เปิดประวัติศาสตร์ รู้หรือไม่ ประเทศไทยเคยคิดที่จะย้ายเมืองหลวง แบบลับๆ

 

หลายๆท่านอาจจะยังไม่รู้ว่า ประเทศไทยเคยคิดที่จะย้ายเมืองหลวงแบบ

ลับๆ ได้จัดเตรียมงานต่างๆไปได้ส่วนหนึ่งแล้ว แต่แผนการดำเนินงานได้

หยุุดชะงักลงเสียก่อน

 

เมื่อครั้งอดีตเก่าก่อนในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีแนวคิดที่จะย้ายเมืองหลวงจากเดิมคือ กรุงเทพฯ ไปที่ จ.เพชรบูรณ์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น (เป็นนายกรัฐมนตรี ที่มีเวลาดำรงตำแหน่ง รวมกันมากที่สุดของไทย คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย) โดยให้ชื่อว่านครบาลเพชรบูรณ์ โดยสถานที่สำคัญๆ แต่ละหน่วยงาน กระทรวงทบวงกรม จะให้อยู่กระจัดกระจายกันออกไป โดยมิให้รวมกระจุกตัวกันอยู่ในเมืองเหมือนในกรุงเทพฯ

แผนดำเนินการย้าย

1. ช่วงปี พ.ศ. 2485 และพ.ศ. 2486 ปลายมหาสงครามโลก ครั้งที่ 2 รัฐบาลซึ่งมี จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้วางแผนจะย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่เพชรบูรณ์ เพราะประเทศไทยกำลังตกอยู่ในภาวะคับขัน กรุงเทพฯถูกโจมตีจากการทิ้งระเบิดอย่างหนัก (จากฝ่ายสัมพันธมิตร) และเห็นว่าเพชรบูรณ์มีความเหมาะสมที่จะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ เพราะมีชัยภูมิเหมาะสม มีภูเขาล้อมรอบ มีเส้นทางคมนาคมเข้าออกเพียงทางเดียว มีภูมิประเทศสวยงาม อากาศดี อยู่ตรงกลางของประเทศเป็นศูนย์กลางภาคเหนือกับภาคอีสาน และกรุงเทพฯ ทั้งยังต้องการสร้างเพชรบูรณ์ให้เป็นฐานทัพลับเพื่อซ่องสุมกำลังไว้เพื่อรบขับไล่ศัตรู (ฝ่ายญี่ปุ่น) อีกด้วย

 

 

2. การดำเนินการก่อสร้างนครบาลเพชรบูรณ์ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามได้ออกคำสั่งเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีเป็นส่วนใหญ่โดยคำสั่งครั้งแรกในวันที่ 13 มีนาคม 2486 และดำเนินการร่างพระราชกำหนดจัด ระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ฯ กำหนดให้ราชการบริหารส่วนภูมิภาคจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นนครบาล เพชรบูรณ์ และดำเนินการอพยพราษฎรมาตั้งหลักแหล่งที่เพชรบูรณ์ พร้อมกับย้ายที่ทำการรัฐบาลตลอดจนสถานที่ ราชการมาตั้งที่เพชรบูรณ์ มีการทำพิธีสร้างหลักเมืองนครบาลฯที่ บ้านบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก ส่วนที่ทำการราชการต่าง ๆ จะสร้างเป็นลักษณะชั่วคราว จ.ผ.ด. (จักสาน-ไม้ไผ่-ดินเผา) ซึ่งได้เสื่อมสภาพไปหมดแล้ว ในปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงเสาหลักเมืองนครบาลฯเท่านั้น จึงจำลองมาสร้างเป็นอนุสรณ์นครบาลเพชรบูรณ์

 

 

รูปเสาหลักเมือง แห่งที่ 2

 

เสาหลักเมืองในปัจจุบันที่ได้รับการบูรณะแล้ว ตั้งอยู่ที่สี่แยกบุ่งน้ำเต้า ต.บุ่งน้ำเต้า หลักเมืองนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2487 เป็นหลักเมืองที่ทำด้วยซีเมนต์ พณฯ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เป็นประธานทำพิธีฝังหลักเมืองเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2487


ซึ่งแต่เดิมนั้น จ.เพชรบูรณ์นั้นมีเสาหลักเมืองเดิม

(เป็นเสาหลักเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย)

 

เสาหลักเมืองเดิม ตั้งอยู่ในตัวเมือง จ.เพชรบูรณ์

 

3. รัฐบาลในขณะนั้นได้เกณฑ์คนมาสร้างเมืองหลวงใหม่ และสร้างถนนสายตะพานหิน เพชรบูรณ์ อันเป็นเส้นทางคมนาคมเพียงทางเดียวในสมัยนั้น ได้มีการเกณฑ์แรงงานราษฎรมาจาก 29 จังหวัด จำนวนนับแสนคน (เกิดคำว่า "คนเกณฑ์" ขึ้น) ได้ประสบความยากลำบาก เจ็บป่วย ล้มตายด้วยไข้มาลาเรียจำนวนมาก และเพื่อ ประโยชน์ในการยุทธ จำเป็นต้องเพิ่มพลเมืองในเพชรบูรณ์ให้มากขึ้นโดยเร็ว จึงใช้วิธีอพยพราษฎรจากจังหวัดต่าง ๆ มากมาย มาตั้งบ้านเรือน และทำมาหากินที่เพชรบูรณ์ เพื่ออาศัยให้เพาะปลูกเลี้ยงสัตว์เป็นอาหารแก่หน่วยทหารและอาศัยแรงงาน การอพยพนี้เป็นการชักชวนให้มาทำมาหากิน ทางราชการจัดการขนส่ง และจัดแบ่งที่ทำกินให้ฝั่งตะวันออกแม่น้ำป่าสักและให้ทุนเริ่มแรกตามสมควร

 

คนเกณฑ์
ไม่แปลกใจที่ จ.เพชรบูรณ์ จะมีคนทุกวัฒนธรรม จะมีภาษาพื้นบ้านที่เรียกว่าภาษาหล่ม

 

4. ได้มีการย้ายส่วนราชการสำคัญต่าง ๆ มาที่เพชรบูรณ์ เช่น กระทรวงการคลัง ตั้งที่ถ้ำฤาษีตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก ได้ขนย้ายพระคลังสมบัติ ทรัพย์สินของชาติ ทรัพย์ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติมาเก็บไว้ ณที่นี้ด้วย มีการก่อสร้างตึกทำการ ตลอดจนก่อสร้างปรับปรุงถ้ำเก็บทรัพย์สมบัติให้มั่นคงปลอดภัย ปัจจุบันชาวบ้านยังคงเรียกกันว่า "ถ้ำฤาษีสมบัติ" นอกจากนั้นยังมีการสร้างกระทรวงยุติธรรม ที่บ้านห้วยลาน ตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสักกระทรวงมหาดไทย ที่บ้านบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก กระทรวงอุตสาหกรรม ที่บ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก เป็นต้น

 

 

 

 

ถ้ำเก็บทรัพย์สมบัติ ถ้ำฤาษีสมบัติ อยู่ไม่ห่างจากเสาหลักเมืองแห่งที่ 2 ในปัจจุบันสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารไม่ปรากฏนอกจากถ้ำซึ่งมองเห็นเป็นร่องรอยการก่อสร้าง

 

 

5. ในด้านการทหาร ได้ย้ายโรงเรียนนายร้อย จ.ป.ร. มาตั้งที่บ้านป่าแดง (ร.ร.นายร้อยป่าแดง) ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองฯ มีการตั้งค่ายทหาร "พิบูลศักดิ์" ที่ตำบลหนองไขว่ อำเภอหล่มสัก ตั้งกระทรวงกลาโหม ที่บ้านป่าม่วง ตำบลท่าพล อำเภอเมืองฯ ย้ายกองทัพอากาศมาที่บ้านสักหลง อำเภอหล่มสัก ซึ่งเดิมวางแผนจะย้ายมาอำเภอท่าโรง (อำเภอวิเชียรบุรี) กรมยุทธโยธา คลังแสงและโรงงานช่างแสง กรมพลาธิการ กรมยุทธศึกษา กรมเสนาธิการทหารบก กรมเสนารักษ์ทหารบก กรมเชื้อเพลิง (โรงบ่มใบยาบ้านไร่)่ ฯลฯ ต่างก็มีการโยกย้ายมาอยู่ที่เพชรบูรณ์ และเป็นกำลังสำคัญในการสร้างเมืองหลวงใหม่ตามนโยบายของจอมพล ป.พิบูลสงคราม

 

ล่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่

 

6. จอมพล ป.พิบูลสงครามได้มอบหมายให้ พลตรีอุดมโยธา รัตนวดี เป็นผู้อำนวยการสร้างเมืองหลวงใหม่ มีหน้าที่สำคัญ คือ กำหนดผังเมือง และอำนวยการสร้าง มีการสร้างถนนชัยวิบูรณ์ จากอำเภอชัยบาดาล ผ่านวิเชียรบุรี มาบรรจบสายตะพานหิน-เพชรบูรณ์ที่วังชมภู ถนนชมฐีระเวช จากชนแดนถึงเขารัง ถนนสามัคคีชัยจากเขารังถึงหล่มสัก โดยมีถนนขนานทั้งฝั่งตะวันออกคือถนนสุวินทวงศ์ และฝั่งตะวันตกคือ ถนนปฐมคชเสนีย์และถนนรัฐวัฒนา มีการตั้งกระทรวงเกษตรฯที่บ้านน้ำคำ ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก ตั้งกองชลประทาน มีหน้าที่จัดสร้างทำนบกั้นน้ำ สร้างเขื่อนเหมือง ฝายบำรุงรักษาคลอง และลำห้วยให้สะอาดมีน้ำใช้ตลอดปี ให้มีการลอกห้วยป่าไม้แดง ห้วยน้ำก้อ ทำนบเหมือง ฝายห้วยท่าพล ห้วยน้ำชุน ลำห้วยนา ลำน้ำพุงที่หินอาว อำเภอหล่มเก่า ทำการกักน้ำที่หนองนารี ตลอดจนให้รักษาความสะอาดของแม่น้ำป่าสัก

 

 

หนองนารี ปัจจุบันเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์และที่พักผ่อนหย่อนใจ

 

7. จอมพล ป.พิบูลสงครามได้วาดผังเมืองใหญ่ 2 แห่ง คือ 1. บริเวณเพชรบูรณ์ 2. บริเวณหล่มสักและหล่มเก่า มีการกำหนดให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ได้กระจายตั้งกันอยู่ทั่วจังหวัด โดยมิให้กระจุกตัวกันอยู่ในเมืองเหมือนกรุงเทพฯมีการสร้างสำนักนายกรัฐมนตรี และศาลารัฐบาล ณ บริวณน้ำตกห้วยใหญ่ หลังที่ตั้งกระทรวงพาณิชย์ ปลายห้วย ป่าไม้แดง โดยให้ พ.ต.ล้อมบูรกรรมโกวิท เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง (ถนนบุรกรรมโกวิทเป็นอนุสรณ์) นอกจากนั้นยังสร้างทำเนียบ "บ้านสุขใจ" ติดแม่น้ำป่าสัก เป็นที่พักอาศัยของจอมพล ป.พิบูลสงครามและครอบครัว (บริเวณโรงน้ำแข็งเพชรเจริญเดิม) ทำเนียบ "สามัคคีชัย" ที่เขารัง และทำเนียบที่บ้านน้ำก้อใหญ่ไว้เป็นที่พักแรมมีถนนเข้าชื่อ เชิดบุญชาติ มีการวางแผนสร้างบ้านบัญชาการสำนักนายกฯ ที่บริเวณบึงสามพันด้วย

 

สำนักนายกอยู่ใกล้น้ำตกด้วย ต้องการความเป็นธรรมชาติน่าดู

 

8. การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ได้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในขณะนั้นได้มีการจัดงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อสร้างศาลากลางเพชรบูรณ์ (บริเวณเดียวกับที่ตั้งศาลากลางจังหวัดปัจจุบัน) และการเตรียมย้ายรัฐบาลมายังเพชรบูรณ์ จนกระทั่งมีการแต่งตั้ง พ.อ.ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลกิจการทั้งสิ้นที่เพชรบูรณ์แทนนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจอย่างนายกฯเรียกว่า รองนายกฯ ประจำเพชรบูรณ์ และเมื่อเดือนตุลาคม 2486 ได้มีการปรับปรุงเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ให้เป็นเทศบาลนครเพชรบูรณ์ เพื่อรองรับการก่อสร้างและการขยายตัวของเมืองหลวงใหม่

 

กำลังปรับปรุงศาลากลางหลังเก่าให้เป็นหอโบรารณคดี เพชรบูรณ์อินทราชัย

ตอนนี้ใกล้เสร็จล่ะ

 

9. ได้มีคำสั่งย้ายกรมโยธาเทศบาล (กรมโยธาธิการ) มาอยู่บ้านยาวี อำเภอเมืองฯ จัดการวางผังสร้างกรมไปรษณีย์ กรมทาง และกรมขนส่ง ที่บ้านท่าพล อำเภอเมืองฯ มีการวางแผนสร้างทางรถไฟจากอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มาที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จนถึงจังหวัดเลย มีการสร้างบำรุงถนนสายหลักเพชรบูรณ์ ตั้งแต่เชิงเขาวังชมภูถึงค่ายทหาร บ้านหินอาว อำเภอหล่มเก่า ตั้งกระทรวงศึกษาที่บ้านหนองแส ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก แม้แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีแผนที่จะต้องอพยพมาเปิดสอนที่เพชรบูรณ์ด้วย โดยจะสร้างที่บ้านไร่ ตำบลสะเดียง แต่ขณะนั้นโรงเรียนเตรียมจุฬาฯ ได้อาศัยเรียนที่โรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์ (เดิมเป็นโรงเรียนเพชรพิทยาคม)


ปัจจุบันเป็นเพียงแค่ลมพัดผ่าน เพชรบูรณ์ก็ยังไม่มีรถไฟเข้าถึงอยู่ดี

 

 

จากรูปด้านบน ตอนนี้ ปรับปรุงเป็นหอวัฒนธรรมไปเรียบบร้อย

 

10. การก่อสร้างและติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกนั้น จอมพล ป.พิบูลสงครามได้สั่งการให้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไว้หลายแห่งทั้งในเมืองและหน่วยราชการมีการเพิ่มโทรศัพท์ให้เพียงพอแก่ความต้องการของราชการปรับปรุงการโทรเลข มีการสร้างโรงหนังไทยเพ็ชรบูล สโมสรรัตนโกสินทร์และโรงแรมขึ้นในเขตเมืองเพชรบูรณ์เพื่อให้ข้าราชการได้ใช้เวลามาตรวจราชการ มีการสั่งการให้สร้างตลาดสดและอาคารเช่า 3 แห่ง คือ ตลาดเพชรบูรณ์ ตลาดวังชมภู และตลาดหล่มสัก ซึ่งทุกแห่งต้องมีโรงมโหรสพด้วย มีการออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ในนครบาลเพชรบูรณ์ชื่อ เพชรบูลชัย
ปัจจุบันมี เมเตฃจอร์ ซีนีเพล็กเข้ามาแทนล่ะ แต่กว่าจะมี

11. ได้มีการสั่งย้ายโรงพิมพ์ทุกประเภทมาที่เพชรบูรณ์ เพื่อเวลากรุงเทพฯถูกโจมตีทางอากาศไม่สามารถทำงานได้ จะได้ใช้โรงพิมพ์ตั้งใหม่ที่เพชรบูรณ์ พิมพ์หนังสือราชการ (ตั้งอยู่บ้านป่าแดง) และโรงพิมพ์ธนบัตร(อยู่ที่หนองนายั้ง) จัดตั้งโรงเลื่อยที่วังชมภูโดยกรมยุทธโยธา (โรงเลื่อย ยย.) สร้างกระทรวงสาธารณสุขที่บ้านวังซองตำบลท่าพล อำเภอเมืองฯ และโรงพยาบาลที่ร่องแคน้อย ตำบลสะเดียง (บริเวณสถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์ปัจจุบัน) ให้ชักชวนผู้รับเหมางานที่เพชรบูรณ์ เพราะมีการก่อสร้างทั้งส่วนราชการและเอกชนจำนวนมาก หากไม่มีใครมาก็ต้องเกณฑ์ให้มาจนพอแก่งาน

12. การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ได้ดำเนินการโดยเร่งด่วน และถือเป็นความลับของราชการ ยุทธของชาติตลอดมา เพื่อมิให้ข้าศึกรู้แผนการณ์ กระทั่งวันที่ 20 กรกฎาคม 2487 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เสนอพระราชกำหนดระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ฯ พ.ศ. 2487 ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่ออนุมัติเป็นพระราชบัญญัติ มีผลดำเนินการอย่างถาวรตลอดไป แต่ในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่อนุมัติด้วยคะแนนเสียง 48 ต่อ 36 ด้วยเหตุผลว่า "เพชรบูรณ์เป็นแดนกันดารภูมิประเทศเป็นป่าเขาและมีไข้ชุกชุม เมื่อเริ่มสร้างเมืองนั้นผู้ที่ถูกเกณฑ์ไปทำงานล้มตายลงนับเป็นพัน ๆ คน...." อนุสรณ์นครบาลเพชรบูรณ์แห่งนี้ จึงสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุญคุณและอัจฉริยภาพของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และเพื่อคนเพชรบูรณ์จะได้ภูมิใจในประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งและความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองตน

 

พระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านเมืองประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
(มีประวิตของพระพุทธรูปองค์นี้ จะหาโอกาสมาเล่าความน่าอัศจรรย์ของท่านให้ฟัง)
ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง



หลายๆประเทศในอาเซียนก็มีการย้ายเมืองหลวงใหม่ เพื่อให้บริหารจัดการง่ายขึ้น จัดผังเมืองใหม่ ซึ่งได้แก่ ประเทศพม่า ย้ายจากย่างกุ้ง ไป เนปิด ประเทศมาเลเซีย ย้ายจากกัวลาลัมเปอร์ ไป ปุตราจายาที่กำลังมีแนวคิดจะย้าย ประเทศอินโดนีเซีย 



Credit: http://www.soccersuck.com/boards/topic/1043636
28 เม.ย. 57 เวลา 10:41 15,123 1 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...