สำหรับหลุมแห่งใหม่ในคาบสมุทรยามาล เป็นหลุมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 15 เมตร ในเขตทาซ ใกล้หมู่บ้านอันติปายูตา สภาพรอบ ๆ ปากหลุมมีดินปกคลุมราวกับถูกระเบิดออกมาจากใต้ดิน โดยชาวบ้านในพื้นที่เผยว่า หลุมแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2556 ขณะที่หลุมอีกแห่งในคาบสมุทรเทย์เมียร์ ภูมิภาคทางตอนเหนือของรัสเซีย มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 13 ฟุต และลึกราว 60-100 เมตร
ทั้งนี้ แม้ว่าหลุมใหม่ที่พบทั้ง 2 แห่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าหลุมที่พบในไซบีเรียก่อนหน้านี้ แต่สภาพหลุมก็มีลักษณะที่คล้ายกัน และนับเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของนักวิทยาศาสตร์รัสเซียเลยทีเดียว ซึ่งท่ามกลางทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายในขณะนี้ ทั้งอุกกบาตตกใส่โลก มีการยิงจรวจใส่ มีคนสร้างขึ้นขำ ๆ หรือเป็นฝีมือเอเลี่ยนนั้น มารินา ลิบแมน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเอิร์ทธไคโซเฟีย ก็ได้ชี้ว่านักวทิยาศาสตร์จะต้องทำการศึกษาถึงการก่อตั้วทั้งหมด เพื่อให้สามารถทำนายได้ถึงช่วงเวลาในการเกิดขึ้นของหลุม
แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยา นิเวศวิทยา และประวัติศาสตร์ จะยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าหลุมเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรก็ตาม แต่หนึ่งในทฤษฎีที่ถูกหยิบมาพูดถึงอย่างมากในขณะนี้ก็คือ pingo หรือการเกิดก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ฝังอยู่ใต้ดิน จนพื้นที่ดังกล่าวเกิดเป็นหลุมขึ้นเมื่อน้ำแข็งละลายนั่นเอง
อ้างอิง ข่าวที่มา ข่าวจากkapook