แนะกินเจให้ปลอดภัย ระวัง10ผักสดสารตกค้างเพียบ

กรมอนามัย แนะกินเจปีนี้ กินผักให้ปลอดภัย เฝ้าระวัง ผักสด 10 ชนิด กวางตุ้ง,คะน้า, ถั่วฝักยาว,พริก,แตงกวา,กะหล่ำปลี,ผักกาดขาวปลี,ผักบุ้งจีน,มะเขือ,ผักชี พบสารตกค้างมาก ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนกินหรือปรุงอาหาร

วันที่ 23 กันยายน 2557 ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานจัดงานรณรงค์ "กินเจ ถูกอนามัย อิ่มบุญ อิ่มใจ สุขภาพดี" ที่ตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน กรุงเทพมหานครว่า "เทศกาลกินเจ" หรือบางแห่งอาจเรียกว่า "ประเพณีถือศีลกินผัก" ซึ่งกำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้วทั่วประเทศ โดยปีนี้เทศกาลกินเจจะมีถึง 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 24 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม 2557 และครั้งที่ 2 วันที่ 24 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน 2557

การกินเจนอกจากจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างบุญกุศลด้วยการละเลิกเพื่อชีวิตแล้ว ในแง่ของสุขภาพร่างกายก็พลอยได้รับประโยชน์ร่วมด้วย เพราะถือเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ร่างกายมีโอกาสพักผ่อนจากการย่อยอาหารประเภทที่ย่อยยากทั้งหลาย ช่วงกินเจจึงเป็นช่วงที่ผู้คนส่วนใหญ่บริโภค "ผัก" เป็นจำนวนมาก เพราะผักย่อยง่ายและให้คุณค่าทางสารอาหารมากมาย ทั้งวิตามินและแร่ธาตุ โดยเฉพาะคุณค่าในเรื่องของเส้นใยอาหารและช่วยทำความสะอาด ขับล้างสารพิษในลำไส้ ช่วยลดการดูดซึมไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยปรับสมดุลเอนไซม์และฮอร์โมนในร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า การกินผักเป็นเรื่องที่มีผลดีต่อสุขภาพ และเป็นสิ่งที่กรมอนามัยให้การส่งเสริมมาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือปัญหาการตกค้างของสารเคมีในผักที่อาจเข้าไปสะสมในร่างกาย และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคต่อมไร้ท่อและโรคอื่นๆ เนื่องจากการเพาะปลูกของประเทศไทยในหลายพื้นที่ยังคงมีการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช และยังมีการตรวจพบการตกค้างของสารเคมีอยู่ในพืชผักอยู่เสมอ

ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า การกินผักเป็นเรื่องที่มีผลดีต่อสุขภาพ และเป็นสิ่งที่กรมอนามัยให้การส่งเสริมมาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือปัญหาการตกค้างของสารเคมีในผักที่อาจเข้าไปสะสมในร่างกาย และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคต่อมไร้ท่อและโรคอื่นๆ เนื่องจากการเพาะปลูกของประเทศไทยในหลายพื้นที่ยังคงมีการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช และยังมีการตรวจพบการตกค้างของสารเคมีอยู่ในพืชผักอยู่เสมอ

โดยเฉพาะผักสด 10 ชนิดที่จำหน่ายในท้องตลาดที่พบว่ามีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่สูง ได้แก่ 1. กวางตุ้ง 2. คะน้า 3. ถั่วฝักยาว 4. พริก 5. แตงกวา 6. กะหล่ำปลี 7. ผักกาดขาวปลี 8. ผักบุ้งจีน 9. มะเขือ 10. ผักชี อีกทั้งยังมีการตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้ออีโคไลและเชื้อซาลโมเนลลา ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษในผักที่นิยมรับประทานเป็นผักแกล้มแบบสดๆ เช่น ผักกาดหอม ต้นหอม ผักชี กะหล่ำปลี ผักชีฝรั่ง โหระพา สะระแหน่ ใบบัวบก ถั่วพู แตงกวา ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ในการเพาะปลูก โดยเชื้อเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในลำไส้ของสัตว์และถูกขับถ่ายออกมากับมูลของสัตว์ เมื่อนำปุ๋ยจากมูลสัตว์มาใช้ในการเกษตร เชื้อโรคนี้ก็อาจปนเปื้อนในผลผลิตได้

ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคคำนึงถึงความปลอดภัยในการกินผัก เทศกาลกินเจปีนี้ จึงรณรงค์ภายใต้แนวคิด "กินผัก อย่างไรปลอดภัยปลอดโรค" โดยก่อนกินหรือนำผักมาปรุงอาหาร ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างหรือการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ให้ล้างผ่านน้ำก๊อกที่ไหลนาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมเกลือ หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชู ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที หรือแช่ในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 กะละมัง หรือน้ำประมาณ 4 ลิตร จากนั้นนำผักมาล้างน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้ง สำหรับผักบางชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปล้างน้ำหลายๆ ครั้ง และคลี่ใบถูหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านอย่างน้อย 2 นาที

นอกจากนี้ ตามนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารของกรมอนามัย ได้เสนอตลาดยิ่งเจริญโดยการจัดให้มี "เครื่องล้างผักปลอดสารพิษ" สำหรับให้บริการแก่ลูกค้าในการนำผักมาล้างได้ฟรี นับเป็นตลาดสดมาตรฐานแห่งแรกที่ให้ความสำคัญและใส่ใจในสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคอย่างแท้จริง และยังเป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคใส่ใจการล้างผักทุกครั้งก่อนที่จะนำไปกินหรือปรุงอาหาร จึงขอยกให้ "เครื่องล้างผักปลอดสารพิษ" นี้ เป็นยิ่งเจริญโมเดล นวัตกรรมต้นแบบเพื่อการส่งเสริมสุขภาพของคนไทย นับเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ตลาดสดอื่นๆ ที่จะนำต้นแบบนี้ไปใช้ โดยทางกรมอนามัยยินดีที่จะเป็นหน่วยงานกลางในการประสานถ่ายทอดองค์ความรู้หรือติดต่อข้อมูลให้

Credit: http://news.truelife.com/
23 ก.ย. 57 เวลา 20:33 1,879 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...