ชมผลงานศิลปะแสนล้ำลึกของ “มนุษย์ล่องหน” แดนมังกร

ชมผลงานศิลปะแสนล้ำลึกของ “มนุษย์ล่องหน” แดนมังกร


       เอเจนซี - ผลงานแสนบรรเจิดของ “มนุษย์ล่องหน” ที่ไม่ได้โชว์แค่ความโดดเด่นแปลกใหม่ แต่ยังเป็นกระจกเงาสะท้อนสภาพสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ของดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยปิดตัวอยู่หลังม่านไม้ไผ่ ก่อนสยายปีกโผบินเป็นพญามังกรดังเช่นทุกวันนี้
       
       มุมจีนขอนำเสนอผล งานศิลป์ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และพรสวรรค์ของ หลิว ปัวหลิน ศิลปินจีนผู้ได้รับฉายา “มนุษย์ล่องหน” (The invisible man) โดยคราวนี้เป็น 10 ภาพจากผลงาน “หลบซ่อนในเมืองใหญ่” (Hiding in the City) ซึ่งยังไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน จะมาสะกดทุกสายตาให้ร่วมค้นหาความหมายที่ซุกซ่อนอยู่ ไม่ต่างจากหลิวที่อำพรางตัวได้แนบเนียนจนแทบไม่น่าเชื่อ
       
       ทั้ง นี้ หลิว ปัวหลิน วัย 40 ปี เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ปิดสตูดิโอศิลปะของเขาในปี 2548 และกดดันการทำงานของศิลปินคนอื่นๆ ซึ่งเขาคิดว่ามันไม่เหมาะสมกับสังคมยุคนี้แล้ว
       
       เขา จึงเริ่มการประท้วงอย่างแตกต่าง ด้วยศิลปินย่อมเชื่อและศรัทธาในพลังของศิลปะ ซึ่งหลิวกล่าวว่า "ศิลปะของเขาเป็นการแสดงออกเพื่อประท้วงอย่างสันติและสร้างสรรค์ด้วยการพราง ตัวเข้ากับทุกสภาพแวดล้อม เพื่อที่จะสะท้อนความไม่มีอยู่ในตัวตนของเขา" ศิลปะ หมายเลข 1 – สำหรับผลงานชิ้นนี้หลิวปิดซ่อนตัวเองในภาพวาดของแจ็คสัน พอลล็อค “พอลล็อคเป็นศิลปินที่ยอดเยี่ยม ผมชอบองค์ประกอบภาพซึ่งมันชัดเจนและไร้การควบคุม” หลิวกล่าว “ผมเลือกซ่อนอยู่ในภาพวาดนี้เพื่อเป็นการอุทิศแก่ผลงาน และหวังว่าผมจะได้รับแรงบันดาลใจบางอย่างจากมัน”         เป่ยจิง กราฟิตี้ หมายเลข 1 – จากศิลปะอเมริกันแบบลัทธิแสดงพลังอารมณ์ (Expressionism) ที่เน้นแสวงหาความหมายของความมีชีวิตชีวาและประสบการณ์ทางอารมณ์แทนความเป็น จริงทางวัตถุ สู่ศิลปะริมถนน หรือสตรีทอาร์ต (Street Art) บนแผ่นดินจีน         ลูกโป่ง - “โลกแห่งความเป็นจริงดูเหมือนคุกจองจำความคิดสร้างสรรค์ของมวลมนุษยชาติ” คำจำกัดความเหตุผลที่หลิวเลือกหลบซ่อนตัวเองอยู่ในฉากหลังนี้         กำแพงข้อมูล – ถ้าฉากหลังนั้นเรียบง่าย หลิวจะใช้เวลาอยู่กับที่ราว 3-4 ชั่วโมงเพื่อถ่ายภาพ แต่ถ้าฉากหลังซับซ้อนมากขึ้น ก็อาจกินเวลาตระเตรียมมากถึง 4 วัน กว่าจะได้ผลงานที่สมบูรณ์         หมู่บ้านมะเร็ง – ปี 2556 หลิวเริ่มใส่บุคคลอื่นลงในภาพของเขาด้วย โดยเขาสร้างภาพนี้ขึ้นในหมู่บ้านชนบทของจีน ซึ่งชาวบ้านล้วนได้รับผลกระทบจากโรงงานสารเคมีที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง “ทุกคืน โรงงานสารเคมีจะปลดปล่อยก๊าซพิษอันตรายออกมา พืชผลท้องถิ่นก็เริ่มกินไม่ได้ แหล่งน้ำใต้ดินก็เริ่มเน่าเสียรุนแรง อัตราการเสียชีวิตก็เพิ่มขึ้นเท่าตัว” หลิวกล่าว         เทพเจ้าประตู หมายเลข 1 - "ผมมักตั้งคำถามถึงสิ่งที่ขัดแย้งกันอยู่เสมอ"         อาหารซอง - ผลงานของหลิวมักแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารการกิน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่โตในช่วงห้าปีที่ผ่านมาของจีน “ปี 2554 พบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มมีการเติมสารพลาสติกไซเซอร์ (Plasticizer) ที่ไว้ใช้ในกระบวนการผลิตพลาสติกลงไปด้วย” หลิวกล่าว “ผมได้ผลิตผลงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว และต่อมาเรื่องราวความปลอดภัยในอาหารทุกชนิดก็ระเบิดหลั่งไหลออกมาไม่ขาด สาย”         บ้านแห่งการกิน – ผลงานของหลิวจำนวนมากก็เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขทางสังคมการเมืองยุคใหม่ของจีน         ศีรษะท่านเหมา - “ผมต้องการแสดงความสับสนของตัวเองเกี่ยวกับบางปัญหาที่กีดขวางการพัฒนาของ มวลมนุษย ซึ่งมนุษย์ยุคปัจจุบันกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้”         รถตักดิน - “หากผลงานไปเตะตาต้องใจใครสักคน มันไม่ใช่เพียงผลสำเร็จของการใช้เทคนิควิธีทางศิลปะเท่านั้น แต่ยังรวมเอาความคิดและอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตของศิลปินผู้รังสรรค์เข้าไปด้วย” หลิวกล่าว “อุปสรรคนานาประการที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้ช่วยสร้างผลงานขึ้นซึ่งไม่สำคัญ ว่ามันจะอยู่ในรูปแบบใด”        
ที่มา: http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=957000007573
0
7 ก.ค. 57 เวลา 16:40 3,161 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...