ในระยะยาว จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งผิวหนังทั่วโลกจากรังสี UV จะเริ่มลดลง รวมทั้งโรคที่เกิดกับดวงตา และนอกจากมนุษย์ เหล่าสัตว์ป่าและพันธุ์พืชก็จะได้รับผลดีไปด้วย
เนื้อหาหลักๆของสนธิสัญญามอนทรีออล คือเรียกร้องให้มีการเลิกหรือลดการใช้สารเคมีที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ อาทิ สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC หรือ Chlorofluorocarbons) เเละ สารฮาลอน (halons) ที่เคยใช้ในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น กระป๋องสเปรย์ โฟมกันความร้อนและสารดับเพลิง ซึ่งสารเหล่านี้เป็นตัวทำลายชั้นโอโซยโดยตรง
ระยะหลัง ทั่วโลกเปลี่ยนไปใช้สารแคมีทดแทน คือ ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs หรือ Hhydrofluorocarbons) ซึ่งแม้สารนี้จะไม่ทำลายโอโซนแต่ก็เป็นสารก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกเช่นกัน เพียงแต่มีผลต่ำกว่าสาร CFC ดั้งเดิม นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมชั้นโอโซนจึงเริ่มฟื้นตัว และน่าจะยังเพิ่มขึ้นในอัตรานี้ หากการรณรงค์ได้ผล และทุกประเทศปฏิบัติตามสนธิสัญญามอนทรีออลกันอย่างจริงจัง
แต่ก็ไม่มีสารเคมีอะไรที่ดีถาวร เพราะจากการวิจัย ก็ยังพบผลเสียของสาร HCFCs ในระยะยาว คือต่อภาวะโลกร้อน ซึ่งอาจจะรุนแรงขึ้นได้หากมีการใช้ในปริมาณมาก เพราะจากการตรวจสอบล่าสุด สารทดแทน HCFCs นี้เพิ่มเข้าสู่บรรยากาศโลกราว 7% ต่อปี ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเร็วมาก ถ้าเป็นแบบนี้ เราต้องรับมือกับความเลวร้ายจากภาวะโลกร้อนแทนปัญหาจากรูโหว่ของโอโซนในอนาคตอันใกล้
อย่างไรก็ตาม จากความสำเร็จในเรื่องปกป้องชั้นโอโซนนี้ แม้จะเป็นแค่ชั้นแรกๆ แต่ WMO หรือองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ก็ยกย่องความร่วมมือในครั้งนี้จากประเทศสมาชิก ซึ่งทุกประเทศมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในการกอบกู้ชั้นบรรยากาศโอโซนเอาไว้ แต่ในชั้นต่อไป ปัญหาถัดไป คือเรื่องโลกร้อน WMO ก็หวังจะได้รับความร่วมมือแบบเดียวกันนี้เช่นกัน