherichia coli) ในผักเครื่องเคียงพร้อมบริโภค โดยการล้างด้วยน้ำบัวบก”เพื่อขยายผลแนะนำประชาชนทั่วไป ให้รู้วิธีการล้างผักก่อนบริโภคเพื่อความปลอดภัย ป้องกันโรคอุจจาระร่วง

นายสามารถ กล่าวว่า วิถีชีวิตการกินอยู่ของประชาชนในพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่านิยมรับประทานผักสดเป็นผักเครื่องเคียง ทั้งในครัวเรือน และร้านอาหารทั่วไป ผู้วิจัยจึงได้ทำการเก็บตัวอย่างผักสดเครื่องเคียงในร้านอาหาร เช่นแตงกวา ใบมันปู กะหล่ำปลี มาทดสอบด้วยชุดทดสอบน้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) ตามมาตรฐานของกรมอนามัย ผลปรากฏว่า ตรวจพบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย มากสุดในแตงกวาร้อยละ 94 กะหล่ำปลีร้อยละ 89 ใบมันปูและถั่วงอกพบร้อยละ 83 ซึ่งหากผู้ที่รับประทานผักที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนจำนวนมาก  หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อโรคเหล่านี้ จะไปเกาะติดกับผนังลำไส้จะสร้างสารพิษที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

ผู้วิจัยจึงได้คิดค้นวิธีการล้างผักเครื่องเคียง เพื่อลดสิ่งปนเปื้อนในผักสด โดยใช้ น้ำใบบัวบก นำมาล้างผักเครื่องเคียงที่กล่าวมา พบว่าการล้างด้วย น้ำใบบัวบก สามารถลดเชื้อที่ปนเปื้อนได้ดีกว่าน้ำสะอาดถึง 1.5 เท่า เนื่องจากในบัวบกมีสารกลุ่มไตรเทอปินอยด์ กลัยโคไซด์(Triterphnoid glycosides) มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ดี สำหรับขั้นตอนการล้างผักเครื่องเคียงนั้น ทำได้ง่ายมาก โดยให้นำใบบัวบกที่หาได้ตามท้องถิ่น มาต้มน้ำสุกจากนั้นใช้กระชอนกรองใบบัวบกออก แล้วนำ น้ำใบบัวบก ที่กรองแล้ว  ไปล้างผักเครื่องเคียงอย่างน้อย 15 นาที แล้วกวนหลายๆครั้ง เมื่อล้างเสร็จแล้ว สามารถนำไปรับประทานได้อย่างปลอดภัย

นายสามารถกล่าวต่อไปว่า ผลการวิจัยนี้ จะนำไปประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ประชาชนในพื้นที่นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันต่อไป เป็นการส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้เหมาะกับวิถีชีวิตเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้ออีโคไล   ควบคู่กับการสร้างพฤติกรรมสุขลักษณะ ได้แก่ ล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร ทุกครั้ง รับประทานอาหารที่ทำให้สุกใหม่ และควรล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน เป็นต้น

ที่มา: http://health.mthai.com/
 
Credit: http://board.postjung.com/811781.html
5 ต.ค. 57 เวลา 09:14 319 1 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...