เรืออับปาง ตำนาน 5 อันดับ เรือล่ม ที่โลกไม่มีวันลืม

 

จากเหตุการณ์ที่น่าสลดใจ ที่เรือเซโวลอับปาง ทำให้คร่าชีวิตผู้โดยสารเป็นจำนวน   มากในวันพุธที่ 16 เมษายน 2557 ในเวลาประมาณ 9 นาฬิกา ที่ผ่านมา ต้องขอ   แสดงความเสียใจกับผู้ที่สูญเสียไปกับเหตุการณ์นี้ด้วย วันนี้เลยอยากนำเสนอ 5   อันดับเหตุการณ์เรืออับปางที่โลกไม่ลืม เพื่อเตือนสติให้กับทุกคนว่าอุบัติเหตุมัน   เกิดจากความประมาท และหวังว่าในอนาคตคงจะไม่มีเหตุการณ์อันน่าสลดใจ   แบบนี้เกิดขึ้นอีก

 

 

 

U.S.S.Maine เรืออับปาง ในปี 1898

 

U.S.S. Maine 

 

1895 รัฐบาลสเปนได้ส่ง General Valeriano Weyler y Nicolau เพื่อที่จะปราบปรามพวกกบฏคิวบา นายพลคนนี้รู้จักกันในอเมริกาว่า Butcher ซึ่งจากวิธีของนายพลคนนี้ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนอาหารในคิวบาและทำให้คน คิวบาตายไปกว่าหมื่นคน ทำให้สหรัฐเริ่มเข้ามาแทรกแซงเพื่อยุติสภาวะเช่นนี้โดยการให้รัฐบาลสเปนใน คิวบาเรียกตัวนายพลคนนี้กลับ และเปิดการเจรจากับฝ่ายกบฏ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งฝ่ายสนับสนุนนายพลคนนี้ได้ยุยงให้เกิดการจลาจลขึ้นในต้นปี 1898 จนทำให้รัฐบาลสหรัฐโดยปธน McKinley ได้ส่งเรือ USS Maine เพื่อที่จะคุ้มกันคนอเมริกันในคิวบา

ในตอนค่ำของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ USS. Maine ก็ได้ระเบิดขึ้นตรงส่วนล่างของเรือทำให้กลาสีเรือต้องเสียชีวิตทันที 260 คน และเสียชีวิตภายหลังอีกหกคน ซึ่งในภายหลังก็ได้มีการเปิดเผยของทีมงานสอบสวนว่าการระเบิดเกิดจากดินปืน ของปืนใหญ่จำนวนห้าตัน หลังจากการระเบิด เจ้าหน้าที่สเปนและเรือ City of Washington ก็ได้รุดมาช่วยเหลือคนเจ็บ ซึ่งตอนนั้นก็ได้มีการสงสัยกันว่าจะเป็นการก่อวินาศกรรม ถึงขนาดกัปตันของ USS Maine, Captain Charles Sigsbee ได้ลงท้ายในรายงานทางโทรเลขว่า อย่าเพิ่งให้ความเห็นใดๆต่อสาธารณะในตอนนี้จนกว่าจะมีรายงานความคืบหน้าเข้ามา เนื่องจากความตึงเครียดระหว่างสเปนและสหรัฐที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว

ทันทีที่เกิดเหตุ กระทรวงทหารเรือได้จัดตั้งทีมงานสอบสวนสาเหตุของเหตุการณ์นี้ซึ่งใช้เวลา ประมาณสี่อาทิตย์ แต่เนื่องจากซากเรือที่ยังอยู่ใต้น้ำที่ยังกู้ไม่ได้ ประกอบกับความไม่ชำนาญในทางเทคนิคของทีมงานสอบสวน ทำให้มีการสรุปออกมาว่ามีการระเบิดเกิดจากการจุดระเบิดของทุ่นระเบิดใต้น้ำ แต่ทีมงานไม่ได้ระบุว่า ทุ่นระเบิดใต้น้ำนั้นได้ถูกวางที่ตรงไหน หลังจากรายงานได้ออกไปสู่สาธารณะ ก็ได้มีการกล่าวหาว่ารัฐบาลสเปนได้อยู่เบื้องหลังการวินาศกรรมครั้งนี้

ปธน.สหรัฐได้ปิดล้อมน่านน้ำคิวบาในวันที่ 21 เมษายน และตามด้วยการประกาศสงครามกับสเปนในวันที่ 23 เมษายน 1898 หลังจากนั้นในปี 1911 ทีมงานสอบสวนเหตุการณ์นี้ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอีกชุดหนึ่ง หลังจากทีสภาของสหรัฐได้ให้งบประมาณในการกู้ซากเรือ USS Maine ซึ่งจากการสำรวจจุดที่ระเบิด ทีมสอบสวนก็ได้สรุปว่า ทุ่นระเบิดใต้น้ำได้ระเบิดตรงแผงบรรจุลูกปืนสำรองขนาดหกนิ้ว ซึ่งเป็นสาเหตุของการระเบิดของเรือ USS Maine และทำให้จมลง

ในเวลาเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคมีความเห็นไม่ตรงกับข้อสรปของทีมสืบสวน เขาเชื่อว่าการเผาไหม้เองของถ่านหินในถังใส่ถ่านหินที่อยู่ติดกับแผงบรรจุ ลูกปืนน่าจะเป็นสาเหตุหลักมากกว่าที่จะเป็นการก่อวินาศกรรม ซึ่งความเห็นนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากทีมสอบสวนอิสระของ Admiral Hyman G. Rickover ผู้เขียนหนังสือ How the Battleship Maine Was Destroyed ในปี 1976 แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านก็ปฏิเสธผลสรุปของผู้เชี่ยวชาญ และ ท่านจอมพลคนนี้โดยให้เหตุผลว่าเป็นไปไม่ได้ที่ผู้รับผิดชอบในส่วนของห้อง เก็บถ่านหินจะไม่เห็นสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น แต่ว่าในส่วนของบทสรุปที่มีทุ่นระเบิดใต้น้ำมาเกี่ยวข้องหลักฐานสนับสนุนก็ มีน้อยมากเช่นกัน

 

German Battleship Bismarck

เรืออับปาง ในปี 1941

 

Schlachtschiff Bismarck

 

หลังประสบความสำเร็จในการต่อเรือลาดตระเวณประจัญบานชั้น กไนส์เนาส์ จึงได้เริ่มโครงการต่อเรือประจัญบานชั้นบิสมาร์คขึ้น โดยได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1936 และปล่อยลงน้ำในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1939 โดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมัน และ โดโรธี ฟอน โลเวนเฟล หลานของ ออตโต ฟอน บิสมาร์ค อดีตรัฐบุรุษแห่งจักรวรรดิเยอรมัน มาเป็นประธานการปล่อยเรือลงน้ำ บิสมาร์ค ขึ้นระวางประจำการในวันที่ 24สิงหาคม ค.ศ. 1940 มีนาวาเอก เอิร์นส์ ลินเดอมานน์ เป็นผู้บังคับการเรือคนแรกและคนเดียวหลังการเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง

เยอรมันได้ทำการส่งกองเรือผิวน้ำและกองเรือดำน้ำออกปฏิบัติการจมกองเรือ ลำเลียงของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างหนัก และประสบความสำเร็จอย่างสูง ระหว่างฤดูหนาว ปี1940-1941 ในปฏิบัติการโจมตีกองเรือลำเลียงของอังกฤษในยุทธการเบอร์ลิน โดยเรือลาดตระเวณประจัญบาน ชาร์นฮอร์ส และ กไนเนาส์ ภายใต้การบัญชาการของ พลเรือเอก กึนเธอร์ ลึทเจนต์ ประสบความสำเร็จอย่างสูง สามารถจมและยึดเรือข้าศึกได้ 22 ลำ รวมระวางขับน้ำ 116,000 ตัน

ฝ่ายเสนาธิการทหารเรือเยอรมันต้องการเห็นความสำเร็จในปฏิบัติการของกองเรือ ผิวน้ำอย่างต่อเนื่อง จึงตัดสินใจจะให้ส่งกองเรือรบผิวน้ำขนาดใหญ่ที่สุดที่เยอรมันมี ได้แก่ เรือประจัญบาน บิสมาร์ค และ ทีร์ปีตส์ เรือลาดตระเวณประจัญบาน กไนส์เนาส์ และ ชาร์นฮอร์สต์ เข้าปฏิบัติการต่อตีกองเรือผิวน้ำของฝ่ายพันธมิตรร่วมกัน แต่ปัญหาคือ ชาร์นฮอร์สต์ ต้องทำการซ่อมแซมเครื่องจักรใหญ่ในอู่แห้งจนถึงเดือนมิถุนายน ทีร์ปีตส์ เพิ่งขึ้นระวางประจำการในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และยังไม่พร้อมปฏิบัติการจนกว่าจะถึงฤดูใบไม้ผลิ มีเพียงบิสมาร์คเท่านั้น ที่เพิ่งเสร็จสิ้นการซ้อมในทะเลบอลติกและพร้อมออกปฏิบัติการ โดนจมโดยกองเรือของราชนาวีอังกฤษ หลังจากสร้างวีรกรรมจมเรือที่เป็นเรือธงของอังกฤษ (เรือฮู้ด)

 

British Liner Lusitania เรืออับปาง ในปี 1915

 

British Liner Lusitania

 

อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย (อังกฤษ: RMS Lusitania) คือชื่อเรือเดินสมุทรของสายการเดินเรือคูนาร์ด (อังกฤษ: Cunard Line) เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1904 สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1907 เป็นเรือคู่แฝดกับอาร์เอ็มเอส มอริเตเนีย (อังกฤษ: RMS Mauretania) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าลูซิเทเนียถึง 400 ตัน ซึ่งครั้งหนึ่งเรือคู่นี้เคยเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเรือที่เร็วที่ สุดในโลก ถูกจมลงโดยเรือดำน้ำเยอรมันยิงตอร์ปิโดเข้าใส่ เรือลูซิเทเนีย จนอับปางลง ใน 18 นาที คร่าชีวิตลูกเรือ 1,198 คน

 

 

American Battleship U.S.S.Arizona

เรืออับปาง ในปี 1941

 

 

เรือ USS Arizona ถูกจมลงที่อ่าว Pearl Harbor ซุึ่งถูกกองทัพญี่ปุ่นบุกแบบไม่ได้ตั้งตัวมาก่อน ส่งผลให้มีทหารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เรือ แ ถูกจมเป็นลำท้ายๆของการโจมตี แต่เสียหายอย่างมาก เพราะเกิดระเบิดอย่างรุนแรงที่ห้องเก็บอาวุธของเรือ ส่งผลให้เรือรบขนาดใหญ่จมลงภายในเวลาไม่ถึง 9 นาทีพร้อมกับพาลูกเรือ 1,177 นาย ส่วนความเสียหายนับไม่ถ้วน เรือ USS Arizona เป็นหนึ่งใน เรือรบกว่า 19 ลำที่ถูกจมในเวลาไม่ถึงชั่วโมง เพราะไมไ่ด้มีการเตรียมตัวมาก่อน

 

 

British Liner Titanic เรืออับปาง ในปี 1912

 

British Liner Titanic

 

อาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) หรือ เอสเอส ไททานิก (SS Titanic) คือชื่อเรือเดินสมุทรของบริษัทไวท์ สตาร์ ไลน์ (White Star Line) เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1909 สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1911 ที่เบลฟาสท์, ไอร์แลนด์ (Belfast, Ireland) พร้อมๆ กับเรือคู่แฝดที่ชื่อว่า อาร์เอ็มเอส โอลิมพิก (RMS Olympic) ซึ่งเบากว่าไททานิกถึง 1000 ตัน ลักษณะเฉพาะของเรือ ไททานิกเป็นเรือที่เปิดศักราชใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเรือเดินสมุทร

เนื่องจากเป็นเรือลำแรกๆ ของโลกที่สร้างโดยโลหะและรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2433 คน ยาว 269.0622 เมตร กว้าง 28.194 เมตร หนัก 46328 ตันอิมพีเรียล(47071434.4681 กิโลกรัม) แบ่งเป็น 9 ชั้น เรียงจากชั้นบนลงชั้นล่างได้ดังนี้ 9.ดาดฟ้า สงวนไว้ให้ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง มีปล่องไฟ 4 ตัว สูงตัวละ 19 เมตร เครื่องยนต์ 3 ตัว หมุนใบจักร 3 ใบ รวม 50000 แรงม้า เร่งความเร็วเรือได้สูงสุด 24 น็อต(44.448 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ห้องเครื่องทั้ง 16 ห้องมีกำแพงสูงถึงชั้น F และมีประตูกลซึ่งจะปิดลงมาทุกบานทั่วลำเรือเมื่อพบเหตุผิดปกติที่ห้อง เครื่องใดห้องเครื่องหนึ่ง ซึ่งถ้าหากไม่เกิดรอยรั่วในหลายห้องเครื่องจนเกินไป ตามหลักการลอยตัวแล้ว เรือจะไม่จม ถึงแม้จะเป็นจุดอ่อนที่สุดของเรือซึ่งก็คือหัวเรือ ก็ยังรับรอยแตกได้ถึง 4 ห้องเครื่องติดกันโดยไม่จม

แต่ว่าเรือสำรองช่วยชีวิตหรือเรือบดนั้นเพียงพอสำหรับผู้โดยสารเพียง 1178 คนเท่านั้น การเดินทางครั้งแรก เริ่มการเดินทางที่ เซาแธมทัน, อิงแลนด์ (Southampton, England) ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ควบคุมโดยกัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิธ (Edward J. Smith) เพื่อเดินทางไปยังนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางครั้งนั้น มีผู้เดินทางรวมทั้งหมด 2217 คน แบ่งเป็นผู้โดยสารชั้น 1, ผู้โดยสารชั้น 2, ผู้โดยสารชั้น 3 และลูกเรือ วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ขณะเดินทางอยู่ทางใต้ของแกรนด์แบงค์ ของนิวฟันด์แลนด์

เวลา 23.39 น. เวรยามที่เสากระโดงแจ้งว่าได้พบภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้าเรือ ลูกเรือจึงได้เลี้ยวลำเรือเพื่อหลบเลี่ยง แต่เนื่องจากใบจักรและหางเสือที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของเรือ ทำให้ผู้บังคับเรือซึ่งยังไม่ชินกับการบังคับเรือใหญ่ขนาดนี้ทำให้กะขนาดการ เลี้ยวผิด และชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง ที่ 41 องศา 46 ลิปดาเหนือ 50 องศา 14 ลิปดาตะวันตก เมื่อ23.40 น. เรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็งทางกราบขวาหัวเรือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนทนรอยแตกได้ไม่อึดเท่าจุดอื่นๆ และห้องเครื่องส่วนหัว 5 ห้องเครื่องแรกก็เกิดรอยรั่ว แต่หัวเรือเป็นจุดอ่อนที่สุดในเรือที่สามารถรับรอยแตกต่อเนื่องจากหัวเรือ ได้เพียง 4 ห้อง

วิศวกรผู้สร้างเรือบอกว่า น้ำจะท่วมห้องเครื่องทั้งห้าสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อท่วมมิดชั้นF เริ่มไหลขึ้นชั้นE น้ำจึงเข้าท่วมห้องเครื่องที่ 6 และท่วมไปทีละห้องๆ และจมในที่สุด ลูกเรือก็คิดว่าเรือคงจะจมเร็วมาก จึงปล่อยเรือบดออกทั้งๆที่ยังใส่คนไม่เต็มลำ เวลา 02.20 น. ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรือทั้งลำจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ผู้โดยสารและลูกเรือ 2217 ชีวิต รอดชีวิตเพียง 704 ชีวิต เสียชีวิตทั้งหมด 1513 ราย

เวลาประมาณ 04.20 น. เรือโดยสารขนาดใหญ่ชื่อ “อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย” (RMS Carpathia) ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือบดทั้งหมด และพาสู่นิวยอร์ก ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1912 จากนั้น ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1985 ซากเรือไททานิคได้ถูกค้นพบอีกครั้ง

 

*****************************

Credit: http://men.mthai.com/men-around/48187.html
24 เม.ย. 57 เวลา 00:05 2,520 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...