เตือนภัย "โรคบ้างาน" อันตรายปวดคอร้าวลึก

วันนี้มีคำแนะนำคนทำงาน พนักงานออฟฟิศ ซึ่งถือเป็นคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง ที่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ จากการทำงาน

"โรคติดงาน" หรือ "โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)" ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "โรคบ้างาน" อาการมักปวดหัว ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้ายทอย สายตาพร่ามัว ปวดกล้ามเนื้อตา ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกาย จนกลายเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคกระเพาะ เบาหวาน และความดัน เป็นต้น

ส่วนอาการในด้านอารมณ์ คือ กลายเป็นผู้ที่มองอะไรขวางหูขวางตาไปหมด เกรี้ยวกราดกับเพื่อนร่วมงาน การพูดคุยไม่เหมือนเดิม จะให้ความสนใจแต่เฉพาะในเรื่องของการทำงาน จนส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว

นพ.ปราโมทย์ อุดมเลิศวนสิน ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ร.พ.ปิยะเวท เผยว่า อวัยวะที่สำคัญมากและมักเป็นต้นเหตุของอาการปวด คือ คอ ซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการใช้มากที่สุด ยิ่งการทำงานในยุคปัจจุบันต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ ต้องก้มหน้าเงยหน้าอยู่ตลอดเวลา ใช้สมองมาก ทำให้เกิดความเครียด เกิดอาการปวดคอ และปวดศีรษะ

"คอ" อวัยวะที่บอบบาง บาดเจ็บได้ง่าย คอยังเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทที่รับคำสั่งจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย อาการปวดคอที่พบบ่อยที่สุด คือ กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง ทำให้เอี้ยวคอหรือเคลื่อนไหวศีรษะไม่ได้ หรือที่เรียกว่าตกหมอน ซึ่งส่วนใหญ่จะหายเองได้

สาเหตุของการปวดคอที่พบบ่อย มักจะเกิดจากอิริยาบถหรือท่าที่ผิดลักษณะ ทำให้กล้ามเนื้อบางมัดถูกใช้งานจนเมื่อยล้าเกินไป และความเครียดทางจิตใจก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดจากสถานที่ทำงาน

นพ.ปราโมทย์ แนะนำการดูแลผู้ที่ปวดคอเรื้อรังเนื่องจากการทำงาน เบื้องต้น ได้แก่ กินยาแก้ปวด ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่นไว้ อาจทำภายหลังจากการอาบน้ำอุ่นหรือประคบร้อนแล้ว 10-15 นาที และสิ่งจำเป็น คือ การออกกำลังกล้ามเนื้อคอ

สัญญาณอาการอันตรายที่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ได้แก่ ปวดต้นคอร้าวลงไหล่ถึงแขน หรือข้อมือ ปวดต้นคอร่วมกับชาที่นิ้วมือ ปวดต้นคอร่วมกับอาการมืออ่อนแรง ปวดต้นคอหรือปวดสะบักเรื้อรัง

เมื่อมาพบแพทย์ ในรายที่เป็นไม่มาก อาจทำกายภาพบำบัด หรืออาจใช้ยารับประทานประเภทแก้อักเสบ คลายกล้ามเนื้อ การใช้อุปกรณ์ประคอง รายที่เป็นมากปวดคอร่วมกับมีอาการชาแปลบๆ หรือปวดร้าวลงแขน อาจจะรักษาโดยวิธีอื่น เช่น การฉีดยาไปที่เส้นประสาท การจี้ด้วยคลื่นความร้อน หรือรายที่เป็นมากก็ต้องผ่าตัด เช่น เอาหมอนรองกระดูกออก แล้วเชื่อมต่อให้ติดกันหรือใส่หมอนรองกระดูกเทียม

การดูแลตนเองให้ห่างจากโรคออฟฟิศซินโดรมง่ายๆ คือ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่หนักเกินไป ให้สมดุลกับเวลาพักผ่อน และควรผ่อนคลายระหว่างการทำงาน เช่น พักสายตา หายใจลึกๆ เป็นต้น



ที่มา : นสพ.ข่าวสด
Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/61365.html
20 พ.ค. 57 เวลา 08:41 581 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...