รู้จักฮิโนมารุ ธงชาติญี่ปุ่นแบบลึกซึ้ง

 

 

 

รู้จักฮิโนมารุ ธงชาติญี่ปุ่นแบบลึกซึ้ง

 

 

ธงญี่ปุ่นที่เราเห็นสะดุดตากันอยู่ทุกวันนี้ ด้วยรูปลักษณ์ที่มีวงกลมสีแดงใหญ่อยู่กลางพื้นสีขาวนั้น รู้หรือไม่ว่ามีชื่อเรียกเหมือนกับธงไตรรงค์สามสีของไทยเราด้วย???

 

ธงชาติของญี่ปุ่นนั้นมีชื่อเรียกว่า “ฮิโนมารุ” (Hinomaru : 日の丸) ถ้าแปลตามตัวจะหมายถึง วงกลมแห่งพระอาทิตย์ หรือ circle of the sun ตามฉายาที่เราคนไทยเรียกว่า “แดนอาทิตย์อุทัย” นั่นเอง… 

 

นอกจากฮิโนมารุแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกคือนิชโชคิ (Nisshoki : 日章旗) หรือธงพระอาทิตย์…

 

ฮิโนมารุนั้นถือกำเนิดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ตอนที่มองโกลบุกญี่ปุ่น โดยพระชื่อนิชิเร็นเป็นผู้สร้างถวายจักรพรรดิในเชิงสัญลักษณ์ว่าเป็นผู้สืบเชื่อสายมาจากเทวีอามาเทราสุ หรือสุริยเทพ แต่ในความเป็นจริงแล้วสัญลักษณ์รูปพระอาทิตย์สีแดงนั้นมีปรากฎอยู่บนพัดของซามูไรมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 แล้ว หลังจากนั้นเมื่อญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขายกับชาติตะวันตกธงฮิโนมารุก็ได้กลายมาเป็นธงราชการที่ใช้ชักบนเรือค้าขาย

 

 

 

ธงฮิโนมารุถูกใช้เป็นธงประจำชาติในเชิงปฏิบัติตั้งแต่ยุคเมจิ (พ.ศ. 2411) และถูกรับรองให้ใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการในปี 2542 ตามราชโองการของจักพรรดิ ซึ่งสัดส่วนของธงนั้นถูกกำหนดไว้ว่าจะต้องเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีขาวกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางเป็นวงกลมสีแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 3 ใน 5 ส่วนของความกว้างธง

 

สีแดงของพระอาทิตย์บนธงนั้นถูกกำหนดไว้อย่างเป็นทางการด้วยว่าต้องใช้สีแดงไหนจึงจะเป็นสีที่ถูกต้องของธง (สีขาวก็เช่นกัน)

 

นอกจากธงฮิโนมารุแล้วก็ยังมีธงอื่นๆของประเทศญี่ปุ่นที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือ ธงสมเด็จพระจักรพรรดิ

 

ธงจักรพรรดิญี่ปุ่นนั้นถูกสร้างขึ้นครั้งแรกปี 2412 เพื่อถวายเป็นเกียรติแด่องสมเด็จพระจักรพรรดิและราชวงศ์ ธงสมเด็จพระจักรพรรดิปัจจุบันนั้นมีสีแดงกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางเป็นดอกเบญจมาศสีทอง 16 กลีบ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำราชวงศ์ ส่วนธงประจำสมเด็จพระจักรพรรดินีนั้นมีลักษณะเหมือนธงสมเด็จพระจักรพรรดิแต่ปลายธงจะตัดเป็นแฉก และธงสำหรับมกุฏราชกุมารกับพระวรชายานั้นจะใช้ธงแบบเดียวกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระจักรพรรดินีแต่ขนาดของดอกเบญจมาศจะเล็กกว่าและมีกรอบสีขาวล้อมรอบด้วย

 

 

 

 

 

ผู้เขียน : NattraQ: http://anngle.org/th/

Credit: http://anngle.org/th/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...