ระวัง! "ยุงลายเสือ" ที่สุดสัตว์ร้ายอันตรายอันดับโลก!

สำหรับสัตว์อันตรายที่ ไม่ควรมองข้ามอย่างยุง ที่เป็นพาหะนำโรคร้ายสู่มนุษย์ อย่างโรคไข้เลือดออก ที่คร่าคนมามากกว่าสองล้านคนทั่วโลกในแต่ละปีเลยทีเดียวจึงจัดให้ยุงเป็นสัตว์อันตรายระดับโลก และยังนำมาซึ่งเชื้อไข้มาลาเรียและไวรัสไข้เลือดออก  ที่แพร่กระจายอยู่ในตอนนี้ ยุงลายเสือจึงเป็นยุงที่มีความอันตรายในระดับต้นๆอีกด้วย 


          ยุงลายเสือ หรือ ยุงเสือ หรือ ยุงแมนโซเนีย (Mansonia) เป็นหนึ่งในยุงที่มีอยู่อย่างน้อย 412 ชนิดในประเทศไทย เป็นยุงขนาดใหญ่ 
เส้นปีกมีเกล็ดใหญ่สีอ่อนสลับเข้มปกคลุม บางชนิดมีสีเหลือง ขาวสลับดำคล้ายลายของเสือโคร่ง เช่น Ma.uniformis 
บางชนิดมีลายออกเขียวคล้ายตุ๊กแก เช่น Ma.annulifera ขาลายเป็นปล้องๆ บริเวณขามีสีแบบตกกระ มีแถบขาวล้อมรอบ
            ตรงส่วนปลายของท้องมีลักษณะเป็น 3 พู แต่ละพูมีขนยาว 1 กระจุก ยุงลายเสือหายใจผ่านทางท่อหายใจที่มีความแข็งแรงและแทงผ่านทะลุรากพืชหรือลำต้นของพืชน้ำได้ เพื่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน โดยยุงลายเสือจะรับเอาออกซิเจนจากรากหรือลำต้นพืชน้ำเวลาหากิน




            
ยุงลายเสือมีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่ง หรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง มันกัดกินเลือดของสัตว์และคน ออกหากินเวลากลางคืน แต่ถ้าไปอยู่แถวแหล่งของมันในเวลากลางวัน มันก็กัดได้เหมือนกัน ยุงลายเสือเป็นพาหะของโรคเท้าช้างจากเชื้อไมโคร ฟิลาเรีย ที่พบมากบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส และบริเวณชายแดนไทย – พม่า

            เมื่อยุงลายกัดคนที่มีเชื้อไมโครฟิลาเรีย ซึ่งเป็นหนอนพยาธิตัวกลม (มีลักษณะคล้ายเส้นด้าย อาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน) และดูดเลือดที่มีพยาธินี้เข้าไป ไมโครฟิลาเรียจะเข้าไปเจริญอยู่ในตัวยุงนานประมาณ 7 – 14 วัน จนเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และจะเคลื่อนที่เข้าสู่ปากยุง เมื่อยุงมากัดคน ตัวอ่อนระยะติดต่อนี้จะไชผ่านผิวหนังบริเวณแผลที่ยุงกัด และเข้าไปเจริญและเพิ่มจำนวนในคน ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดโรคเท้าช้าง

            คนที่มีอาการมักถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง อาการในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมและท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อเยื่อภายใน รวมทั้งปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวรและผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมีลักษณะขรุขระ

            ดังนั้นการป้องกันยุงกัดเป็นวิธีที่สามารถลดความรำคาญที่เกิดจากยุง และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ ทำได้หลายวิธี เช่น นอนในมุ้ง ติดตั้งมุ้งลวด สุมควันไฟไล่ยุง จุดยากันยุง  หรือ ใช้สเปย์ไล่ยุง ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อความปลอดภัยจากสารเคมีสำหรับผู้ใช้ อย่าง Kayari ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติถึง 99% หรือ ทาสารเคมีไล่ยุง เช่น น้ำมันตะไคร้หอม ทั้งนี้ต้องควบคุมและกำจัดยุงพาหะโดยพ่นสารเคมีกำจัดยุงตามฝาผนังบ้าน กำจัดลูกน้ำตามแหล่งต่างๆ กำจัดวัชพืชและพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำในแหล่งน้ำด้วยอีกทางหนึ่ง เพื่อให้ปัญหาไข้เลือดออกหมดไป

การติดมุ้งลวดตามหน้าต่างประตู ก็ช่วยกันยุงได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน

"สารไพริทรินส์" จากดอก "ไพรีทรัมส์" สารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยในการไล่ยุง

จุดยากันยุงเพื่อให้กลิ่นไล่ยุง ป้องกันการโดนยุงกัดในระยะเวลาต่างๆ ที่อยู่ในบ้าน หรือกิจกรรมกลางแจ้งในเวลากลางคืน 

Credit: PostJung
#ยุงลายเสือ
PatPuch
นักแสดงนำ
สมาชิก VIP
2 ก.ย. 57 เวลา 09:33 4,764
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...