10 พันธุ์พืชที่หายากที่สุดในโลก

ตอนนี้นำเสนอภาพของพันธุ์ไม้ที่หายากที่สุดในโลก และใกล้สูญพันธุ์เต็มที ภาพชุดที่พบในเว็บมานั้นไม่มีเรื่องประกอบเลย ผมเลยค้นคว้ามาเพิ่มเติมให้ได้อ่านประดับความรู้กัน แต่ด้วยความที่มันหายากนี่เอง การค้นคว้าก็หายากไปด้วยเช่นกัน บางต้นก็หารายละเอียดไม่ได้เลย หรือบางต้นก็เป็นพันธุ์ที่อยู่ใน Species เดียวกัน ก็พอจะให้ความกระจ่างได้ส่วนหนึ่งครับ อาจไม่สมบูรณ์นัก แต่อย่างน้อย ก็พอได้เห็นหน้า ค่าตาของมัน ก่อนที่จะสูญพันธุ์
หรือมีแนว โน้มใกล้จะสูญพันธุ์ ในอนาคตอันใกล้ ถ้าสาเหตุที่ทำให้ประชากรของพืช ชนิดนี้ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่องยังมีต่อไป ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากถิ่นอาศัยตามธรรมชาติลดลง เช่นการระเบิดเขาหินปูนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือการทำเหมือง การนำออกจากถิ่นอาศัยตามธรรมชาติเพื่อการค้าเป็นจำนวนมากเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้พืชหลายชนิดลดจำนวนลงอย่างมาก

1. Amorphophallus titanum ( titan arum) มีขนาดดอกใหญ่ที่สุดในโลกอย่างหนึ่ง รองจากดอกบัวผุด ภายในโคนดอก ประกอบด้วยดอกเล็กๆ จำนวนมากอยู่ภายใน โดยดอกตัวผู้อยู่ด้านบนของดอกตัวเมีย กล่าวได้ว่าดอก Titan Arum เป็นดอกรวมขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ดอกเดี่ยวใหญ่ที่สุดในโลก คือดอกบัวผุด) มีต้นใบเดี่ยวใหญ่มากเช่นกัน ดอกของมันจะสูงถึง 3 เมตร กลีบของดอกไม้ศพด้านนอกเป็นสีเขียว ส่วนด้านในเป็นสีแดงอมม่วง มีช่อดอกสูงชะลูดห่อหุ้มเกสร ดอกที่ทั้งใหญ่และเหม็นมากนี้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ดอกไม้ศพ



Amorphophallus titanum เป็นพืชในเขตป่าร้อนชื้น ในพืชตระกูล "บัวผุด" (Rafflesia) เป็นดอกไม้เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลำพังตัวช่อดอกแทงยอดตั้งขึ้นไปกว่า 3 เมตร เรียกว่าสูงกว่าคนเสียอีก เป็นธรรมชาติที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองจากสัตว์บางชนิด ขณะเดียวกัน กลิ่นน่าสะอิดสะเอียนที่หึ่งไปทั่ว กลับเย้ายวนแมลงบางชนิดให้มาดูดน้ำหวาน และผสมเกสรให้มัน กล่าวกันว่ากลิ่นของดอก Amorphophallus titanum คล้ายกับเนื้อเน่าสำหรับคน แต่กลับเป็นกลิ่นหอมยั่วน้ำลายแมลงเต่าที่ชอบกินของเน่าและแมลงวันให้มาช่วย ผสมเกสร กลีบดอกสีแดงเข้มยังช่วยลวงตาให้สัตว์นึกว่าเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่น่าตอม ด้วย

Titan Arum หรือ บุกยักษ์ มีถิ่นกำเนิดเพียงแห่งเดียวในโลก ในป่าดิบชื้นพื้นล่างในเกาะสุมาตราตอนกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amorphophallus titanum อยู่ในวงศ์ Araceae ชื่อวิทยาศาสตร์แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า ต้น "ลึงค์ยักษ์แปลง" คือแปลงกายให้เหมือนลึงค์แต่ไม่ใช่ลึงค์ ในเมืองไทย มีสวนนงนุชได้นำเข้ามาจากสวนพฤกษศาสตร์โบกอร์ (Bogor the botanic garden) ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อมาทดลองปลูกภายในสวนเมื่อห้าปีก่อน แต่หลังจากบุกยักษ์ออกดอกเป็นครั้งแรกแล้ว นักพฤกษศาสตร์ไม่อาจตอบได้ว่า อีกกี่ปีบุกยักษ์ต้นนั้นจึงจะออกดอกอีกครั้งหนึ่ง


2. Dracunculus vulgaris




Dracunculus vulgaris ต้นและใบลายๆ คล้ายต้นบุกของเราแต่เป็นคนละสายพันธุ์ มีอีกชื่อว่า Voodoo Lily หรือ Dragon Lily เป็นดอกไม้ รูปทรงแปลกๆ อย่างกับใบไม้ยักษ์


3. Nepenthes Tanax เป็นพวกหม้อข้าวหม้อแกง พันธุ์หนึ่ง หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes) เป็นพืชกินแมลงประเภทหนึ่ง เนื่องจากเราสามารถพบเห็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงได้ไม่ยากนัก ประกอบกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีสายพันธุ์ (Species) อยู่ประมาณ 90 กว่าชนิด ทั่วโลก ตามเขตโซนร้อนทั่วไป โดยเฉพาะบนเกาะบอร์เนียวพบถึง 30 กว่าชนิด



ส่วน ที่เป็นหม้อ(Pitcher) ของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง คือ เครื่องมือหรือกับดักที่ใช้หลอกล่อ เหยื่อที่เป็นสัตว์ หรือแมลง สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ให้เดินเข้าหากับดัก โดยอาศัยกลิ่นเลียนแบบของเหยื่อ ที่อาจเป็น น้ำหวาน กลิ่นแมลงตัวเมีย หรือสีสันที่สะดุดตาบวกกับกลิ่นที่เย้ายวนเร้าใจ ที่จะเป็น เครื่องดึงดูดเหล่าสัตว์หรือแมลงทั้งหลาย มาสู่กับดักมรณะนี้ ด้านในและใต้ส่วนที่งุ้มโค้งของปากหม้อ (peristome หรือ lip) เป็นส่วนที่สร้างน้ำหวาน เมื่อเหยื่อหลงเข้ามาตอมน้ำหวานบริเวณปากหม้อที่ถูกเคลือบด้วยสารที่มี ลักษณะมันลื่น ประกอบกับผิวเป็นคลื่นตามแนวลงภายในหม้อ เหยื่อจึงมีโอกาสลื่นพลัดตกลงไป ในหม้อ ได้อย่างง่ายดาย และภายในหม้อจะมีน้ำย่อยอยู่


4. Aigrette


Aigrette มีฉายานกกระสา มีลักษณะต้นและดอกคล้ายดอกหญ้า เพราะดอกของมันดูคล้ายฝูงนกที่กำลังโบยบิน


5. Venus flytrap


Venus flytrap ฉายาเทพธิดาดักแมลง เป็นพวกพืชกินแมลง ต้นนี้มีสีสันสวยงามกว่าพันธุ์อื่น เมืองไทยเราเรียก กาบหอยแครง เจ้า venus flytrap นี้ ต้นกำเนิดของมันอยู่ที่อเมริกาเท่านั้น และจะพบมันได้ใน 2 รัฐเท่านั้น คือทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ North carolina และทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐ south carolina เท่านั้น venus flytrap จะมีการพักตัวด้วยเมื่อถึงฤดูหนาว วิธีการดักแมลงกันของมัน จะใช้บริเวณกาบนี่แหละที่จะงับแมลงได้ เมื่อแมลงบินมาเกาะที่กาบเพื่อกินน้ำหวานที่ผลิตออกมาจากต่อมน้ำหวาน ขณะที่มันกำลังเพลิดเพลินกับการบริโภคอยู่นั่นเอง ตัวของมันก็จะบังเอิญไปสัมผัสกับขนเล็กๆ ที่อยู่บริเวณด้านในกาบ ในเวลาไม่ถึงวินาที กาบก็จะปิดลงทันที เมื่อแมลงยิ่งดิ้นกาบก็จะงับแน่นขึ้น แน่นขึ้น หลังจากหุบไปหลายวัน เพื่อย่อยเหยื่อ แล้วเจ้ากาบใบนั้นก็จะค่อยๆ เปิดออกเพื่อต้อนรับแมลงตัวใหม่ที่จะมาเยือนอีกครั้ง venus flytrap เป็นที่นิยมมากในหมู่นักเล่นไม้กินแมลงเมืองไทย


6. Drosera capensis


Drosera capensis เป็นพันธุ์หนึ่งของไม้ประเภท หยาดน้ำค้าง เพราะที่ขนบนใบจะมีตุ่มอยู่บนยอดคล้ายน้ำค้างเกาะ ที่เมืองไทยเราพอมีเลี้ยงกันอยู่จะเป็น species - Drosera binata ที่เรียกกันว่า "หยาดน้ำค้างใบส้อม" หรือ “หยาดน้ำค้างเขากวาง” มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และสามารถทนอุณหภูมิได้ค่อนข้างสูง จนนิยมจัดไว้ในกลุ่มไม้เมืองร้อน โดยไม่ทิ้งใบเลยทั้งปี


7. Rafflesia arnoldii ถือได้ว่าเป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 70-80 เซนติเมตร เป็นกาฝากชนิดหนึ่งที่อาศัยกินน้ำเลี้ยงจากรากและลำต้นของไม้เถาที่ชื่อว่า ย่านไก่ต้ม ( Tetrastigma papillosumplanch ) จะโผล่เฉพาะดอก ซึ่งเป็นดอกเดี่ยวสีแดงคล้ำหรือน้ำตาลปนแดงคล้ำ ขึ้นมาจากพื้นดินในระหว่างฤดูฝนหรือในระยะที่อากาศและพื้นดินยังมีความชุ่ม ชื้นสูงคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ยามที่มันออกดอกสีปูนแดงสดใสอยู่กลางป่าดิบเขียวชอุ่มนั้น ถือเป็นภาพที่น่าตื่นตามาก บัวผุดหรือที่ชาวบ้านทางภาคใต้ของไทยเรียกว่า "บัวตูม" จริงๆแล้วเป็นพืชกาฝาก ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยอาศัยอยู่ในรากและลำต้นของเถาไม้เลื้อยวงศ์องุ่นป่า ชื่อ "ย่านไก่ต้ม" โดยบัวผุดจะอาศัยดูดกินแร่ธาตุและน้ำจากย่านไก่ต้ม โดยต้นแม่ก็ยังคงมีชีวิตอยู่ พวกเราจะเห็นบัวผุดได้ก็เฉพาะยามเมื่อมันต้องการผสมพันธุ์กัน คือ จะเริ่มมีตาดอกเป็นปุ่มกลมเล็กๆ โตขึ้นที่ผิวของย่านไก่ต้ม แล้วใช้เวลา 9 เดือน ขยายขนาดจนเท่ากับหัวกะหล่ำยักษ์ จากนั้นก็ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน ในรอบปีให้ดอกบาน ทว่าดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่ จึงต้องได้เวลาเหมาะเหม็งมากในช่วงเวลาบาน แมลงวันจึงจะช่วยผสมเกสรให้ได้ จึงถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการสูญพันธุ์



ใน เมืองไทยจะพบบัวผุดได้ตั้งแต่คอคอดกระ จังหวัดระนอง เรื่อยลงไปตามแนวเทือกเขาภูเก็ต จนสุดชายแดนที่นราธิวาส โดยอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งชมบัวผุดแหล่งใหญ่ที่สุด มีบัวผุดทยอยบานให้ชมทั้งปี แต่เป็นที่นิยมไปชมกันมากในฤดูแล้งช่วงเดือนพฤศจิกายน- เมษายน เพราะเดินป่าง่าย แต่เขาสกก็ได้ผ่านบทเรียนอันเจ็บปวดมาแล้วจากอดีต ในการสูญเสียบัวผุดที่ควนลูกช้าง เพราะในอดีตยังขาดความเข้าใจในชีวิตอันเปราะบางของมัน จึงมีผู้แห่กันไปชมบัวผุด โดยมีการเหยียบย่ำเถาย่านไก่ต้ม เหยียบย่ำดอกอ่อน และเหยียบย่ำตาดอกขนาดเล็กที่เพิ่งผุดขึ้นมา (โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์) ทั้งนี้เพื่อเข้าไปชมและถ่ายรูปกับดอกบัวผุดให้ใกล้ชิดที่สุด ส่งผลให้บัวผุดตาย และสาบสูญไปจากควนลูกช้าง แม้ปัจจุบันบัวผุดบริเวณกิโลเมตรที่ 111 และที่เขาสองน้องก็มีจำนวนดอกลดน้อยลง และขนาดดอกในรอบ 2 ปี (พ.ศ. 2545-2546) ที่ผ่านมาก็เล็กลงจนน่าตกใจทีเดียว อุทยานแห่งชาติเขาสก และทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เล็งเห็นความเร่งด่วนของสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ออกมาตรการป้องกันรักษาดอกบัวผุด โดยออกสำรวจ เมื่อพบดอกใกล้บานจะทำการล้อมรั้ว ติดป้ายห้ามเข้าใกล้ดอก และสร้างสะพานไม้ยกระดับให้ยืนชมดอกอยู่ห่าง ๆ บนสะพานไม้ ไม่ให้มีการลงไปเหยียบย่ำพื้นดินหรือเถาย่านไก่ต้มอีกต่อไป นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านเป็นไกด์ท้องถิ่นพานักท่องเที่ยวเข้าชมบัว ผุด เพื่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอันจะนำมาซึ่งความรัก ความเข้าใจ ความหวงแหน และการอนุรักษ์แหล่งชมดอกบัวผุดได้อย่างยั่งยืนตลอดไป


8. Tacca chantrieri


Tacca chantrieri เป็นไม้จำพวก Black Lily ที่เรามาประดับบ้าน มีชื่ออื่นๆอีกเช่น ว่านหัวฬา ว่านพังพอน (ยะลา) ว่านนางครวญ (นครศรีธรรมราช) และค้าวคาวดำ ลำต้น เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก ขอบขนานแผ่ใบกว้าง 7-15 เซนติเมตร ยาว 20-60 เซนติเมตร ปลายและโคนแหลม ก้านใบค่อนข้างเล็ก กลม ยาวประมาณ 1 คืบ เส้นใบคล้ายใบกล้วย แต่ร่องลึกและแคบกว่า ดอกมีสีม่วงดำคล้ายหัวค้างคาว กลีบเหมือนหูโตๆ ใบประดับกลมยาวเหมือนหนวดแมว สีม่วงดำ 10-25 เส้น เกิดในป่าดงดิบชื้น สูง 500-1500 เมตร


9. Strangler fig


Strangler fig คือกาฝากชนิดหนึ่ง เป็นไม้เถาวัลย์อาศัยดูดซับสารอาหารจากต้นไม้อื่นและเจริญเติบโตขึ้นอย่าง ช้าๆ เหมือนกาฝาก แต่ขนาดใหญ่กว่ามาก พอๆกับต้นที่มันเกาะอาศัยอยู่ทีเดียว รากของมันไม่ได้แค่เกาะไปกับต้นไม้ที่มันอาศัย แต่จะพันรัดไปรอบทั้งลำต้นเลยทีเดียว จนในที่สุดโอบรัดต้นไม้ใหญ่และสังหารต้นที่มันอาศัยเสีย เมื่อตัวมันเติบโตเต็มที่ ทำให้ได้ฉายา Strangler (สแทรงเกลอร์ฟิก) หรือนักบีบรัด นั่นเอง ที่จริงพฤติกรรมโหดๆแบบนี้ ไม่น่าหายาก หรือใกล้สูญพันธ์เลยนะ


10. Lunaria annua


Lunaria annua มีลักษณะใบที่แปลกกว่าใบไม้อื่นๆ แต่ค้นรายละเอียดไม่ได้เลยครับ ดูแต่รูปไปก่อน ถ้าค้นเจอเมื่อไหร่จะตามมาเล่าให้ฟังครับ

Credit: http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=21-05-2008&group=34&gblog=9
25 เม.ย. 53 เวลา 15:11 4,757 3 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...