9 สูตรชงเหล้าต้องห้าม อันตรายถึงชีวิต

 

 

 

 

 

ใครที่เป็นคอปาร์ตี้กินดื่มแล้ว ต้องฟังทางนี้ หากคุณคิดจะดื่มกันทั้งที ก็ต้องดูแลสุขภาพกันด้วย เพราะหากยังชวนกันเมาแบบไม่ลืมหูลืมตาก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย เพราะยังมีความลับเกี่ยวกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อีกมากที่หลายคนยังไม่รู้ ฉะนั้นเราเลยรวบรวมสูตรเหล้าต้องห้ามที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตมาให้ได้อ่านกันดังนี้

1. เหล้าผสมไดเอทโค้ก (Diet Coke) หรือ น้ำอัดลมแคลอรี่ต่ำ
ไดเอทโค้ก (Diet Coke) หรือ เครื่องดื่มน้ำอัดลมแคลอรี่ต่ำ เป็นเครื่องดื่มที่ผสมด้วยสารให้ความหวานเทียม สำหรับคนที่กลัวอ้วนโดยเฉพาะ แต่มีผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นเคนตักกี้ (Northern Kentucky University) พบว่า คนที่ดื่มสุราอย่างหนัก พร้อมกับผสมด้วยเครื่องดื่มน้ำอัดลมแคลอรี่ต่ำ จะพบปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ในระดับที่สูงกว่าคนที่ดื่มสุราโดยไม่ผสมเครื่องดื่มเหล่านี้เลย 18 เปอร์เซนต์ และยังพบอีกว่า ผู้ที่ดื่มสุราผสมเครื่องดื่มแคลอรี่ต่ำจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
แม้ว่าจะเป็นเครื่องดื่มผสมสารให้ความหวานเทียมก็ตาม ผู้ที่ดื่มในปริมาณมากจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้เร็วกว่าและมากกว่าคนไม่ดื่มถึง 57 เปอร์เซ็นต์

 

2. เครื่องดื่มชูกำลัง / ว๊อดก้า 
คาเฟอีนปริมาณสูงในเครื่องดื่มชูกำลัง มีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นสารที่ไปกระตุ้นการเต้นของหัวใจ และกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ไม่ง่วงเหงาหาวนอน และรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
ปัจจุบันมีสูตรเครื่องดื่มที่ฮิตในหมู่วัยรุ่น คือ เอาเหล้าว๊อดก้ามาผสมกับเครื่องดื่มชูกำลัง โดยอ้างว่าจะช่วยให้มีพลัง ตาค้างทั้งคืน และช่วยแก้อาการแฮงค์ได้ แต่จริงๆ แล้วเครื่องดื่มชนิดนี้เป็นอันตรายมาก เนื่องจากฤทธิ์ที่ขัดแย้งกันของแอลกอฮอล์ที่ออกยับยั้งประสาทตรงข้ามกับฤทธิ์กระตุ้นประสาทจากคาเฟอีนในเครื่องดื่มชูกำลัง ทำให้ผู้ดื่มมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดในสมองแตก หรือระบบประสาททำงานผิดปกติ เพราะมันจะไปทำลายสมองโดยตรงแม้ตะตาสว่าง แต่สมองดับไปแล้ว มีสภาพเหมือนผีดิบนานวันเข้าจะพาลสมองเสื่อมได้

 

3. เหล้าสีน้ำตาล (Brown Booze)
เหล้าสีขาวเป็นเหล้าที่ได้มาจากธรรมชาติ พืชพันธ์ รากไม้ ผลไม้ สมุนไพรต่างๆ เป็นต้นผ่านกระบวนการหมัก มีพิษเล็กน้อย แต่เหล้าสีเข้มอย่างเช่น สก๊อตวิสกี้ (Scotch Whisky) และ เบอร์เบิ้นวิสกี้ (Bourbon Whiskey) คือสุรากลั่นที่ทำจากข้าวหรือข้าวข้าวโพดหรือ Grain ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิดก็ได้โดยนำมาหมักแล้วกลั่นให้มีดีกรีสูงขึ้น จากนั้นนำไปเก็บบ่มในถังไม้โอ๊กเพื่อให้ได้สี กลิ่น รสที่ดีขึ้น แต่ก่อนจะนำมาบรรจุขวด บางชนิดยังนำไปปรุงแต่ง สี กลิ่น รสอีกครั้ง เพื่อให้ได้มาตรฐานตามความนิยมของผู้บริโภค ยิ่งสีเข้มเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้คุณแฮงค์มากขึ้นเท่านั้น

4. ค็อกเทลจุดไฟ
"เหล้าร้อน" ที่ดื่มแล้ว "เร่าร้อน" รสชาติร้อนแรง กลิ่นหอมยั่วยวน ในสมัยก่อนจะดื่มเพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย ดื่มกินพื่อแก้หนาว โดยนิยมนำเหล้ามาอุ่นให้ร้อนก่อนแล้วค่อยดื่ม ในปัจจุบัน จะพบเห็นเหล้าร้อน นี้ได้จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ ค็อกเทล ประเภทติดไฟ ได้มีการวิจัยแล้วได้พบว่า “การดื่มเครื่องดื่มประเภท : แอลกอฮอล์ + ไฟ = อันตราย” มีผลทำให้ ริมฝีปาก คาง และบริเวณหน้าอก แสบร้อนและได้รับความทรมานจากการเผาไหม้ภายหลังที่พวกเขาดื่มเครื่องดื่มติดไฟไปแค่ไม่กี่ชอต นอกจากนี้ หากนักดื่มกินทั้งหลายเกิดคึกคะนองอย่างเล่นสนุกพ่นไฟออกมา ก็อาจเกิดอันตรายแก่ตนเองและผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้ อย่างที่เราเคยได้ยินข่าวอุบัติเหตุจากเครื่องดื่มประเภทนี้มาแล้ว

 

5. เหล้าปลอม
การดื่มสุราปลอมนั้นอันตรายกว่าสุราจริงหลายเท่า สุราโดยทั่วไปคือเครื่องดื่มที่มี "เอทิลแอลกอฮอล์" ผสมอยู่ โดยจะผลิตจากวัตถุดิบที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลนำมาหมัก เติมยีสต์ลงไปเพื่อให้ยีสต์กินน้ำตาลที่อยู่ในวัตถุดิบ แล้วเปลี่ยนให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าว ผลไม้ สมุนไพร หรือแม้กระทั่งนม แต่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปลอม มักจะใช้ "เมทิลแอลกอฮอล์" มาผลิตแทน เมทิลแอลกอฮอล์ หรือเมทานอล เป็นแอลกอฮอล์ชนิดที่ผลิตได้จากการสังเคราะห์ระหว่าง คาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจนภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรม เช่น สีทาไม้และน้ำมันเคลือบเงา หมึกพิมพ์ เป็นต้น เมื่อร่างกายรับเอาเมทานอลเข้าไปจะเกิดการสลายตัวเป็นกรดฟอร์มิก หรือฟอร์มัลดีไฮด์ (น้ำยาดองศพ) ในร่างกายจะออกฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนของจอตาทำให้ตาบอด ซึ่งเป็นการทำลายแบบถาวร

 

6. ยากับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
"ดื่มเหล้าแล้วไม่ควรกินยา" ยาทุกชนิดมีส่วนในการที่รักษาโรค แล้วก็มีสารพิษด้วย ถ้ากินยาหลังจากที่ได้ดื่มเหล้า แอลกอฮอล์ก็จะทำให้ผลแทรกซ้อนของยาแรงขึ้น และขยายบทบาทความเป็นพิษของยาด้วย
ยกตัวอย่าง กินยาระงับท้องเสียในกรณีที่แอลกอฮอล์ในท้องยังไม่ย่อยสลายหมด ก็จะเกิดอาการจังหวะหัวใจเต้นผิดปกติและความดันโลหิตสูงขึ้น กินยานอนหลับ ยารักษาโรคภูมิแพ้หรือยาลดความดันโลหิตหลังจากที่ได้ดื่มเหล้า
ผลการยับยั้งสมองของยาจะขยายขึ้น บทบาทการรักษาโรคของยาเหล่านี้ก็จะแรงขึ้น มีความเป็นไปได้ที่จะเกินความอดทนของร่างกายจนเป็นอันตรายต่อผู้กินยา คุณหมอเน้นพิเศษว่า คนชราหรือคนที่สุขภาพอ่อนแอที่มีโรคเรื้อรังของหัวใจ ตับและไตนั้น ควรหลีกเลี่ยงการกินยาหลังดื่มเหล้าอย่างยิ่ง

 

7. ทุเรียนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เรามักได้ยินผู้ใหญ่เตือนอยู่บ่อยๆ ว่าอย่ากินทุเรียนมากเกินไป เพราะจะทำให้เป็นร้อนใน ซึ่งจริงๆ แล้วทุเรียนมีปริมาณน้ำตาลและไขมันสูง หากกินมากเกินไปจะทำให้ได้รับพลังงานมาก ซึ่งกระบวนการย่อยสลายสารต่างๆ ทั้งน้ำตาลและไขมันจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นในร่างกายและอาจทำให้เกิดอาการขาดน้ำ ห้ามกินทุเรียนคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ เพราะในทุเรียนมีสารกำมะถันอยู่มาก สามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ ถ้ากินทุเรียนคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลให้แอลกอฮอล์ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วขึ้น ทำให้เมาเร็วและเมาหนัก เกิดความผิดปกติต่อระบบหายใจ เกิดอาการร้อนใน แน่นอก ขาดน้ำและอาจเสียชีวิต

 

8. เครื่องดื่มบรรจุกระป๋อง
คนทั่วไปทราบกันอยู่แล้วว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลต่อการถูกทำลายของตับซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญอย่างยิ่งภายในร่างกายของคนเรา โดยเฉพาะเมื่อมีการวิจัยชิ้นใหม่ออกมาพบว่าการบรรจุของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในกระป๋องเป็นประจำจะทำให้เกิดเป็นโรคไขมันพอกตับซึ่งเป็นอันตรายยิ่งกว่า โดยให้เหตุผลว่า เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องเหล่านี้มีส่วนผสมของน้ำตาลอยู่จำนวนมากซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคดังกล่าว คำแนะนำของผู้ศึกษาเรื่องนี้ คือ นักวิทยาศาสตร์ชาวอิสราเอล อธิบายว่า เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องอย่าง น้ำผลไม้กระป๋องจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันพอกตับ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่มถึง 5 เท่า โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการถูกทำลายของตับพอๆ กับการป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจเลยทีเดียว ในกรณีที่ได้ดื่มถึง 2 กระป๋องต่อวันจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคไขมันพอกตับถึง 80 เปอร์เซนต์ แต่ผู้ที่ไม่ได้ดื่มโอกาสเสี่ยงเหลือเพียง 17 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

 

9. ดื่มแอลกอฮอล์แก้หนาว
คนที่เชื่อตามคำบอกเล่าของคนอื่นผนวกกับความรู้สึกของตัวเองว่า ร่างกายดูเหมือนจะรู้สึกอบอุ่นขึ้นมาทันทีเมื่อได้ดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป แต่ก็มีงานวิจัยหลายต่อหลายการวิจัยที่มีออกมาในรอบหลายปีที่ผ่านมายังยืนยันตรงกันว่า แอลกอฮอล์ที่ใครหลายคนยกย่องให้เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมที่สุดกับสภาวะอากาศหนาวนั้น แท้จริงแล้วเพียงแค่ทำให้ผู้ดื่มแค่รู้สึกถึงความอบอุ่นที่ผิวกายเท่านั้น แต่ที่ไม่รู้สึกตัวกันก็คืออุณหภูมิที่ลดต่ำลงภายในแกนกลางร่างกายแอลกอฮอล์จึงไม่ใช่วิธีที่ดีที่จะทำให้ร่างกายรู้สึก "อุ่น" แต่กลับทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง โดยเพิ่มอุณหภูมิ (เล็กน้อย) ที่ผิวหนัง (ดูได้จากการหน้าแดง ดูมีเลือดฝาด) สุดท้ายอาจเกิดภาวะ Hypothermia ได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะภายในร่างกายและหากรุนแรงก็ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

 

ที่มา: radradio.becteroradio.com
 
Credit: http://board.postjung.com/791870.html#
27 ก.ค. 57 เวลา 19:42 7,648 1 130
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...