สื่อ ต่างประเทศที่ติดตามพัฒนาการทางการ เมืองในประเทศไทย พากันจับตาความพยายามของวุฒิสภาที่จะผ่าทางตันสถานการณ์วิกฤตทางการเมืองที่ เกิดขึ้น
ท่ามกลางการเผชิญแรงกดดันจากกลุ่มเห็นต่างทางการเมืองทั้งสองฝ่าย
ที่ ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มผู้ประท้วงภายใต้การนำของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข (กปปส.) ที่เรียกร้องให้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลางขึ้นมา ขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลพรรคเพื่อไทยปฏิเสธนายกรัฐมนตรีคนกลางอย่าง แข็งกร้าวและเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่โดยเร็ว
โดยสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานคำให้สัมภาษณ์ของนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธานวุฒิสภา
ซึ่ง เรียกประชุมวุฒิสภานัดพิเศษในวันเดียวกันนี้ ที่กล่าวว่า ขณะนี้วุฒิสภาเป็นสถาบันหลักที่จะสามารถแก้ปัญหาวิกฤตทางการเมืองในประเทศ ได้ และว่าไทยกำลังเผชิญวิกฤตครั้ง ใหญ่ที่สุด ซึ่งวุฒิสภากำลังหารือกันถึงแนวทางในการร่างโรดแมปขึ้นมาเพื่อนำพาประเทศให้ หลุดพ้นจากสถานการณ์นี้ แต่นายกรัฐมนตรีคนกลางยังไม่ได้เป็นสิ่งที่มีการหารือในส่วนหนึ่งของโรดแมป
รอย เตอร์ระบุอีกว่า การต่อสู้ทางอำนาจที่ดำเนินมานานเกือบทศวรรษของไทยได้สร้างความเสียหายให้ แก่ประเทศไทยที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2
ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังทำให้เกิดความหวั่นเกรงว่าจะนำไปสู่สงครามกลางเมืองขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยในอดีตที่ผ่านมา กองทัพมักจะเข้ามาแทรกแซงบ่อยครั้ง แต่ครั้งนี้กองทัพได้วางตนเองอยู่วงนอก แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้กองทัพเข้าแทรกแซงก็ตาม
รอยเตอร์ยังรายงาน ถึงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่สนับสนุนรัฐบาล
ซึ่งเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่โดยเร็ว โดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ที่กล่าวว่า การตั้งนายกรัฐมนตรีกลาง นายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งตนขอเตือนไว้ก่อนว่าสิ่งนี้จะกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงขึ้น
ขณะ ที่สำนักข่าวเอพีระบุว่า การต่อสู้ที่ว่าใครจะเป็นผู้กุมเก้าอี้แห่งอำนาจของไทยนั้นได้มาถึงจุดหัก
มุม ใหม่ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะเข้าไปนั่งทำงานในทำเนียบรัฐบาล แต่นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี กลับต้องนั่งทำงานอยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการล่าสุดของภาวะไร้ซึ่งอำนาจของรัฐบาลท่ามกลาง วิกฤตการเมืองไทยที่ยืดเยื้อเข้าสู่เดือนที่ 7
เอพียังอ้างสื่อสิ่งพิมพ์ฉบับหนึ่งที่เปรียบเทียบวิกฤตการเมืองไทยในขณะนี้ว่าเป็นเหมือนเรือ "ไทยทานิก" ที่กำลังจะจมน้ำลงไปเรื่อยๆ