ความ ชุ่มฉ่ำของเทศกาลสงกรานต์ทำให้หลายคนนึกถึงอุปกรณ์ไอทีกันน้ำ วันนี้สมาร์ทโฟนรุ่นใหญ่อย่าง Samsung Galaxy S5 ประกาศว่าตัวเองมีจุดขายที่คุณสมบัติ "กันน้ำ-กันฝุ่น" ขณะที่ก่อนหน้านี้ Sony Xperia Z1 รวมถึงรุ่นใหม่ล่าสุด Z2 ก็ประกาศจุดขายที่คุณสมบัติกันน้ำเช่นกัน แต่ปัญหาคือ ดูเหมือนว่าความสามารถในการกันน้ำของสมาร์ทโฟนวันนี้ อาจยังไม่เสถียรพอที่เราผู้บริโภคควรจะวางใจและควักกระเป๋าซื้อสมาร์ทโฟน เพราะคุณสมบัตินี้ แถมผู้ใช้ทุกคนยังควรต้องแยกแยะให้ได้ระหว่าง waterproof และ water-resistant ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการใช้งาน
หลัง จากสงครามประชันความละเอียดกล้องดิจิตอลหลักล้านพิกเซลสุดดุเดือด และศึกชิงเจ้าชิปประมวลผลหลายคอร์แห่งยุทธภพ เทรนด์ใหม่ที่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนกำลังมุ่งแข่งขันคือการเพิ่มความสามารถที่จะ เป็นประโยชน์จริงจังในการใช้งานประจำวัน ปรากฏว่าสมาร์ทโฟนตัวท็อปของตลาดอย่างSamsung Galaxy S5 ถึงรุ่นกลางอย่าง OPPO Find 7 ล้วนลงมาเล่นในสังเวียน"มือถือกันน้ำ"จนทำให้คำนี้กลายเป็นกระแสหรือ buzzword คำใหม่ ซึ่งอาจทำให้หลายคนหลงตื่นเต้นทั้งที่ไม่รู้ว่าคุณสมบัติกันน้ำนี้มีความ เสถียรหรือจำเป็นมากน้อยเพียงใด
***water-resistant ไม่ใช่ waterproof
สิ่ง แรกที่ผู้พิสมัยคุณสมบัติกันน้ำในสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ไอทีทุกชนิดควรทำความ เข้าใจให้แจ่มแจ้ง คืออุปกรณ์จำนวนมากในท้องตลาดนั้นไม่ได้มีความสามารถ waterproof ที่ตัวเครื่องจะไม่มีความเสียหายใดๆจากการใช้งานใต้น้ำลึกเป็นเวลานาน แต่เป็นเพียง water-resistant หรือความสามารถในการ"ทนน้ำ" ซึ่งเพียงแค่"กันน้ำกระเซ็น"หรือการแช่ในน้ำตื้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ค่าย มือถือเชื่อว่า water-resistant นั้นเพียงพอแล้วในการใช้งานสมาร์ทโฟนในชีวิตประจำวัน ความเป็น water-resistant ทำให้ผู้ใช้อุ่นใจได้แม้สมาร์ทโฟนเปียกฝน เผลอทำเครื่องตกอ่างน้ำ และบังเอิญทำเครื่องดื่มหกใส่ แต่ผู้ใช้จะไม่สามารถนำเครื่องไปดำน้ำ snorkeling รวมถึงนำเครื่องไปใช้งานใต้น้ำตกนานนับชั่วโมง เพราะ 2 สถานการณ์หลังต้องการความสามารถ waterproof
แม้ คำจำกัดความที่ผู้บริโภคต้องพิจารณาขีดความสามารถในการกันน้ำคือค่า IP หรือที่ย่อมาจาก “Ingress Protection” แต่บางครั้ง คำว่า “กันน้ำได้” ก็มีออร่าสว่างไสวจนทำให้ผู้บริโภคมากมายเชื่อว่ามือถือกันน้ำกันฝุ่นสามารถ ทำงานได้ทุกสถานการณ์ จนทำให้ผู้ใช้มือถือกันน้ำหลายคนต้องนำมือถือที่เสียหายจากการตกน้ำไปเคลม ประกันหรือส่งซ่อมกับศูนย์บริการแบบสุดงง
เพื่อไม่ให้ต้องพบ กับสถานการณ์สุดงงนี้ ผู้ใช้ควรรู้ความหมายของมาตรฐานระดับความสามารถในการกันน้ำของอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่นGalaxy S5 ถูกเปิดตัวพร้อมยืนยันว่าเป็นอุปกรณ์ที่กันน้ำกันฝุ่นได้ตามมาตรฐาน IP67 ขณะที่คู่แข่งอย่าง Xperia Z2 ระบุว่ากันน้ำกันฝุ่นมาตรฐาน IP58
วิธี สังเกตคือ ผู้ใช้ต้องแยกตัวเลขหน้าและหลัง ตัวเลขหลักแรกจะเป็นความสามารถในการกันฝุ่นและของแข็ง โดยเริ่มจาก '0' คือไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันใดๆ แล้วก็เพิ่มขึ้นไปต่อเนื่องตามตัวเลขที่มากขึ้น ขณะที่เลขหลักที่สองจะแสดงความสามารถในการป้องกันของเหลว ซึ่งจะไล่ลำดับจากน้อยไปมากตามระดับความป้องกันที่แน่นหนาขึ้นเช่นเดียวกัน
เลข หลักแรกจะประกอบด้วย 0-6 ระดับ 0 นั้นหมายถึงการไม่ป้องกันใดๆเลย โดยระดับ 1 สามารถป้องกันการกระแทกจากวัตถุหรือของแข็งขนาดใหญ่เกิน 50 มม. ระดับ 2 คือป้องกันการกระแทกจากวัตถุขนาดใหญ่เกิน 12.5 มม. ระดับ 3 และ 4 สามารถกันการกระแทกจากวัตถุขนาดเกิน 2.5 มม. และ 1 มม. ตามลำดับ และระดับ 5 คือการป้องกันฝุ่น ขณะที่ระดับ 6 คือการป้องกันฝุ่นอย่างสมบูรณ์แบบ
ตัว เลขหลักหลังประกอบด้วย 0-8 โดยความสามารถระดับ 0 หมายถึงการไม่ป้องกันความชื้นทุกกรณี ระดับ 1 คือสามารถป้องกันน้ำหยดใส่ได้ เช่น หยดน้ำที่เกิดจากความชื้น ระดับ 2 สามารถป้องกันละอองน้ำที่เข้ามาในมุมไม่เกิน 15 องศาจากแนวตั้ง ระดับ 3 สามารถป้องกันละอองน้ำที่เข้ามาในมุมไม่เกิน 60 องศาจากแนวตั้ง ขณะที่ระดับ 4 สามารถป้องกันละอองน้ำได้จากทุกทิศทาง
ระดับ 5 ขยับจากละอองน้ำมาเป็นการสาดน้ำ จุดนี้คณะกรรมการ European Committee for Electro Technical Standardization (CENELEC) ผู้กำหนดมาตรฐานนี้ให้คำนิยามไว้ว่าสามารถรองรับการเทน้ำที่ความจุ 10 ลิตร นาน 5 นาที ขณะที่ระดับ 6 สามารถเปียกน้ำได้แต่ไม่นาน ซึ่งลมฝนสามารถเทียบเท่าได้ในระดับนี้
ระดับ 7 นั้นหมายถึงอุปกรณ์สามารถจุ่มน้ำได้ที่ความลึกตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร และระดับ 8 คือสามารถใช้งานใต้น้ำได้แบบเบ็ดเสร็จ
***กันน้ำไม่ทุกชนิด
สิ่ง ต่อมาที่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ไอทีกันน้ำได้ คือมาตรฐานกันน้ำเหล่านี้ถูกทดสอบผ่านน้ำบริสุทธิ์ ทำให้น้ำคลอง น้ำทะเล หรือน้ำปลาหวานอาจให้ผลลัพธ์ไม่เหมือนที่ผู้ผลิตได้ทดสอบเครื่องมา จุดนี้ โทรศัพท์แต่ละรุ่นจะมีการระบุในคู่มือชัดเจนว่า ใช้ได้ในน้ำประเภทใด ซึ่งผู้ใช้ต้องเข้าใจข้อจำกัดนี้อย่างละเอียด
ยกตัวอย่าง เช่น Xperia Z ข้อมูลระบุว่าสมาร์ทโฟนจาก Sony ไม่รองรับการใช้ในสระว่ายน้ำ ไม่รองรับการใช้ในทะเล ถ้านำลงไปใช้แล้วน้ำเข้าไปทำความเสียหายกับเครื่อง ก็มีโอกาสถูกประเมินว่าไม่เข้าข่ายเงื่อนไขรับประกันเนื่องจากใช้นอกเหนือ คุณสมบัติ ซึ่งมีระบุใว้ในเอกสาร ขณะที่รุ่น Xperia ZR เอกสารจะระบุว่ารองรับการใช้ในสระว่ายน้ำได้แล้ว แต่ก็ยังไม่รองรับการใช้ในทะเลเช่นกัน
ถาม ว่าทำไมผู้ผลิตสินค้าไอทีและค่ายมือถือไม่พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ มาตรฐาน IP68 แบบสุดยอดไปเลย คำตอบคือการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่รองรับการกระแทกและความชื้นในแต่ ระดับนั้นใช้เวลาไม่น้อย ขณะเดียวกัน การกันน้ำโดยใช้ยางซิลิโคนกันน้ำนั้นให้ผลลัพท์ที่แตกต่างไปตามปัจจัยทั้ง สภาพน้ำและอากาศ จุดนี้ทำให้ซิลิโคนอาจทำงานได้ไม่เสถียรในน้ำที่ไม่บริสุทธิ์ เช่น น้ำผสมสบู่ น้ำยาสารเคมีต่างๆ น้ำทะเล น้ำหวาน และน้ำอื่นๆ
ที่ สำคัญ ความเสี่ยงจากอากาศร้อนของประเทศไทยอาจทำให้คุณภาพซิลิโคนเสื่อมเร็วว่า อากาศเย็นสบายในประเทศอื่น ดังนั้น ด้วยปัจจัยที่มีเงื่อนไขและข้อจำกัดทำให้ผู้ใช้ต้องรู้ว่ายังมีที่สถานการณ์ ต้องป้องกันเครื่องไว้ และต้องคำนึงตลอดเวลาว่าสามารถนำเครื่องไปลุยใช้งานได้ในระดับไหน
***แค่กิมมิกสร้างความต่าง
แม้ นักการตลาดจะวิเคราะห์ว่า ผู้บริโภคจะคำนึงถึงคุณสมบัติหลักของเครื่องอย่างความละเอียดหน้าจอคมชัด แบตเตอรี่อายุการใช้งานสุดอึด หรือประสิทธิภาพการใช้งานที่ลื่นไหลมากกว่าความสามารถในการป้องกันน้ำถึง ระดับใด แต่อย่างน้อย ความสามารถในการกันน้ำของอุปกรณ์ไอทีก็ยังเป็นจุดสนใจที่สามารถสร้างความแตก ต่างระหว่างสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชนิดเดียวกันได้ โดยเฉพาะกลุ่มสมาร์ทโฟน
การ สำรวจล่าสุดในปี 2012 ของสถาบัน Kelton Research พบว่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากกว่า 29% ต้องเสียอารมณ์กับเครื่องที่เสียหายเพราะเครื่องดื่มที่บังเอิญหกใส่ ตัวเลขนี้ทำให้อนุมานได้ว่าผู้ใช้จำนวนไม่น้อยจะให้การต้อนรับมือถือกันน้ำ อย่างดี
ฉะนั้น ใครที่คิดจะพกมือถือกันน้ำไปเล่นสงกรานต์ อย่ามโนไปเอง และศึกษาให้ดีว่าอุปกรณ์ไอทีกันน้ำของคุณได้มาตรฐานใด
***รู้หรือไม่
ญี่ปุ่น เป็นประเทศแรกในโลกที่มีการทำตลาดสมาร์ทโฟนกันน้ำอย่างจริงจัง เหตุผลที่ทำให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแทบทุกแบรนด์มีการพัฒนาสมาร์ทโฟนกันน้ำได้ คือวัฒนธรรมการแช่ออนเซนที่ชาวญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัยนิยม โดยส่วนใหญ่ชื่นชอบการนำเอามือถือเข้าไปแช่ในอ่างอาบน้ำที่บ้าน ทำให้ทั้งชาร์ป (Sharp) โตชิบา (Toshiba) ฟูจิตซึ (Fujitsu) หรือพานาโซนิก (Panasonic) หันมาพัฒนาสมาร์ทโฟนกันน้ำอย่างจริงจัง