กาแฟกับสุขภาพ

 

 

 

 

 

 
Photo by bubblews.com

เอ่ยถึง "กาแฟ" ต้องมีมากกว่าหนึ่งคนที่ชูมือสูงๆ ว่าชอบดื่มเหลือเกิน มินเองก็คือหนึ่งในนั้นค่ะ ดื่มมานานหลายปี จนแทบจะเรียกว่าติดเลยก็ว่าได้ หลายคนก็คงจะเหมือนกัน แต่ทราบกันไหมคะว่า กาแฟที่เราดื่มๆ กันนั้น หากดื่มอย่าง "พอดี" ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ยังมีผลที่ดีต่อสุขภาพร่างกายของเรา ในขณะเดียวกัน หากดื่ม "มากจนเกินไป" ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังป่วยเป็นโรคต่างๆ ค่ะ วันนี้มินจึงรวบรวมบทความดีๆ ที่เกี่ยวกับ กาแฟและ สุขภาพ ของเราๆ มาฝากกัน
 
ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟคือคาเฟอีน (caffeine) สามารถพบได้ในหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ ใบชา โกโก้ รวมถึง คาเฟอีน จะถูกผสมลงในน้ำอัดลม ยาแก้หวัดบางชนิด ยาแก้ปวด และยาลดน้ำหนัก
 
กาแฟ จะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วหลังจากที่เราดื่มเข้าไป และจะถูกขับออกไปครึ่งหนึ่งในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง กาแฟจะไม่สะสมในร่างกายโดยจะถูกทำลายและขับออกหมด ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีการขับถ่ายกาแฟมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ ดังนั้นคนที่สูบบุหรี่หากต้องการการกระตุ้นของกาแฟจะต้องดื่มกาแฟบ่อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ คนท้องและผู้ที่กินยาคุมกำเนิดจะมีการขับกาแฟน้อยกว่าคนทั่วไป กาแฟจะออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองทำให้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ากาแฟจะทำให้มีการหลั่งสาร cortisone และ adrenaline ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย
 
สำหรับปริมาณคาเฟอีนที่มีในเครื่องดื่มแต่ละชนิดนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้มข้น ตามตารางด้านล่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างปริมาณของกาแฟค่ะ
 
 
 
นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าวันหนึ่งๆ เราจะรับสารคาเฟอีน ได้ประมาณ 250-600 มก. ซึ่งไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย เท่ากับประมาณ 2-4 แก้ว (แก้วกาแฟแบบในบ้านนะคะ ไม่ใช่แก้วร้านสตาร์บัคส์ >.<)
 
ข้อดีของกาแฟ
 
กาแฟจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ไม่ง่วง สมาธิในการทำงานดีขึ้น ผู้ที่ดื่มกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอน มีสมาธิในการทำงาน และยังทำให้ความสามารถในการทำงานดีขึ้น และยังลดอาการปวดเมื่อยเนื่องจากไขหวัด
 
ช่วยกระตุ้นอวัยวะของร่างกายและเพิ่มการเผาผลาญไขมันและช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย กาแฟจะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆ ดังนั้นขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย ไม่ควรรับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟเพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ
 
ดื่มนานๆ จะติดกาแฟหรือไม่?
 
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าไม่มีหลักฐานว่ากาแฟจะเป็นสารซึ่งหากดื่มนานๆ แล้วจะเสพติด การดื่มกาแฟจะเป็นนิสัยมากกว่าเสพติด เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณของกาแฟ และเมื่อหยุดกาแฟบางคนก็เกิดอาการปวดหรือมึนศีรษะเพียงเล็กน้อย (มินเลยล่ะค่ะ อาการนี้)
 
ดื่มกาแฟแค่ไหนถึงจะเรียกว่ามากไป?
 
การดื่มกาแฟวันละ 2-4 แก้ว อาจจะไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ แต่หากดื่มมากไปอาจจะมีผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ หากดื่มกาแฟมากเกินไป 4-7 แก้ว อาจจะเกิดผลเสียอะไร อาทิ นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย สับสน อารมณ์แปรปวน คลื่นไส้อาเจียน ใจสั่นหรือหัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ วิตกกังวล เป็นต้น
 
กาแฟกับสุขภาพ
 
คนที่เป็นโรคหอบหืด มีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3 แก้วจะลดอาการหอบหืด และหากดื่มมากกว่า 6 แก้วการทดสอบสมรรถภาพปอดจะดีขึ้น
 
การดื่มกาแฟจะลดอาการง่วงนอน และทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และลดอุบัติเหตุขณะขับขี่

กาแฟช่วยลดอาการซึมเศร้าและคลายความวิตกกังวล

การดื่มกาแฟเป็นประจำจะลดอุบัติการณ์การเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และยังลดอุบัติการณ์ของนิ่วในถุงน้ำดี

มีหลักฐานพอจะเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อดื่มวันละ 4 แก้ว

กาแฟกับสุขภาพสตรี
 
กาแฟกับการตั้งครรภ์  สมาคมสูติของอเมริกาแนะนำสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ก็สามารถดื่มได้ไม่เกินวันละหนึ่งแก้วโดยไม่ทำให้คลอดก่อนกำหนด หรือเกิดอาการแท้ง แต่หากดื่มมากกว่านี้มีรายงานว่าอาจจะเกิดผลเสียต่อการตั้งครรภ์

กาแฟกับโรคกระดูกพรุน
 
ผู้ที่เกิดโรคกระดูกพรุนมักจะได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ แนะนำว่าควรจะดื่มนมบ้าง สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้วขึ้นไป
 
กาแฟกับโรคมะเร็ง
 
มีรายงานจาก World Cancer Research Fund ว่าการดื่มกาแฟปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง และมีรายงานกล่าวว่าการดื่มกาแฟมีผลดีต่อการป้องกันมะเร็งตับอ่อนเล็กน้อย รวมถึงอาจจะมีผลป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
 
กาแฟกับโรคหัวใจ
 
เท่ามีรายงานขณะนี้พบว่าการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วไม่มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ แต่สำหรับในคนปกติ การดื่มกาแฟวันละหนึ่งแก้ว จะช่วยให้หัวใจทำงานเป็นปกติ และเต้นอย่างสม่ำเสมอ
 
กาแฟกับความดันโลหิตสูง
 
สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรจะลดปริมาณกาแฟลงไม่เกินสองแก้วต่อวัน และควรจะงดดื่มในกรณีที่ความดันจะสูง เช่น การออกกำลังกาย การทำงานหนัก 
 
กาแฟกับโรคเบาหวาน
 
จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น 15 % กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ฮอร์โมน epinephrine เพิ่มสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน เพราะฉะนั้นควรงด หรือควรเลี่ยงไปเลยก็จะดีกว่าค่ะ
 
เหล่านี้ก็คือเรื่องราวความรู้ที่เกี่ยวกับ กาแฟและสุขภาพ ที่มินคิดว่า "คอกาแฟ" ก็ควรจะทราบกันไว้บ้างนะคะ เพื่อจะได้สำรวจตัวเองว่า เราเหมาะสมที่จะดื่มกาแฟในปริมาณมากน้อยแค่ไหน ถึงจะ "พอดี" และ "ดีพอ" กับร่างกายของเราค่ะ
 
และเพื่อเข้ากับบทความนี้ เมื่อพูดถึง "คาเฟอีน" ที่มินโปรดปรานแล้วนั้น มินจะนึกถึงเพลง Caffeine ของโยซอบ BEAST ด้านล่างนี้เสมอๆ เลยล่ะค่ะ ^^
 
 
 
 
Credit: http://seoulcafe2013.blogspot.com/search/label/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F
8 ก.ค. 57 เวลา 20:21 1,296 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...