ที่มา : msn.com
เอดา ไบรอน เลิฟเลซ (Augusta Ada King, Countess of Lovelace) ค.ศ. 1815 - 1852 เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ บุตรสาวคนเดียวของกวีดัง Lord Byron และภรรยา Anne Isabella เธอมีชื่อเสียงโด่งดังจากการร่วมงานกับเพื่อนนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ Charles Baggage ในการบุกเบิกวิศวกรรมคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานทั่วไปชื่อ 'เครื่องยนต์วิเคราะห์ (Analytical Engine)'
เมื่อปี 1843 เธอเคยแปลบทความเกี่ยวกับเครื่องยนต์ของวิศวกรชาวอิตาลี Luigi Menabrea ที่เธอได้เติมแต่งโน้ตเพิ่มเติมลงไปเองด้วย ในโน้ตดังกล่าวนั้น นับเป็นชุดคำสั่งอัลกอริธึมชิ้นแรกที่ตั้งใจให้นำไปใช้งานกับเครื่องจักร เลยทำให้เธอกลายเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก ถ้าไม่ได้ผลงานของเอดา เทคโนโลยีที่เราใช้กันอยู่แทบทุกวันนี้คงไม่ได้มีหน้าตาแบบนี้แน่นอน
บูเช็กเทียน ค.ศ. 624 – 705 คือพระจักรพรรดินีนาถในสมัยราชวงศ์โจว พระนางทรงสถาปนาราชวงศ์ของพระนางเองต่อจากพระสวามีสมเด็จพระจักรพรรดิถังเกาจง พระนางบูเช็กเทียนทรงขยายขอบเขตของแผ่นดินจีนไปอย่างกว้างขวาง ในขณะที่ก็ทรงพยายามสร้างอำนาจปกครองเบ็ดเสร็จในแผ่นดินของพระนาง
พระนางทรงยกสถานะของศาสนาพุทธให้เหนือกว่าลัทธิเต๋า สร้างความยุติธรรมให้เกษตรกร ทำให้พระราชสำนักมีความแข็งแรง ใส่ใจด้านศิลปะและวัฒนธรรมของชาติจีน พระนางบูเช็กเทียนถูกปฏิวัติโค่นอำนาจเมื่อปี 705 และทรงเสด็จสวรรคตในปีเดียวกันนั้นเอง
บูดิกา (Boudicca) ค.ศ. 30 - 61 คือราชินีนักรบของเผ่าเซลติก ไอซีนี่ และเป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับชาวไบรตันเป็นอย่างมาก เธอเป็นผู้นำในการยกทัพขับไล่ชาวโรมัน การต่อสู้ครั้งสุดท้ายของเธอเมื่อ ค.ศ. 61 แม้กองทัพชาวเซลท์ของเธอจะพ่ายแพ้ และชัยชนะต้องตกเป็นของฝ่ายชาวโรมัน แต่ราชินีบูดิกา ก็กลายเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวบริเตนหรืออังกฤษในปัจจุบันเรื่อยมา เจ้าชายอัลเบิร์ต พระสวามีของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธได้ทรงสั่งการให้สร้างสนุสาวรีย์ของราชินีนักรบพระองค์นี้ ที่ใกล้กับรัฐสภาอังกฤษ ริมแม่น้ำเทมส์ กรุงลอนดอน
มารี กูรี (Marie Curie) ค.ศ. 1867 – 1934 คือผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 สาขา (สาขาหนึ่งเธอได้ร่วมกับสามี ปีแอร์ ซึ่งเสียชีวิตในอุบัติเหตุไปอย่างน่าเสียดาย) เธอเป็นผู้ค้นพบธาตุ 2 ธาตุ ซึ่งก็คือ 'เรเดียม' กับ 'โปโลเนียม' และตั้งความหมายของคำว่า 'กัมมันตภาพรังสี' รวมกับสามี และเธอก็ยังเป็นคนแรกที่คิดเอารังสีไปใช้รักษาโรคมะเร็ง มารี กูรี มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนมนุษยชาติสู่ยุคพลังงานนิวเคลียร์ เป็นผู้ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์เคมี, ฟิสิกส์, และวงการแพทย์ พร้อมๆกับที่ต้องต่อสู้กับอคติที่มีต่อผู้หญิงในวงการวิทยาศาสตร์ด้วย
โจนออฟอาร์ก (Joan of Arc) ค.ศ. 1412 – 1431 เกิดที่เมืองทางตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส เธอได้รับการยกย่องให้เป็นวีรสตรีของชาวฝรั่งเศสหลังจากนำกองทัพฝรั่งเศสเอาชนะฝ่ายอังกฤษได้ที่เมืองออร์เลอองส์เมื่อเธออายุได้ 18 ปี แต่ปีถัดมา เธอก็ถูกชาวอังกฤษที่ได้ความช่วยเหลือจากชาวฝรั่งเศสจับเผาทั้งเป็นในข้อหาเป็นพวกนอกรีต 500 ปีต่อมา เธอก็ได้รับการประกาศแต่งตั้งให้เป็นนักบุญ หลังจากการพิพากษาครั้งใหม่ที่ศาลสรุปว่าเธอเป็นผู้บริสุทธิ์
อะมีเลีย แอร์ฮาร์ต (Amelia Earhart) ค.ศ. 1897 – 1937 เป็นนักบินหญิงคนแรกที่บินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตลิกติก จนได้รับกางเขนกล้าหาญ (Distinguished Flying Cross) จากรัฐสภาอเมริกัน เธอเป็นสมาชิกพรรคสตรีแห่งชาติ (National Woman's Party) และเป็นคนกลุ่มแรกๆที่เรียกร้องสิทธิความเท่าเที่ยมกันระหว่างชาย-หญิง แต่น่าเศร้าที่เธอหายสาบสูญไปในปี 1937 ในระหว่างการเดินทางสร้างสถิติบินรอบโลก และแม้ภารกิจของเธอจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่เธอก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าความสามารถของผู้หญิงนั้นมีมากแค่ไหน
ฟรีดา คาห์โล (Frida Kahlo) ค.ศ. 1907-1954 เป็นที่รู้จักในฐานะจิตรกรที่โด่งดังที่สุดของชาวเม็กซิกัน เธอเป็นสัญลักษณ์ของพลังความคิดสร้างสรรค์จากสตรี ฟรีดาเริ่มวาดภาพหลังจากเธอได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุถูกรถบัสชน ซึ่งยังคงทิ้งร่องรอยบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกรานของเธอเรื่อยมา เธอเริ่มต้นวาดภาพในช่วงพักฟื้น จนกระทั่งสามารถวาดภาพตัวเองภาพแรกได้สำเร็จในปีต่อมา เธอยังมีบทบาททางด้านการเมืองด้วยการเข้าร่วมกลุ่มเยาวชนคอมมิวนิสต์ ต่อด้วยการร่วมพรรคเม็กซิกันคอมมิวนิสต์ และแต่งงานกับเพื่อนจิตรกรคอมมิวนิสต์ Diego Rivera
นักปราชญ์หญิงชาวอังกฤษ แมรี วอลสโตนคราฟท์ (Mary Wollstonecraft) ค.ศ. 1759 - 1797 เป็นหนึ่งในนักปรัชญาผู้ออกมาเรียกร้องสิทธิสตรีคนแรกๆในประวัติศาสตร์ ความคิดที่แหวกยุคของเธอถูกแสดงผ่านผลงานขึ้นชื่อต่างๆมากมาย อย่างเช่นผลงานชื่อ A Vindication of the Rights of Women เมื่อปี 1792 ของเธอที่ส่งผลผลักดันกระบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีไปทั่วโลก
เธอต่อต้านความคิดที่ว่าผู้หญิงต้องยึดติดอยู่กับหน้าที่ทำงานบ้านเท่านั้น เธอชี้ว่าหากเพศหญิงได้รับโอกาสทางการศึกษาเช่นเดียวกับเพศชาย ก็จะไม่ได้ด้อยกว่าเพศชายตามกฎธรรมขาติแต่อย่างใด ความคิดของเธอจุดประกายและสร้างประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันเรื่อยมาแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้
หลังจากใช้ชีวิตผิดยุคผิดสมัยเรื่อยมา พอปี 1797 เธอก็เสียชีวิตลงหลังจากให้กำเนิดลูกสาวคนที่ 2 Mary Wollstonecraft-Godwin ได้เพียง 10 วัน ผู้ที่ต่อมาได้ให้กำเนิดนิยายสุดคลาสสิคเรื่อง Frankenstein นั่นเอง
ในปี 1955 ช่างเย็บผ้ารายนี้ปฏิเสธไม่สละที่นั่งของเธอให้คนผิวขาวในรถบัสจนกลายเป็นเรื่องโด่งดัง เธอถูกจับตั้งข้อหาละเมิดกฎหมายแบ่งแยกสีผิวที่เป็นที่รู้จักในชื่อของกฎหมาย 'จิมโครว์' พาร์คส์ ต่อสู้คดีและลุกขึ้นท้าทายกฎหมายเหยียดผิว การจับกุมเธอส่งผลให้คนผิวสีพร้อมใจกันแบน ไม่ขึ้นรสบัสที่มอนโกเมอรี่ นำโดย มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงแบบไร้ความรุนแรง เรียกร้องสิทธิพลเมืองครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
69 - 30 ปีก่อนคริสตกาล หนึ่งในผู้หญิงที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกยุคก่อน และยังเป็นหนึ่งในสตรีผู้ปกครองที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ พระราชประวัติของพระนางคลีโอพัตรายังคงทำให้ใครหลายๆคนต้องทึ่งอยู่เสมอๆ ด้วยการที่ทรงปกครองในราชวงศ์ปโตเลมีร่วมกับพระบิดา และต่อมาร่วมกับเหล่าพระอนุชา (ที่พระนางทรงอภิเษกสมรสด้วยตามประเพณีของชาวอียิปต์) ก่อนจะทรงก้าวขึ้นปกครองแต่เพียงพระองค์เดียว
พระนางคลีโอพัตรามีชื่อเสียงจากการเชื่อมสัมพันธ์กับจักรพรรดิโรมัน จูเลียส ซีซาร์ ที่ช่วยรวบรวมอำนาจของพระนาง กลายเป็นประเด็นในหน้าประวัติศาสตร์ที่ 2 อารยธรรมยิ่งใหญ่แต่แตกต่าง สามารถหันมาเป็นมิตรกันได้ ในช่วงที่อำนาจของพระนางเจริญถึงขั้นสูงสุด พระนางได้แผ่อำนาจปกครองขยายไปไกลจนเกือบทั่วชายฝั่งทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน เป็นราชอาณาจักรสุดท้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกว่าที่ฟาโรห์พระองค์ไหนทรงเคยทำได้เลยทีเดียว