มนต์ขลังและต้นกำเนิดซูโม่

 

 

 

มนต์ขลังและต้นกำเนิดซูโม่

 

 

คนนิจิวะ

 

หากกล่าวถึงกีฬาประจำชาติญี่ปุ่น แฟนๆ anngle.org/th คงจะนึกถึงกีฬา ‘ซูโม่’ (Sumo : 相撲) ที่มีคนตัวใหญ่สองคนใส่ผ้าเตี่ยวคาดเอวปล้ำกันอยู่ในเขตเชือกฟางวงกลมใช่ไหมคะ? แต่ใครจะรู้ว่ากีฬาซูโม่นี้ ไม่ใช่แค่ว่าตัวใหญ่ใจกล้าแล้วนึกจะเข้าไปปล้ำสู้กันเหมือนศิลปะการต่อสู้อื่นๆนั้นได้ เพราะ ‘ซูโม่’ เป็นกีฬาศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวโยงถึง ‘เทพเจ้า’ (神) และความเชื่อทาง ‘ชินโต’ (Shinto : 神道) ที่เป็นรากฐานของชนชาติญี่ปุ่น! จึงละเลย ‘ธรรมเนียมปฏิบัติอันเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 8′ ไปไม่ได้เลย..

 

 

กีฬา ‘ซูโม่’ ถูกกล่าวถึงในบันทึกตำนานเก่าแก่ของประเทศญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า ‘โคะจิกิ’ (Kojiki : 古事記) ซึ่งทำให้ anngle.org/th ทราบว่ากีฬาประจำชาติญี่ปุ่นอย่างเช่นซูโม่ เป็นกีฬาที่มีจุดกำเนิดจากการปะมือสู้กันของ เทพทาเคมิคาซูจิ (Takemikazuchi God : 建御雷神) เทพเจ้าแห่งสายฟ้า และเทพทาเคมินากาตะ (Takeminakata God : 建御名方神) บุตรแห่งเทพโอคุมินุชิ ซึ่งเทพทาเคมินากาตะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และหนีไปอยู่ที่ซูวะ (諏訪) จังหวัดนากาโนะ (Nakano : 中野県) ในปัจจุบัน ดังนั้นเทพทาเคมิคาซูจิจึงได้รับการยกย่องบูชาให้เป็น ‘เทพเเห่งซูโม่’

 

เทพทาเคมิคาซูจิปะมือกับเทพทาเคมินากาตะ

 

กีฬาซูโม่นั้นปรากฎขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 เป็นกีฬาที่คัดพลทหารออกมาเล่นมวยปล้ำสู้กันเพื่อความสนุกสนานให้กับคนในราชสำนัก แต่ก่อนหน้านั้นซูโม่คือการกระทำพิธีกรรมเพื่อบวงสรวงเทพเจ้าให้พืชผลการเกษตรมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งก่อนที่จะเล่นซูโม่จะต้องมีพิธีบวงสรวงและโปรยเกลือเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายและสร้างความบริสุทธิ์ให้กับสถานที่การแข่งขัน ต่อมาเมื่อถึงยุคอะทซึจิ-โมโมยามะ (Azuchi-momoyama Period : 安土桃山時代) โนบุนากะ โอดะ (Nobunaga Oda : 織田信長) (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://anngle.org/th/j-culture/vips/nobunaga.html) ก็เป็นผู้วางแบบแผนการเล่นซูโม่ของปัจจุบัน เนื่องจากตนเองนั้นชอบดูซูโม่มาก…

 

โนบุนากะชมการเล่นซูโม่

 

ในสมัยของโนบุนากะการเล่นซูโม่เป็นที่นิยมอย่างมาก ได้มีนักซูโม่มารวมตัวเพื่อแข่งขันกันถึง 1,500 คน และเล่นกันอย่างจริงจังทั้งวัน เดิมทีการเล่นซูโม่ไม่ได้กำหนดพื้นที่ในการเล่น ดังนั้นผู้เล่นทั้งคู่จึงเล่นปะทะแรงไปมาอย่างไม่รู้แพ้ชนะกันซักที และต่างฝ่ายต่างดันแรงไปทางทิศนั้นบ้างทิศนี้บ้างอย่างตุปั๊ดตุเป๋ ทำให้โนบุนากะต้องสั่งให้นักซูโม่ที่นั่งชมล้อมวงคู่เล่น เรียกว่า ‘โดะเฮียวนิน’ (Dohyo nin : 土俵人) จนกลายมาเป็นการกำหนดให้มีเชือกมาล้อมเป็นเขตสำหรับเล่นซูโม่เรียกว่า ‘โดะเฮียว’ (Dohyo : 土俵)

 

โดะเฮียวนิน

 

โดะเฮียว

 

หากแฟนๆ anngle.org/th ท่านใดอยากบินลัดฟ้าไปชมซูโม่ แนะนำว่าให้จองตั๋วก่อนไปนะคะ เพราะที่ญี่ปุ่น ซูโม่จะจัดการแข่งขันเป็นแกรนด์ซูโม่ทัวร์นาเมนต์ (Grand Sumo Tournament) ซึ่งจะจัดในเดือน  มกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายนและ พฤศจิกายน ซึ่งสามารถจองตั๋วและเช็คสถานที่แข่งขันได้ที่  http://www.sumo.or.jp/eng/index.html ค่ะ 

 

ขอให้สนุกกับการชมซูโม่นะคะ

 

 

ผู้เขียน : D&D: http://anngle.org/th/
Credit: http://anngle.org/th/
1 พ.ค. 57 เวลา 14:01 2,140 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...