ไมโครชิบยาคุม สั่งการด้วยระบบWIRELESS ตั้งคุมก็ได้ ตั้งท้องก็ได้ด้วยตนเอง

 

 

 

 

 

ใหม่ไมโครชิบยาคุมสั่งการด้วยระบบ wireless         

          รู้หรือไม่ว่า ?  ตอนนี้ในโลกมีไมโครชิปบรรจุยาที่สามารถนำไปฝังไว้ใต้ผิวหนังได้ ซึ่งยาขนาดต่างๆเหล่านี้และฮอร์โมนคุมกำเนิดจะถูกนำส่งเข้าสู่ร่างกายได้ในเวลาเดิมของทุกๆวัน ไมโครชิปเหล่านี้ถูกออกแบบให้มีตัวควบคุมบังคับโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

และสิ่งที่สำคัญคือไมโครชิปแต่ละอันสามารถบอกได้ว่ามีผลข้างเคียงจากยาหรือไม่ เพราะไมโครชิปแต่ละอันลงโปรแกรมการปลดปล่อยตัวยาไว้ในแต่ละวันแต่ละปีตามแพทย์กำหนด

          เทคโนโลยีตัวกักเก็บขนาดไมครอน รวมทั้งการฝังชิปที่ออกแบบให้มีการปล่อยยาเข้าสู่ร่างกายโดยสัญญาณ wireless ถูกพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกที่สถาบันทางเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ทของหรัฐอเมริกาในปีค.ศ. 1990 เทคโนโลยีนี้บุกเบิกโดย Robert Langer Michael Cima และ John Santini  ซึ่งขณะนี้อยู่ในนามของบริษัท MicroChips ในสหรัฐอเมริกา

          ประธานของบริษัทกล่าวว่าขณะนี้ไมโครชิปมีความปลอดภัยทั้งในการที่จะใช้เทคโนโลยีนำส่งยาระยะยาวโดยการฝังไมโครชิปและควบคุมด้วยสัญญาณสื่อสาร wireless การทดสอบการฝังไมโครชิปนี้จะเสนอในวงการทางยาในปี 2017 เพื่อให้บริการด้านยาคุมกำเนิด ชิปจะถูกฝังเข้าไปอยู่ใต้ผิวหนังโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ซึ่งครั้งแรกจะเป็นการนำส่งฮอร์โมนคุมกำเนิดโปรเจสตินและเอสโตรเจน 

ก่อนหน้านี้มีการศึกษาทางคลินิกการนำส่งยารักษาโรคกระดูกพรุนให้สามารถคงอยู่ในร่างกายได้นานถึง 4 เดือน

          การศึกษาวิจัยทางคลินิกทำขึ้นครั้งแรกในปี 2012 ในการรักษาโรคกระดูกพรุนโดยใช้เทคโนโลยีการให้ยาทางไมโครชิป ชิปจะทำการนำส่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์1-34 (PTH) สารเสริมสร้างที่รู้จักกันในชื่อ teriparatide เข้าสู่กระแสโลหิตของคนไข้โรคกระดูกพรุน ชิปจะถูกฝังใต้ผิวหนังบริเวณข้อมือของผู้ป่วยและนำส่ง PTH ตามปริมาณที่กำหนดเป็นเวลา 4 เดือน ทางการแพทย์พบว่ามีความปลอดภัยและเทคนิคการฝังนี้สามารถทำได้ต่อไป

และล่าสุดพบว่าไมโครชิปที่พัฒนาขึ้นใหม่สามารถนำส่งยาในร่างกายได้นานมากกว่า 16 ปี

          ตามที่บริษัท MicroChips ได้ปล่อยการนำส่งยาแบบชิปมานาน 5 ปี และให้ผู้ใช้งานได้ควบคุมสั่งการให้ยาด้วยมือตัวเองโดยไม่ใช่การฉีดหรือการทานยาเม็ด บริษัทเชื่อว่าสามารถทำชิปที่สามารถนำส่งยาในปริมาณที่เข้าร่างกายได้นานกว่า 16 ปี โดยอุปกรณ์นี้สามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังโรงพยาบาล ดังนั้นแพทย์เจ้าของไข้สามารถบันทึกข้อมูลได้แม่นยำเมื่อคุณได้รับยา

          Bradley Paddock CEO ของบริษัทเชื่อว่าไมโครชิปแบบฝังที่นำส่งยานี้ เป็นความก้าวหน้าที่เยี่ยมที่สุดในการนำส่งยาเข้าสู่ร่างกายนับตั้งแต่ที่มีการพัฒนายาในรูปแบบยาเม็ดในปี 1876

เราได้มีการพัฒนาวิธีที่มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ไม่มีการรบกวน ไม่มีความน่ากลัวของการคุมกำเนิดมาหลายศตวรรษ แต่ระหว่างนี้ถุงยางอนามัยได้ฉีกกฎการคุมกำเนิดโดยยาเม็ดด้วยความที่ไม่มีผลข้างเคียง ซึ่งดูเหมือนว่ารูปแบบในการคุมกำเนิดอื่นๆจะมีแต่ข้อเสียเปรียบ 

         

          อย่างไรก็ตามความคิดที่ว่าแล้วอะไรเป็นทางเลือกที่ดีกว่าย่อมเกิดขึ้น ทางบริษัทจึงได้พัฒนาการฝังแบบควบคุมด้วยสัญญาณ wireless ซึ่งสามารถเปิดและปิดได้ง่ายๆผ่านรีโมทคอนโทรล เช่น ถ้าผู้หญิงคนหนึ่งพยายามที่จะมีครรภ์และต้องการหยุดการคุมกำเนิด คุณไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ยุ่งยากในการขอคำปรึกษาและเข้าพบสูตินารีแพทย์ คุณแค่เพียงปิดสวิตซ์ได้ง่ายๆเหมือนปรับเสียงทีวีเท่านั้น

          ตามเอกสารของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT:  Massachusetts Institute of Technology) ได้เคยระบุไว้ว่าอุปกรณ์ชิปฝังนี้มีขนาด 20 x 20 x 7 มิลลิเมตร และสามารถฝังเข้าไปใต้ท้องแขน บั้นท้าย หรือแม้กระทั่งท้องน้อย ความสำคัญอยู่ตรงที่การทำงานนั้นเหมือนๆกับการฝังยาคุมกำเนิดอย่างอิมพลานอน (Implanon) และเน็กซ์พลานอน (Nexplanon) โดยการปลดปล่อยฮอร์โมนคุมกำเนิดเลโวนอร์เจสเทรล (Levonorgestrel) ในปริมาณเล็กน้อยเข้าสู่กระแสโลหิตทุกวัน การฝังแบบนี้จะทำการปลดปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกายอัตโนมัติ ซึ่งมันมีข้อดีที่สำคัญกว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบทั่วไปซึ่งคุณสามารถบันทึกจำการให้ยาในเวลาเดิมทุกวันได้เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้รับยา 

          สิ่งที่ทำให้การฝังของบริษัท MiroChips นี้พิเศษขึ้นมาไม่เหมือนการฝังฮอร์โมนคุมกำเนิดใน 5 ปีที่ผ่านมาก็คือ ระยะเวลาในการปลดปล่อยยาเข้าสู่ร่างกายนั้นมากกว่า 16 ปี และยังสามารถควบคุมชิปที่ฝังได้ด้วย wireless ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคุณหรือแพทย์ก็สามารถปรับการให้ระดับฮอร์โมน หรือหยุดการให้ได้ทั้งสิ้น แม้ระยะทางจะห่างกันแค่ไหน และยังลดค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะต้องมาพบแพทย์อีกด้วย

          ผู้ผลิตกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบเพื่อให้พร้อมสำหรับใช้งานจริง โดยทำสัญญาณให้เสถียรและจะทดลองใช้จริงภายใต้การตรวจสอบของสำนักงานอาหารและยาสหรัฐ นอกจากนี้ยังต้องมีการรักษาความปลอดภัยข้อมูลในชิปจากแฮกเกอร์อีกด้วย หากประสบความสำเร็จจะจำหน่ายในปี 2018

"เพราะจากข้อมูลที่ได้มาก็ยังไม่มีรายละเอียดว่าการฝังไมโครชิปนั้นยังคงมีผลข้างเคียงจากยาเหมือนกับยาคุมกำเนิดอิมพลานอนและเน็กซ์พลานอนหรือไม่ เช่น อาการตกเลือด คลื่นไส้ และน้ำหนักตัวเพิ่ม แต่เรายังพอมีเวลาสำหรับการหาคำตอบในเรื่องเหล่านี้ก่อนที่บริษัท MicroChips จะวางอุปกรณ์จำหน่าย"


Credit: http://board.postjung.com/787574.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...