คุซานางิ…ตำนานดาบศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิ!!

 

 

 

คุซานางิ…ตำนานดาบศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิ!!

 

 

ถ้าจะพูดถึงดาบในตำนานของญี่ปุ่นแล้วนั้น ชื่อ “คุซานางิ” คงจะต้องถูกยกขึ้นมาเป็นลำดับแรกสุด… คุซานางินั้นอาจจะเป็นชื่อที่คุ้นหูวัยรุ่นไทยเป็นอย่างมาก เพราะการ์ตูนญี่ปุ่นไม่ว่าเรื่องอะไร ก็มีชื่อหรือดาบชื่อนี้ปรากฎเป็นตำนานอยู่เสมอ!!


ดาบคุซานางิ (Kusanagi-no-Tsurugi : 草薙の剣) หรือแปลเป็นไทยว่า “ดาบตัดหญ้า” โดยมีชื่อเรียกอีกหนึ่งชื่อว่าดาบอาเมโนะมุราคุโม (Amenomurakumo-no-Tsurugi : 天叢雲剣) แปลว่าดาบเมฆสวรรค์ชุมนุม!!! เป็น 1 ใน 3 เครื่องราชศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวจักรพรรดิญี่ปุ่นร่วมกับแก้วยาซากะนิ (Yasakani-no-Magatama : 八尺瓊勾玉) และกระจกยาตะ (Yata-no-Kagami : 八咫鏡) ซึ่งหมายถึงองค์ธรรมสามประการคือ ดาบแทนความกล้า แก้วแทนความเมตตา และกระจกแทนสติปัญญานั่นเอง

 

ดาบคุซานางิ แก้วยาซากะนิ กระจกยาตะ

 

ดาบคุซานางินั้นมีที่มาตามตำนานว่า เทพซูซาโนโอะ (Susanoo-no-Mikoto : 須佐之男命) ที่ถูกเนรเทศลงมายังโลกมนุษย์นั้นได้เข้าช่วยเหลือหญิงสาวจากหมู่บ้านหนึ่งจากงูใหญ่ 8 หัวที่มีชื่อว่ายามาตะโนะโอโรจิ (Yamata-no-Orochi : 八岐大蛇) ซึ่งเจ้างูใหญ่ตัวนี้ได้ลักพาตัวหญิงสาวไปจากหมู่บ้านถึง 7 คนแล้ว และกำลังกลับมาเอาตัวคนที่ 8 ไป เทพซูซาโนโอะจึงใช้ค่ายกลประตู 8 บาน โดยวางไหเหล้าสาเกไว้ทุกๆบานและเอาหญิงสาวซ่อนไว้ด้านในสุดและทำให้เงาของหญิงสาวตกลงมาในไหเหล้าทั้งแปดเพื่อล่องูยักษ์ เมื่องูยักษ์มาถึงก็หลงกลเข้า โดยโผล่หัวเข้าไปในประตูทุกๆบานเพื่องับไหเหล้า เป็นการเปิดโอกาสให้เทพซูซาโนโอะตัดหัวได้จนครบโดยไม่ต้องเหนื่อยมาก ครั้นเมื่องูยักษ์ตายลงแล้ว เทพซูซาโนโอะก็ได้สังเกตเห็นแสงสว่างที่ปลายหางของงูยักษ์ จึงผ่าออกมาดูและก็ได้เจอดาบคุซานางิจึงได้เอาไปถวายเทพีแห่งดวงอาทิตย์เพื่อไถ่โทษ และในเมื่อว่ากันว่าเทพีอามาเทราสุ (Amaterasu : 天照) นั้นเป็นต้นตระกูลของจักรพรรดิญี่ปุ่น ดาบคุซานางินี้จึงได้เป็นของวิเศษที่ตกทอดสู่จักรพรรดิญี่ปุ่นเรื่อยมาจากรุ่นสู่รุ่น

 

เทพซูซาโนโอะ กำลังสู้กับงูยักษ์ 8 หัวที่มีชื่อว่ายามาตะโนะโอโรจิ

ตามตำนานเล่าว่าจักรพรรดิเคโก (Keiko-Tenno : 景行天皇) ที่ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 12 นั้นมีลูกชายฝาแฝดอยู่คู่หนึ่งชื่อ ทาเครุ ยามาโตะ ทั้งคู่เลย เมื่อทั้งคู่อายุครบ 15 พรรษา ทาเครุผู้น้องได้สังหารทาเครุผู้พี่อย่างไม่ทราบด้วยเหตุผลว่าเพราะอะไร จักพรรดิเคโกผู้เป็นบิดาทรงกริ้วทาเครุผู้น้องมาก แต่ถ้าจะประหารให้สิ้นไปก็เกรงว่าจะไม่มีโอรสสืบราชวงศ์ จึงได้ส่งโอรสไปปราบชนเผ่าคูมาโซทางตอนใต้สุดของอาณาจักร ก่อนออกเดินทางนั้นเจ้าชายทาเครุก็ได้ไปขอพรจากเจ้าป้าที่บวชเป็นชีอยู่ที่เมืองอิเซะ เจ้าป้าจึงได้ถวายดาบ เสื้อคลุม และผ้านุ่งไว้เป็นเครื่องมือในการออกศึก

จักรพรรดิเคโก (景行天皇) จักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 12

หลังจากปราบชนเผ่าคูมาโซสำเร็จแล้วเจ้าชายทาเครุก็ได้เสด็จกลับพระนคร แต่พระบิดาก็ยังไม่หายกริ้วจึงออกคำสั่งให้เจ้าชายนั้นออกไปปราบชนเผ่าเอมิชิทางตะวันออกทันที แม้ว่าเจ้าชายจะแสนเจ็บปวดและเหนื่อยล้าจากการศึกก็จำยอมออกศึกตามคำสั่งของบิดา แต่ก่อนออกศึกนั้นก็ได้ไปคารวะเจ้าป้าอีกครั้งพร้อมทั้งพูดคุยระบายความแค้นในใจให้ได้ทราบว่า พระบิดาตั้งใจจะกำจัดตนเองแน่นอน ผู้เป็นป้าได้ฟังแล้วก็เป็นห่วงและให้อภัยในบาปกรรมที่หลานได้ก่อไว้ ก็ได้แต่ปลอบใจและมอบเทพศาสตราแห่งแผ่นดินแก่เจ้าชาย ศาสตราวุธชิ้นนั้ก็คือ “ดาบคุซานางิ”

หลังจากได้ดาบมาแล้วเจ้าชายจึงนำทัพออกเดินทาง เมื่อถึงแคว้นซาคามิ หัวหน้าแคว้นได้วางอุบายหลอกเจ้าชายว่าในทุ่งหญ้ารอบๆหมู่บ้านนั้นมีปิศาจร้ายซ่อนตัวอยู่ ได้โปรดช่วยกำจัดปิศาจร้ายให้กับประชาชนของแคว้นด้วย ได้ยินดังนั้นเจ้าชายจึงรีบมุ่งหน้าไปที่ทุ่งหญ้าเพียงลำพัง หัวหน้าแคว้นจึงรีบสั่งให้จุดไฟรอบทุ่งหญ้าเพื่อจะเผาเจ้าชายให้ตายไปทันที พอเจ้าชายได้สติก็ชักดาบคุซานางิออกจากฝัก ทันใดนั้นพลังของดาบก็แผ่รัศมีเป็นวงกว้างตัดต้นไม้และต้นหญ้าทุกต้นที่ขวางรัศมีของมันจนราบเป็นหน้ากลอง นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ “ดาบตัดหญ้า” หลังจากนั้นเจ้าชายก็ได้ปราบทั้งหัวหน้าแคว้นซาคามิและเผ่าเอชิมิ

ที่มาของชื่อ “ดาบตัดหญ้า”คุซานางิ

เรื่องเล่าของดาบคุซานางิยังไม่จบเพียงเท่านี้ ในครั้งสงครามเก็นเป (Genpeigassen : 源平合戦) ซึ่งเป็นการแย่งชิงอำนาจระหว่งตระกูลมินาโมโตะและตรกูลไทระ เหล่าตระกูลไทระพ่ายแพ้และนำดาบคุซานางิไปด้วย กองทัพของตระกูลมินาโมโตะจึงยกทัพตามไปจนถึงทะเลสาบอิสึโมะ………

พระชายาและรัชทายาทแห่งจักรพรรดิญี่ปุ่นที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลไทระก็ได้กอดดาบคุซานางิและกระโดดน้ำตายไป ดาบคุซานางิก็ได้หายสาบสูญไปนับตั้งแต่บัดนั้น

 

สงครามเก็นเป (源平合戦)

แต่หลังจากนั้นดาบคุซานางิก็ได้ถูกทำขึ้นมาใหม่และถูกนำไปประดิษฐานไว้ที่ศาลเจ้าอัตสึตะ

(Atsuta-Jingu : 熱田神宮) เมืองนาโกย่า จังหวัดไอจิในปัจจุบัน (愛知)

ศาลเจ้าอัตสึตะ (熱田神宮)

 
ผู้เขียน : NattraQ http://anngle.org/th/
 
Credit: http://anngle.org/th/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...