เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการเรื่องเด่นเย็นนี้
กทม. ตรวจสอบห้างนิวเวิลด์ บางลำพู ประกาศสั่งปิด ห้ามเข้า-ออก และห้ามให้อาหารปลา หวั่นเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
จากกรณีที่สื่อนอกได้ลงข่าวเรื่องห้างสรรพสินค้าร้าง นิวเวิลด์ บางลำพู เปิดให้ผู้คนเข้าไปให้อาหารปลาได้ หลังจากที่ห้างนี้ถูกสั่งปิดนับตั้งแต่ปี 2540 เนื่องจากก่อสร้างเกินจากที่ได้ขออนุญาตไว้ ตามที่ได้รายงานข่าวไปนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักการโยธา กทม. จะเข้าตรวจสอบโครงสร้างของห้างนิวเวิลด์ในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ เพื่อดูถึงความแข็งแรงและปลอดภัยก่อนปิดประกาศห้ามใช้หรือไม่ รวมถึงเรียกเจ้าของอาคารมาพูดคุย หากไม่ต้องการเลี้ยงปลาก็ต้องสูบน้ำออกให้หมด เพราะอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค เนื่องจากพบว่าบริเวณชั้นล่างนั้นมีน้ำขังและปลาอยู่เต็มพื้นที่
ทางด้านอดีตพนักงานของห้างฯ เปิดเผยว่า เมื่อปี 2546 ชาวบ้านย่านบางลำพู นำปลามาปล่อยเพราะได้รับความเดือดร้อนจากยุงลายที่เกิดขึ้นจำนวนมาก เพื่อหวังให้ปลากินยุง โดยไม่คิดว่าจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และทำให้โครงสร้างของอาคารเกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ประชาชนก็ยังคงเดินทางเข้าไปให้อาหารปลาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี ล่าสุด วันนี้ (30 มิถุนายน 2557) นายประเมิน ไกรรส ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบที่ห้างนิวเวิลด์แล้ว ระบุว่า ห้างดังกล่าวถูกสั่งปิดไปเมื่อปี 2540 เนื่องจากมีการก่อสร้างผิดแบบที่ได้ยื่นขออนุญาต คือเดิมขออนุญาตสร้างเป็นอาคาร 4 ชั่น แต่กลับก่อสร้างเป็นอาคาร 11 ชั้น ต่อมา กทม. ได้เข้ารื้อถอนอาคารชั้นที่ 5-11 จนห้างได้ปิดตัวไป
ส่วนการให้อาหารปลาในตัวอาคาร เนื่องจากหลังคาของอาคารชำรุด ส่งผลให้เมื่อฝนตกจึงเกิดน้ำขัง แล้วชาวบ้านในบริเวณนี้ได้นำปลามาปล่อยเพื่อกำจัดลูกน้ำ ทำให้เกิดการแพร่พันธุ์ปลาหลายชนิด จนมีประชาชนสนใจและเข้ามาให้อาหารปลาจำนวนมาก ซึ่งทาง กทม. เกิดความกังวลใจในเรื่องของความปลอดภัยในโครงสร้างอาคารและสุขอนามัยของประชาชน โดยเฉพาะไข้เลือดออก เพราะในพื้นที่นี้มียุงลายจำนวนมาก
ทั้งนี้ ทาง กทม. ระบุว่า ได้สั้งปิดพื้นที่ดังกล่าวทันที ห้ามเข้า-ออก หรือเข้ามาให้อาหารปลา พร้อมกับตั้งให้คณะกรรมการร่วมกับสำนักการโยธา เพื่อตรวจสอบโครงสร้างและรายละเอียดภายในที่ชำรุด คาดว่าจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 1 เดือน และได้มอบหมายให้ฝ่ายสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ดูแลสุขอนามัยของประชาชนด้วย พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำเสียเพื่อดูความเน่าเสียของน้ำและดูปริมาณลูกน้ำ รวมถึงฉีดพ่นยากำจัดยุงลาย
ในส่วนของอาคารนั้น จากการตรวจสอบด้วยตาเปล่า ถือว่าโครงสร้างอาคารแข็งแรง ปลอดภัย แต่ก็เป็นพื้นที่อันตรายที่เสี่ยงพลัดตกน้ำ อย่างไรก็ดี จะประสานไปยังเจ้าของพื้นที่ว่าประสงค์ให้เลี้ยงปลาอยู่หรือไม่ หากไม่ต้องการก็หาแนวทางสูบน้ำออกและย้ายปลาออกจากพื้นที่ และขอให้เจ้าของปรับปรุงหลังคาไม่ให้รั่วซึมและเกิดน้ำท่วมขังด้วย แต่หาตรวจสอบอาคารแล้วพบว่าโครงสร้างไม่ปลอดภัยก็จำเป็นที่จะต้องประสานเจ้าของพื้นที่เพื่อรื้อถอนทันที
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก