จอมนางแห่งราชสำนักไทย คนที่8 หญิงน้อย
ราชนารีแห่งยุคประชาธิปไตย
จากภาพด้านซ้ายคือ สมเด็จหญิงน้อย
จากภาพด้านขวาบนคือ ตำหนักวังสวนสุนันทา
จากภาพด้านขวาล่างคือ ร.5ประทับนั่งกับสมเด็จหญิงน้อย และสมเด็จหญิงน้อยทรงพระเยาว์ฉายพระรูปกับเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี เป็นพระราชธิดาองค์ที่ 3 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันเสาร์ ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2429 พระองค์ได้รับการโปรดเกล้าฯ
ให้รับราชการในหน้าที่ราชเลขานุการิณีในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2450 ก็มีพระราชหัตถเลขามาถึงพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ ซึ่งพระราชหัตเลขาเหล่านั้นได้นำมารวมรวบเป็นหนังสือพระราชนิพนธ์ไกลบ้านในเวลาต่อมา
หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 พระองค์ตัดสินพระทัยเสด็จออกไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย พร้อมกับครอบครัวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และสิ้นพระชนม์ที่นั่นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2478
หญิงน้อยหรือสมเด็จหญิงน้อย เป็นพระราชธิดารุ่นเล็กในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 ประสูติจากพระวิมาดาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีฯ พระองค์ยังมีเชษฐาและเชรษฐภคินี(พี่ชายและพี่สาว)ที่ประสูติจากแม่เดียวกันอีก3พระองค์คือ
1สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร
2สมเด็จเจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี
3สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา
และ4เจ้าฟ้านิภานภดล(สมเด็จหญิงน้อย)
สมเด็จหญิงน้อยเป็นพระราชธิดาที่พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดมากนัก พระองค์เกิดมาในบรรยากาศแห่งความสุขความอบอุ่นในราชสำนักฝ่ายใน ได้รับการศึกษาอย่างชนชั้นสูง ทำให้มีความรู้ความสามารถในหลายๆด้าน พระองค์ทรงโปรดที่จะใช้เวลาว่างในการสอนหนังสือให้แก่เด็กๆเพราะทรงรู้ว่าการศึกษานั้นเป็นสิ่งสำคัญ ทรงมีพระอุปนิสัยใจเย็น มักจะทรงพระดำเนินช้าๆตรัสช้าๆ กริยานิ่มนวล แล้วเป็นเจ้านายที่แย้มพระสรวนง่าย(ยิ้มง่าย) นับได้ว่าเป็นพระราชธิดาที่พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดนัก ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านก็ถือว่าเป็นลูกรักเลยทีเดียว
ชีวิตและโชคชะตาของพระองค์ก็ใช่ว่าจะพบเจอแต่ความสุขความสบายเสมอไป ไม่นานนักพระองค์ก็ต้องสูญเสียผู้เป็นที่รักไปทีละคนๆเริ่มจากการสิ้นพระชนม์ของจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรีในปี2432 ตามมาด้วยการสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นพ่อในปี2453 ตามมาด้วยการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้ามาลินีนพดาราในปี2467 ตามาด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระวิมาดาเธอผู้เป็นแม่ในปี2472 ไม่นานนักในปี2475เจ้าฟ้ายุคลฯพี่ชายคนเดียวที่เหลืออยู่ก็สิ้นพระชนม์ไป นับได้ว่าชีวิตของพระองค์แทบจะไม่เหลืออะไรอีกแล้ว เหมือนบ้านแตกสาแหรกขาดก็ไม่ปาน
ตำหนักที่ประทับของพระองค์เงียบเหงา ความโศกเศร้าปกคลุมไปทั่ววังสวนสุนันทาอันเป็นที่ประทับ ความเงียบเหงามาเยือนได้ไม่นานก็เกิดเหตุการล้มล้างอำนาจพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่7 โดยคณะราษฎร เกิดเหตุจลาจลไปทั่วพระนครไม่เว้นแม้กระทั่งพระราชวังต่างๆ ในคืนเกิดเหตุเจ้านายฝ่ายในต่างพากันตกพระทัยรีบมาชุมนุมกันที่ตำหนักสมเด็จหญิงน้อย ทรงพากันร้องไห้เตรียมพระทัยกันไว้แล้วว่าหากเขาจะจับไปฆ่าก็จะไปให้ฆ่าพร้อมๆกัน ในขณะที่เจ้านายแต่ละองค์พากันนั่งร้องไห้อยู่นั้น มีเพียงสมเด็จหญิงน้อยเท่านั้นที่นิ่งสงบ พระองค์ทรงพระทัยแข็งมาก ทรงเก็บความรู้สึกไว้ในพระทัย กลั้นน้ำพระเนตรไม่ให้ไหล ข่มพระทัยไว้ไม่ให้อ่อนแอเหมือนที่ผ่านมา
เพราะพระองค์ทรงผ่านเรื่องเลวร้ายในชีวิตมานักต่อนัก ผ่านการสูญเสีย ร้องไห้มานับครั้งไม่ถ้วน ผ่านการโดดเดี่ยวเดียวดาย พระองค์ทรงรู้ว่าหากพากันถอดใจกันหมดก็คงต้องรอวันตายในสวนสุนันทานั่นเอง รุ่งขึ้นเจ้านายแต่ละองค์รีบเสด็จออกจากสวนสุนันทาไปอยู่กับพระญาติบ้าง ต่างประเทศบ้าง สมเด็จหญิงทรงปฏิเสธที่จะตามเจ้านายองค์อื่นๆออกไป และทรงตรัสกับข้าหลวงว่า"จะไปอยู่กับเขาอย่างไร นั่นมันพี่น้องเขา" สมเด็จหญิงน้อยทรงเป็นห่วงข้าหลวงเล็กๆที่ทรงเลี้ยงไว้ถึงกับให้พ่อแม่มารับตัวออกไปจากวังสวนสุนันทา พระองค์ยอมที่จะประทับ ณ วังสวนสุนันทาต่อไป กล้าที่จะยืนหยัดด้วยพระองค์เองท้าทายอำนาจเหล่านั้นด้วยศักศรีของพระราชธิดาในรัชกาลที่5 โดยใช้พระชนม์ชีพเป็นเดิมพันธ์
ดังพระราชดำรัสของรัชกาลที่7ได้กล่าวไว้ว่า"สมเด็จหญิงน้อยสมควรได้รับเกียรติศักดิ์อย่างสูงที่แสดงความกล้าหาญอย่างยิ่ง กล้ายอมตายดีกว่าที่จะเสียเกียรติ" ด้านเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์พระเชษฐาคนละแม่รู้ว่าสมเด็จหญิงน้อยไม่เหลือใครที่จะพอพึ่งพาอาศัยได้ พ่อน้องก็สันพระชนม์กันไปหมด จึงใคร่ขอให้สมเด็จหญิงน้อยไปประทับด้วยกันที่บันดุงอยู่นาน สุดท้ายสมเด็จหญิงน้อยจึงตัดสินใจตามเสด็จไปที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย และไม่เสด็จกลับมาประเทศไทยอีกเลย
สมเด็จหญิงน้อยทรงครององค์อย่างสง่างามสมกับเป็นขัติยนารี แสดงให้เห็นถึงความอดทนอดกลั้น ไม่ย่อท้อ ทนงค์ในศักดิ์ศรี ใช้ความเจ็บปวดในอดีตมาเป็นบทเรียนในปัจจุบัน สมกับพระนามกรมที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6พระราชทานไว้ว่า"กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี" สมเด็จหญิงน้อยสิ้นพระชนม์ที่เมืองบันดุง พระชันษา48 พรรษา นามสกุลที่เกี่ยวข้องกับพระองค์คือราชสกุล ยุคล ณ อยุธยา. ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
คลังประวัติศาสตร์ไทย
Credit:
คลังประวัติศาสตร์ไทย