อย. ยัน ไม่มีน้ำว่านหางจระเข้รักษาอีโบลาได้

น้ำว่านหางจระเข้ รักษาอีโบลาไม่ได้

 
อย. เตือนอย่าหลงเชื่อน้ำว่านหางจระเข้รักษาอีโบล่าได้ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

          อย. เตือน อย่าหลงเชื่อน้ำว่านหางจระเข้ที่โฆษณาแพร่ทางโลกออนไลน์ว่ารักษาอีโบลาได้ พร้อมรุดตรวจสอบ เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยแล้ว          เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์น้ำว่านหางจระเข้ S VERA ทางสื่อออนไลน์ ว่ามีการให้ข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถใช้รักษาอาการโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอีโบลาได้นั้น           สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผลิตภัณฑ์น้ำว่านหางจระเข้ S VERA มาขออนุญาตกับ อย.ในลักษณะเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ผลิตโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอก อโล ตั้งอยู่เลขที่ 23/1 หมู่ 7 ถนนมาลัยแมน ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จัดจำหน่ายโดย บริษัท ซัคเซส เมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 10/1-2 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ           ทั้งนี้ อย. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม จึงได้ตรวจสอบทั้งผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ว่าเป็นการโฆษณาโดยสมาชิกขายตรง ทางบริษัทฯ ไม่ทราบเรื่องแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ น้ำว่านหางจระเข้ S VERA ส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยตามประกาศฯ เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานความปลอดภัย และยาสเตรอยด์ที่อาจมีการลักลอบใส่ต่อไป          เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า น้ำว่านหางจระเข้ในเบื้องต้นเมื่อดูจากสูตรส่วนประกอบแล้ว และจดทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารไม่สามารถรักษาโรคได้ หากมีผู้หลงเชื่อซื้อมาบริโภคโดยหวังผลการรักษาโรคอาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาโรค จึงขอเตือนประชาชนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาโดยทางโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ข้อความส่งต่อ ๆ กัน ซึ่งอาจทำให้หลงเชื่อและเข้าใจผิดว่าน้ำว่านหางจระเข้จะรักษาโรคอีโบลาได้           อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยาตัวใดรักษาโรคดังกล่าวได้ เพียงอยู่ในขั้นของการทดลองเท่านั้น หากผู้บริโภคพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดเกินจริง หรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ร้องเรียนที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะได้ดำเนินการปราบปราม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป ขอขอบคุณข้อมูลจาก


  ติดตามข่าวเชื้ออีโบลา แบบอัพเดตทั้งหมด คลิกเลย
 




 ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Credit: http://health.kapook.com/view95818.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...