เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
นักสิทธิฯ ไม่เห็นด้วย ข่มขืนต้องประหาร ชี้แก้ปัญหาไม่ถูกจุด ยกตัวอย่างฆ่าตัดตอน มองให้โอกาสกลับตัวสร้างโอกาสมากกว่า
จากกระแสสังคมที่เรียกร้องให้เพิ่มบทลงโทษ "ข่มขืนต้องประหาร" กรณีพนักงานรถไฟ "วันชัย แสงขาว" ลงมือฆ่าข่มขืนน้องแก้ม เหยื่อสาววัย 13 ปี ขณะหลับใหลบนรถไฟ ก่อนที่จะนำร่างของเหยื่อสาวพาดตรงหน้าต่างและผลักออกไปอย่างไม่ไยดี..
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ กล่าวในวันที่ 9 กรกฎาคม 2557 ว่า ส่วนตัวนั้นไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิตเพื่อลงโทษผู้กระทำ เพราะไม่อยากให้สังคมมีมุมมองว่าคนที่ผิดต้องตายตกตามกันไป และการฆ่าคนคนหนึ่งก็ไม่ใช่ว่าปัญหาจะถูกแก้ไข
โดยนางอังคณา ได้ยกตัวอย่างกรณีที่สมัยรัฐบาลในอดีตสมัยหนึ่ง เคยประกาศทำสงครามกับยาเสพติด ทำให้มีการฆ่าตัดตอนกันอย่างมากมาย มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,500 ศพ สนองนโยบายดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้ทำปัญหายาเสพติดหมดไปหรือลดลงเลย ตนมองว่าการให้โอกาสผู้กระทำผิดได้กลับตัวเป็นคนดี ยังมีโอกาสสร้างประโยชน์ได้มากกว่า
ทั้งนี้ หากเราศึกษาคดีข่มขืนที่เกิดขึ้น จะพบว่ามีสาเหตุที่นำไปสู่การก่อเหตุข่มขืนซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่เรื่องเมาสุรา ก็เรื่องยาเสพติด ซึ่งถ้าเราปรับทัศนคติคนในสังคมให้รู้สึกถึงคุณค่าของผู้หญิงหรือความเสมอภาคทางเพศ ต่อไปทุกคนก็คงอยู่ร่วมกันโดยให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ขณะเดียวกัน ในหลายประเทศมองว่าการฆ่าข่มขืนเข้าลักษณะความผิดเดียวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ต้องโทษประหารเท่านั้น แต่ก่อนที่ประเทศต่าง ๆ จะลงโทษผู้ต้องหาในอัตราสูงสุดนั้น ต้องผ่านการไต่สวนในกระบวนการยุติธรรมจนชัดเจนว่าเป็นการกระทำโดยสันดานจริง ๆ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก