เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
โพลสำรวจพบ นักเรียนและนักศึกษาหญิงส่วนใหญ่เคยถูกคุกคามทางเพศในรูปแบบต่าง ๆ บนรถสาธารณะ และเห็นด้วยต่อโทษประหารชีวิตในคดีข่มขืน
วันนี้ (9 กรกฎาคม 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.กนิษฐา ไทยกล้า รองประธานมาสเตอร์โพล ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อนของนักเรียนนักศึกษาหญิงอายุ 12 ปีขึ้นไป ต่อคดีข่มขืนและการถูกคุกคามทางเพศ กรณีศึกษาตัวอย่างนักเรียน นักศึกษาหญิงผู้ใช้บริการรถขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ จำนวนทั้งสิ้น 459 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า
ร้อยละ 74.8 เคยถูกคุกคามทางเพศในรูปแบบต่าง ๆ เช่น พูดจาลวนลาม ใช้สายตา ถูกเนื้อต้องตัว พยายามสำเร็จความใคร่ จนถึงสำเร็จความใคร่ จากการใช้บริการรถขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า รถไฟ แท๊กซี่ รถเมล์ เป็นต้น
ร้อยละ 25.2 ไม่เคย
ส่วนความคิดเห็นต่อโทษประหารชีวิตในคดีข่มขืน พบว่า
ร้อยละ 99.6 เห็นด้วย
ร้อยละ 91.7 รู้สึกหวาดกลัวต่อปัญหาข่มขืนและการคุกคามทางเพศ
ร้อยละ 0.4 ไม่เห็นด้วย
สำหรับสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกเมื่ออยู่ในเหตุการณ์ถูกคุกคามทางเพศ พบว่า
ร้อยละ 67.0 โวยวาย ร้องขอให้คนพบเห็นช่วยเหลือให้ปลอดภัย
ร้อยละ 21.4 โทรหาพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อน
ร้อยละ 8.9 ถ่ายรูปใช้เทคโนโลยีเป็นหลักฐานส่งให้คนอื่นทราบ เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก มือถือ เป็นต้น
ร้อยละ 1.6 โทรหาตำรวจ 191
ร้อยละ 1.1 ระบุอื่น ๆ เช่น สังเกต บันทึกสภาพแวดล้อม ดูทางหนีเอาตัวรอด เป็นต้น
ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 92.4 ของนักเรียนนักศึกษาหญิง ระบุว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ช่วยได้ เป็นที่พึ่งได้ในการจัดระเบียบสังคม ป้องกันเหตุร้ายให้นักเรียนนักศึกษาหญิงปลอดภัย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก