อย่าโง่! หลงเชื่อ! ข้อมูลที่ว่า "การพันสายชาร์จมือถือและหูฟังจะให้คุณภาพการใช้งานลดลง"
เมื่อวานนี้ทีม งานเห็นบทความเกี่ยวกับ การพันสายที่ชาร์จมือถือกับหูฟังด้วยเม็ดบีทฟรุ้งฟริ้ง หรือเกลียวพลาสติกอะไรก็แล้วแต่ว่ามันทำอันตรายให้แก่สายชาร์จและหูฟัง อาจจะทำให้สายไหม้ได้เลยเนื่องด้วยความร้อนที่เพิ่มขึ้นเพราะสายไฟระบายความ ร้อนไม่ทัน โดยข้อมูลที่ว่านี้มีการอ้างถึงแหล่งข้อมูลแรกก็คือคนที่เรียนช่างไฟมา (ช่างไฟในตำนานรึเปล่า…ผมไม่เล็กนะครับ #ผิด นั่นมันช่างแอร์) ก็มีการแชร์บทความนี้ไปเยอะแยะมากมาย เอาเป็นว่าเรามาวิเคราะห์กันทีละจุดดีกว่าครับ ว่าตกลงแล้วสายชาร์จและหูฟังโทรศัพท์เนี่ยสามารถพันสายได้รึเปล่า แล้วมันเป็นอันตรายจริงหรือ?
อันดับแรกขออ้างถึงเนื้อหาในบทความบางส่วนก่อนนะครับ
การ พันสายชาร์จมือถือและหูฟังจะให้คุณภาพการใช้งานลดลงตามไปด้วยนะครับเนื่อง จากการใช้งานทั้งการชาร์จไฟ และที่หูฟัง จะเกิดความร้อนขึ้นในสายชาร์จและหูฟัง…กรณีที่สายชาร์จมือถือหรือหูฟังมี อย่างอื่นไปพันไว้ จะส่งผลทำให้ความร้อนไม่สามารถระบายออกมาได้ แถมยังเป็นการทำให้สายชาร์จมือถือและหูฟังเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดีไม่ดีสายชาร์จมือถือหรือหูฟังอาจจะไหม้เอาง่ายๆหรือไฟฟ้าอาจจจะลัดวงจรได้ อีกด้วยนะครับ
ประเด็นเรื่องความร้อนสรุปสั้นๆ ง่ายๆ เลยครับ ถ้าเมื่อไหร่ที่สายชาร์จโทรศัพท์สามารถจ่ายไฟได้เท่ากับที่ชาร์จโน็ตบุ๊ค ถึงตอนนั้นค่อยกังวลจะดีกว่าครับ เพราะ สายชาร์จโทรศัพท์เนี่ยระหว่างชาร์จกับไม่ชาร์จบอกตรงๆ ว่าความร้อนแทบจะไม่แตกต่างกันเลย ด้วยมันจ่ายไฟได้น้อยเกินกว่าที่จะมีความร้อนจนเป็นอันตรายต่อเครื่องและตัว มันเองครับ เพราะฉะนั้นเม็ดบีทฟรุ้งพริ้งอะไรนั่นสามารถพันได้ ไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับความร้อนแน่นอน ส่วนสายหูฟังเนี่ย ประเด็นนี้ถือว่าไร้สาระเอามากๆ เลยครับ สายหูฟังปกติมันก็แทบจะไม่มีความร้อนอยู่แล้ว ต่อให้พันด้วยเม็ดบีทสิบรอบยี่สิบรอบมันก็ไม่มีทางร้อนแล้วพังหรอกครับ
ที่อันตรายจริงๆ น่าจะเป็นการแปะสติ๊กเกอร์ที่ตัวอแดปเตอร์ หรือการไม่ยอมถอดพลาสติกที่หุ้มตัวอแดปเตอร์ออกแล้วนำไปชาร์จไฟจะทำให้เกิด ความร้อนและเป็นอันตรายมากกว่าเสียอีก
“เพราะฉะนั้น ทีมงาน NotebookSPEC ขอฟันธง!“ถ้าจะพังจริงๆ ก็พังตั้งแต่เอามือถือ ที่เอาไปติดฟิล์มใส่เคสแล้วล่ะครับ”
แล้วการพันสายชาร์จมีข้อเสียหรือไม่?
ผู้ร้ายตัวจริง ของการพันสายชาร์จและสายหูฟังไม่ ได้อยู่ที่ความร้อน แต่อยู่ที่น้ำหนักมากกว่า เพราะการที่เราร้อยเม็ดบีทเข้าไปที่สายชาร์จเนี่ย มันเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับสายชาร์จ ทีนี้ปัญหาจะเกิดเวลาที่เราใช้งานจริงๆ นี่แหละเวลาที่เราชาร์จไฟ น้ำหนักจากเม็ดบีทฟรุ้งฟริ้งจะไปรั้งสายชาร์จและอาจทำให้เกิดอันตรายต่อขั้ว สาย ทำให้ขั้วสายงอ และตามมาด้วยอาการขั้วสายหัก โดยเฉพาะสายชาร์จไอโฟนเนี่ยตัวดีเลย บอบบางเหลือเกิน
วิธีการแก้ไข ปัญหาขั้วสายชาร์จหักแบบบ้านๆ ง่ายนิดเดียว เพียงแค่นำสปริงปากกามาใส่บริเวณขั้วสายทั้ง 2 ฝั่งก็ช่วยได้เยอะเลยหล่ะ เครดิตภาพ: pantip.com
ส่วนการพันสายหูฟัง ข้อเสียของมันก็คือเป็นการสะสมคราบเหงื่อ ตาม ปกติแล้วหูฟังเวลาที่เราสวมใส่เนี่ย สายจะมีโอกาสแนบกับแก้มเราอยู่แล้ว และยิ่งถ้าใครนำสายหูฟังสอดไว้ใต้เสื้อ โอกาสที่สายหูฟังเจอเหงื่อก็จะยิ่งมีมากขึ้น แต่โดยปกติแล้วถ้าไม่มีอะไรมาหุ้มมันไว้เหงื่อก็จะแห้งไปเอง แต่ถ้ามีสิ่งของมาหุ้มมันเช่นเม็ดบีทเนี่ย ทำให้โอกาสที่จะเกิดการหมักหมมภายในสายหูฟังก็มีมากขึ้น ใช้ งานไปนานๆ หากแกะออกมาอาจจะทำให้ยี้ได้เลยทีเดียว นอกจากนี้เหงื่อยังเป็นตัวการที่ทำให้สายหูฟังปริและเกิดอาการสายขาดได้นะ ครับ เพราะฉะนั้นหลังใช้งานหูฟังเสร็จควรทำการเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาดอย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง ซึ่งถ้าเราร้อยเม็ดบีทเนี่ยจะทำให้การทำความสะอาดเป็นเรื่องยากไปทันที
โดยสรุปแล้วการ พันสายชาร์จมือถือกับหูฟังด้วย เม็ดบีทไม่ได้เป็นการทำให้ความร้อนจากการชาร์จไฟและการใช้งานสูงจนถึงในขนาด ที่ว่าส่งผลต่ออายุการใช้งานและทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้นะครับ แต่ปัญหาที่เกิดจากการพันสายไฟจริงๆ น่าจะเป็นเรื่องของน้ำหนักสายที่จะทำให้เกิดปัญหาสายชาร์จพังเพราะขั้วหัก มากกว่า เอาเป็นว่าก็พันได้แหละครับ สวยงามฟรุ้งฟริ้งกันไป แต่อย่าพันให้สายหนักจนเกินไปก็แล้วกันนะ
ข้อมูลจาก Specphone