ย้อนรอย 5 เหตุการณ์ที่น่ายกย่อง ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินผู้เสียสละ

1. BOAC Flight 712 - 8 เมษายน 1968

เครื่องบิน Boing 707-465 ได้ออกจาก London Heathrow Airport โดยมีปลายทางคือ ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย แต่เครื่องบินขัดข้องระหว่างการนำขึ้นไม่กี่วินาที ทำให้เกิดไฟไหม้บนปีกเครื่องซ้าย เครื่องยนต์ขัดข้องจึงจำต้องลงจอดฉุกเฉินในทันที โดยกลับลงจอดที่สนามบินเดิม นับเวลาเครื่องขึ้นไปได้เพียงแค่ 3นาที 32 วินาที

 

 

การลงจอดฉุกเฉินประสบความสำเร็จ แต่มีผู้เสียชีวิต 5 ราย 1 ในนั้นเป็นแอร์โฮสเตสวัย 22 ปี Barbara Jane Harrison ซึ่งพยายามที่จะอพยพทุกคนออกจากเครื่องบินที่ไฟไหม้ โดยปฏิเสธที่จะละทิ้งหน้าที่

 

เธอสามารถต้อนผู้โดยสารลงยังสไลด์ฉุกเฉินเพื่อลงไปยังพื้นดินได้จนเกือบครบ และก่อนที่สไลด์ฉุกเฉินจะถูกเผาทำลาย เธอตัดสินใจกลับเข้าไปช่วยผู้โดยสารที่เหลือ แทนที่จะสไลด์ตัวออกมาเพื่อเอาตัวรอด

 

 

ในที่สุดก็มีการค้นพบศพของเธออยู่แถวศพผู้โดยสารพิการที่เธอพยายามช่วยชีวิต ผลจากการเสียสละของเธอทำให้คนส่วนใหญ่บนเครื่องรอดชีวิต ทางอังกฤษได้มอบเหรียญ George Cross เพื่อเป็นเกียรติแห่งความกล้าหาญของเธอ และยังมีการพิมพ์หนังสือ FIRE OVER HEATHROW ที่มีรูปของเธออยู่บนหน้าปกอีกด้วย

 

 

2. British Airtours Flight 28M - 22 สิงหาคม 1985

ใน Manchester Airport ประเทศอังกฤษ British Airtours Flight 28M เตรียมตัวเพื่อมุ่งหน้าไปยังเกาะ Corfu ประเทศกรีก ในระหว่างที่เครื่องบินแล่นอยู่บนรันเวย์เตรียมจะขึ้นบินก็มีเสียงคล้ายระเบิดดังขึ้น

 

กัปตัน Peter Terrington และผู้ช่วย Brian Love ได้ยินเสียงระเบิด พวกเขาคาดว่าน่าจะเป็นเสียงล้อเครื่องบินระเบิดแน่นอน จึงได้จอดและเตรียมทำการซ่อมโดยไม่ได้อพยพผู้โดยสารลงแต่อย่างใด

 

 

ปรากฏว่าสาเหตุที่แท้จริงกลับเป็นไฟไหม้บริเวณเครื่องยนต์ที่ลุกลามเข้าไปในตัวเครื่อง ส่งผลให้ผู้โดยสารเสียชีวิต 53 คนและลูกเรืออีก 2 คน ซึ่งลูกเรือทั้ง 2 คือ Jacqui Ubanski และ Sharon Fordทำงานอยู่ด้านหลังเครื่อง เสียชีวิตในระหว่างการพยายามเปิดประตูเครื่องด้านหลัง

 

ในขณะที่ด้านหน้าเองก็มีลูกเรืออีก 2 คน Arthur Brad bury และ Joanna Toff ที่เปิดประตูด้านหน้าได้สำเร็จและย้อนกลับไปช่วยต้อนผู้โดยสารออกมาได้ ทำให้มีผู้รอดทั้งหมด 82 คน โดยลูกเรือทั้ง 4 คนต่างก็ได้รับเหรียญกล้าหาญ เช่นเดียวกัน

 

 

3. Pan Am Flight 73 - วันที่ 5 กันยายน 1986

ระหว่างที่ โบอิ้ง 747-121 จอดอยู่ที่สนามบินปากีสถาน ก็ถูกไฮแจคด้วยคนร้าย 4 คน โดยทั้ง 4 เป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย Abu Nidal โดยในเครื่องมีผู้โดยสาร 360 คน

 

 

ลูกเรือได้รับคำสั่งให้เก็บพาสปอร์ตของผู้โดยสารทั้งหมด  Purser NeerjaBhanot ลูกเรือคนหนึ่ง เกรงว่าผู้โดยสารที่เป็นชาวอเมริกาอาจจะได้รับอันตรายเธอจึงได้ซ่อนพาสปอร์ตบางส่วนของชาวอเมริกาไว้ใต้เบาะที่นั่ง ส่วนที่เหลือเอาไปทิ้งที่ท่อทิ้งของเสีย

 

การจี้เครื่องบินจบลงด้วยการที่คนร้าย โยนระเบิดและฆ่าคนในเครื่องโดยสุ่มยิง การยิงผู้โดยสารในระหว่างที่ประตู3เปิดออก NeerjaBhanot ได้เอาตัวเองบังกระสุนเพื่อปกป้องเด็ก 3 คน ทำให้เธอเสียชีวิต รวมไปถึงผู้โดยสารอีก 20 คนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้และมีผู้บาดเจ็บอีกหลายร้อยคน

 

 

คนร้ายถูกจับระหว่างพยายามหลบหนีออกจากสนามบิน ส่วน Purser NeerjaBhanot ได้รับรางวัลเหรียญกล้าหาญ เป็นการตอบแทนความเสียสละของเธอ

 

 

4. Aloha Airlines Flight 243 - วันที่ 28 เมษายน 1988

โบอิ้ง 732-297 กำลังเดินทางจากฮิโล มุ่งหน้าสู่โฮโนลูลู ของฮาวาย มีผู้โดยสาร 89 คน และพนักงานต้อนรับอีก 3 คน เกิดอุบัติเหตุอันเนื่องจากแรงอัด บวกกับอุปกรณ์บางอยางที่เกินอายุการใช้งานของเครื่องบิน ส่งผลให้ชิ้นส่วนด้านบนของเครื่องบินหลุด

 

 

โดยส่วนที่หลุดคือชิ้นส่วนเหนือที่นั่งผู้โดยสารโซนหน้า และทำให้ Clarabelle Lansing ลูกเรืออาวุโสถูกดูดออกจากตัวเครื่องไปและไม่มีใครพบร่างของเธออีกเลย เธอถุกระบุว่าเป็นผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียวในเหตุการณ์นี้

 

 

ในขณะที่ผู้โดยสารที่เหลือยังพอจะปลอดภัยจากเข็มขัดนิรภัย แอร์โฮสเตสที่เหลือซึ่งบาดเจ็บจากแรงกดอากาศพยายามลุกขึ้นช่วยเหลือผู้โดยสารจนกระทั่ง เครื่องบินลงจอดฉุกเฉินที่สนามบิน คาฮู ผู้โดยสารและลูกเรือเกือบทั้งหมดบาดเจ็บ

 

 

5. British Airways Flight 5390 - วันที่ 10 มิถุนายน 1990

เที่ยวบินนี้เป็นการบินจาก เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ มุ่งหน้าสู่ มาลากา ประเทศสเปน) มีผู้โดยสาร 81 คน ลูกเรือ 4 คน หลังขึ้นบินไปประมาณ 15 นาที กระจกด้านซ้ายฝั่งกัปตันก็เกิดหลุดออก ส่งผลให้ตัวกัปตัน Lancaster หลุดออกจากห้องควบคุมออกไปทางหน้าต่าง

 

แต่ขาของเขายังคงเกี่ยวกับหน้าต่างอยู่ ลูกเรือ Nigel Ogden จึงช่วยจับขาเขาไว้ ในขณะที่ Atchisonผู้ช่วยนักบินพยายามเอาเครื่องที่กำลังสูญเสียการควบคุมให้ลงจอดฉุกเฉิน

 

ภาพจำลองเหตุการณ์

 

ทั้งคู่เข้าใจว่ากัปตันน่าจะตายแล้วจากแรงกดอากาศ แรงลมและอากาศเย็นรุนแรง แต่เพื่อไม่ให้ร่างของกัปตันหลุดเข้าไปในเครื่องยนต์ด้านหลังจึงต้องจับตัวเอาไว้ ในขณะที่ลูกเรือที่เหลือพยายามให้ความมั่นใจกับผู้โดยสารเพื่อให้เกิดความสงบ

 

หลังจากเอาเครื่องลงได้ โดยที่ไม่มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ จึงพบว่ากัปตันยังคงมีชีวิตแต่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง และช็อคกับเหตุการณ์ โดยรักษาอยู่นาน 5 เดือนจึงกลับมาทำงานได้พร้อมกับอาการบาดเจ็บบางอย่างที่ไม่หายเลยตลอดชีวิต

 

 

ส่วน Nigel Ogden ลูกเรือที่พยายามจับร่างกัปตันไว้นั้นบาดเจ็บที่ใบหน้าดวงตาด้านซ้าย และไหล่ จากการขืนตัวจับร่างของอีกฝ่ายไว้ไม่ให้ปลิวหลุดในความเร็ว 500 ไมล์ต่อชั่วโมง

 

ที่มา: online-station

Credit: http://www.wegointer.com/2014/03/5-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...