นาทีนี้แม้การใช้งานแผ่นฟล็อปOดิสก์หรือ floppy disk ขนาด 3.5 นิ้วจะน้อยมากอยู่แล้ว แต่การประกาศหยุดสายพานการผลิตอย่างเป็นทางการในประเทศญี่ปุ่นของโซนี่ (Sony) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับกลายเป็นสัญญาณการอวสานของรูปแบบการเก็บข้อมูลบนแผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วที่เป็นรูปธรรมที่สุด
รายงานจากสำนักข่าวซีเน็ตระบุว่า แม้โซนี่จะยกเลิกการผลิตแผ่นดิสก์เก็บข้อมูลหรือที่เรียกกันว่าฟล็อปOดิสก์ในสหรัฐฯมานานระยะหนึ่งแล้ว และเดินเครื่องผลิตหน่วยเก็บข้อมูลที่เป็นแฟลชเมมโมรี่อย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่ที่ผ่านมา โซนี่ก็ยังสามารถจำหน่ายฟล็อปOดิสก์ไปได้ถึง 12 ล้านชิ้นต่อปี (ข้อมูลผลประกอบการปีการเงิน 2009 ที่ผ่านมา)
ปัจจุบัน โซนี่คือเจ้าของส่วนแบ่งตลาด 70% ของตลาดฟล็อปOดิสก์ขนาด 1.44MB ตัวเลขยอดขาย 12 ล้านชิ้นนั้นเป็นเลขที่ลดลงจากยอดขาย 47 ล้านแผ่นซึ่งโซนี่เคยทำได้เมื่อปีการเงิน 2002 โดยรายงานจากสื่อญี่ปุ่นระบุว่า โซนี่จะหยุดการขายฟล็อปOดิสก์ทั้งหมดในเดือนมีนาคม 2011
การตัดสินใจหยุดผลิตฟล็อปOดิสก์ของโซนี่ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากโซนี่มีดีกรีเป็นผู้นำร่องชิมลางตลาดแผ่นดิสก์ 3.5 นิ้วเป็นรายแรกตั้งแต่ปี 1981 เพื่อทดแทนตลาดแผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว ตั้งแต่นั้นมา โซนี่ต้องยืนหยัดแข่งขันกับหน่วยเก็บข้อมูลที่มีขนาดเล็กและมีความจุมากกว่า เช่น ยูเอสบีไดร์ฟ (USB) รวมถึงมาตรฐานแผ่นซีดี (CD) ทั้งแบบที่เขียนทับได้และไม่ได้ รวมถึงดีวีดี (DVD) ซึ่งให้ความจุมหาศาล โดยทั้งหมดสามารถกินตลาดฟล็อปOดิสก์ไปได้อย่างถล่มทลาย
ส่วนสำคัญที่ทำให้ตลาดฟล็อปOดิสก์จางหายไปจากโลกไอที คือการเลิกสนับสนุนรูปแบบการใช้งานหน่วยเก็บข้อมูลชนิดนี้ของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยแอปเปิลเป็นรายแรกที่เลิกติดตั้งไดร์ฟอ่านเขียนฟล็อปOดิสก์อย่างครบวงจร ก่อนที่เดลล์ (Dell) จะเลิกรองรับฟล็อปOดิสก์ตามมาในปี 2003 จนทำให้ผู้ผลิตรายอื่นๆตัดสินใจเดินตามในที่สุด