คุณรู้จักเหรียญญี่ปุ่นดีแค่ไหน??

 

 

 

คุณรู้จักเหรียญญี่ปุ่นดีแค่ไหน?? 

 

 

อย่ารอช้า..เรามาเริ่มจากข้อมูลพื้นฐานของแต่ละเหรียญกันเลย

 ส่วนผสม

1 เยน – ทำจากอลูมิเนียม 100%

5 เยน - ทำจากทองแดง 60-70% และสังกะสี 30-40%

10 เยน - ทำจากทองแดง 95% สังกะสี 3-4% และดีบุก 1-2%

50 เยน - ทำจากทองแดง 75% และนิกเกิล 25%

100 เยน - ทำจากทองแดง 75% และนิกเกิล 25%

500 เยน - ทำจากทองแดง 72% นิกเกิล 20% และสังกะสี 8%

ขนาด

1 เยน – เส้นผ่านศูนย์กลาง 20 mm น้ำหนัก 1 g

5 เยน - เส้นผ่านศูนย์กลาง 20 mm เส้นผ่านศูนย์กลางรู 5 mm น้ำหนัก 3.75 g

10 เยน - เส้นผ่านศูนย์กลาง 23.5 mm น้ำหนัก 4.5 g

50 เยน - เส้นผ่านศูนย์กลาง 21 mm เส้นผ่านศูนย์กลางรู 4 mm น้ำหนัก 4 g

100 เยน - เส้นผ่านศูนย์กลาง 22.6 mm น้ำหนัก 4.8 g

500 เยน - เส้นผ่านศูนย์กลาง 26.5 mm น้ำหนัก 7 g

ด้านที่เขียนปีคือ “ด้านหลัง”

ไม่ว่าจะเป็นเหรียญขนาดไหน จะ 1 เยน หรือ 100 เยน ว่ากันว่าด้านที่มีเลขปีเขียนนั้นคือ “ด้านหลัง”

ไม่สามารถจ่ายด้วยเหรียญชนิดเดียว 21 เหรียญขึ้นไป

ในกรณีที่จะจ่ายด้วยเหรียญชนิดเดียวกันถึง 21 เหรียญนั้น ร้านค้ามีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธที่จะรับการชำระ เพราะทางกฎหมายนั้นไม่ถือว่าเป็นจำนวนที่สามารถยอมรับได้ อธิบายง่ายๆคือ เค้าอาจจะคำนวณมาแล้วว่าใช้เหรียญชนิดเดียวกันกี่เปอเซนต์จึงมีโอกาสติดของปลอมมา

ทางร้านค้าไม่สามารถปฏิเสธการชำระเงินด้วยเหรียญที่ระลึก

เหรียญที่ระลึกในโอกาสต่างๆนั้น ให้ถือว่ามีค่าและนำมาใช้จ่ายได้เหมือนกับเหรียญทั่วๆไป โดยที่ทางร้านค้าไม่สามารถปฏิเสธได้

จัดทำเหรียญที่ระลึกครั้งแรกเพื่อฉลองการจัดโอลิมปิกที่โตเกียวปี 1964

เหรียญที่ระลึกที่จัดทำในครั้งนั้นมีแบบ 100 และ 1000 เยน แต่..ญี่ปุ่นยังไม่เคยจัดทำธนบัติที่ระลึกเลย

แค่มือสัมผัสก็สามารถแยกประเภทเหรียญได้

1 เยน – ไม่มีรู ขอบเหรียญไม่ขรุขระ น้ำหนักเบา สัมผัสแล้วจะรู้ทันทีว่าต่างจากเหรียญอื่นโดยสิ้นเชิง

5 เยน - มีรู แต่ขอบไม่ขรุขระ

10 เยน - ไม่มีรู ขอบไม่ขรุขระ แต่น้ำหนักจะมากกว่า 1 เยน

50 เยน - มีรู ขอบเหรียญขรุขระ

100 เยน - ไม่มีรู แต่ขอบเหรียญขรุขระ

500 เยน - ทั้งใหญ่และหนัก สัมผัสครั้งแรกจะรู้ทันที แต่ถ้าใครไม่ชินจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็น 100 เยน เพราะว่าไม่มีรูและขอบเหรียญขรุขระเหมือนกัน แต่ความรู้สึกที่ได้เวลาสัมผัสขอบเหรียญจะต่างกัน

เหตุผลที่เหรียญ 5 เยน และ 50 เยน มีรู

5 เยน …….เหรียญ 5 เยน แบบมีรูผลิตออกมาครั้งแรกในปีโชวะที่ 24 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในตอนนั้นเกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรงจึงมีนโยบายประหยัดวัตถุดิบที่จะนำมาทำเหรียญ

50 เยน …….เหรียญ 50 เยนที่ผลิตออกมาครั้งแรกนั้นมีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบันและไม่มีรู!! เมื่อเทียบกับเหรียญ 100 เยนในสมัยนั้นซึ่งคล้ายกันมากทำให้หลายคนสับสนจึงมีนโยบายให้เจาะรู หลังจากนั้นเหรียญ 100 เยนจึงเปลี่ยนเป็นเงินสีขาว 50 เยนก็เช่นกัน แต่ก็มีการลดขนาดดังเช่นปัจจุบัน

เหรียญที่ถูกผลิตมาน้อยที่สุด 3 อันดับ

อันดับ 1 : เหรียญ 50 เยน ผลิตในปีโชวะที่ 62 ผลิตออกมา 775,000 เหรียญ ปัจจุบันมีราคา 1 หมื่นเยน

อันดับ 2 : เหรียญ 500 เยน ผลิตในปีโชวะที่ 62 ผลิตออกมา 2,775,000 เหรียญ ปัจจุบันมีราคา 1 พันเยน

อันดับ 3 : เหรียญ 50 เยน ผลิตในปีเฮเซที่ 12 ผลิตออกมา 7,026,000 เหรียญ ปัจจุบันมีราคา 90 เยน

การทำบุญหรือบริจาคต้องใช้เฉพาะเหรียญ เหตุผลก็คือ “เสียง”

เวลาไปทำบุญที่ไหนก็ตาม ผู้คนนิยมใช้เหรียญโยนลงไปในกล่องหรือบ่อน้ำเพื่อบริจาค เนื่องจากเสียง “กริ๊งงงงงงง” เวลาโยนนั้นจะทำให้เทพเจ้ารับรู้ และหันมาฟังคำอธิษฐานของคนนั้นๆ ฉะนั้นคนญี่ปุ่นจึงเชื่อว่าโยนเหรียญเวลาทำบุญจะดีที่สุด

ผู้เขียน : NattraQ http://anngle.org/th/

Credit: http://anngle.org/th/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...