นกบินเป็นกลุ่ม..ทำไมไม่ชนกัน

 

 

 

นกบินเป็นกลุ่ม..ทำไมไม่ชนกัน

 

การบินของนกต้องใช้พลังงานจากเมแทบอลิซึมเป็นอย่างมาก นกจึงมีระบบหายใจและระบบหมุนเวียนโลหิตอันทรงประสิทธิภาพ จากหัวใจที่มี 4 ห้อง และท่อที่เชื่อมต่อระหว่างปอดกับถุงลมทั่วลำตัว

เพื่อความปลอดภัยในการบิน นกจึงต้องมีสัมผัสอันว่องไว โดยเฉพาะสัมผัสทางสายตา นกบางชนิดมีสายตาอันคมกริบ อาจกล่าวได้ว่าเป็นสายตาที่ดีที่สุดในบรรดาสายตาของสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วยกัน สมองส่วนรับภาพของนกพัฒนาไปมาก เช่นเดียวกับสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว เพราะการบินที่ดีต้องอาศัยการประสานงานที่ดีของทุกส่วนในร่างกายนั่นเอง

 

สิ่งที่ขาดไปไม่ได้สำหรับการบินคือ ปีก นกมีปีกที่เป็นไปตามหลักอากาศพลศาสตร์ ซึ่งช่วยให้เกิดแรงยกขณะบิน ในการกระพือปีก นกจะใช้กล้ามเนื้ออกอันแข็งแรงที่ติดอยู่กับกระดูกอก นกที่บินเร็วที่สุดคือนกในวงศ์นกแอ่นบินเร็ว ซึ่งบินได้เร็วถึง 170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ส่วนขนนกนั้นนับว่าเป็นพัฒนาการที่พิเศษสุดอย่างหนึ่งในบรรดาพัฒนาการของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ขนนกเป็นส่วนประกอบของเคราติน มีลักษณะเบาแต่แข็งแรง ขนนกช่วยป้องกันนกจากแสงแดด ช่วยในการหาคู่ ช่วยในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย และที่สำคัญที่สุดคือช่วยในด้านการบินของนก
 



     และเคยสังเกตบ้างไหมว่า นกบางชนิด เช่น นกกระทุง นกปากห่าง หรือห่านป่า มักจะบินเป็นรูปตัว V 
นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสจากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติกลุ่มหนึ่งพบเหตุผลในเรื่องนี้จากการสังเกตการบินของนกกระทุง 6 ตัว ที่ถูกฝึกให้บินตามหลังเครื่องบินขนาดเล็ก เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีเรื่องหนึ่งในประเทศเซเนกัล 
ทีมนักวิทยาศาสตร์พบว่า เมื่อเจ้านกกระทุงเกาะกลุ่มบินกันเป็นรูปตัวV ปีกของมันจะขยับขึ้นลงน้อยครั้งกว่าตอนที่บินอยู่ตามลำพังตัวเดียว การเต้นของหัวใจก็มีอัตราต่ำกว่าอัตราการเต้นปกติเมื่อบินตัวเดียว และจะใช้วิธีร่อนไปข้างหน้าบ่อยครั้งกว่าอีกด้วย 


     เหตุผลก็คือ นกเหล่านี้กำลังใช้ประโยชน์จากกระแสลมที่เกิดขึ้นจากการตีปีกของนกตัวข้างหน้ามาใช้เพื่อพยุงตัวเอง ทำให้นกตัวที่อยู่หลังๆ ออกไปสามารถรักษาระดับความเร็วที่ต้องการได้โดยใช้พลังในการบินน้อยลงกว่าเดิมมาก 

     เพราะต้องอาศัยกระแสลมจากการพุ่งไปข้างหน้าของนกตัวแรกๆ ช่วงห่างและทิศทาง กับการขยับปีกเป็นจังหวะสอดประสานกันของนกทั้งฝูงที่บินอยู่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสม กระแสลมจากตัวหน้าก็จะช่วยยกตัวของนกตัวนั้นขึ้น แต่ถ้าใกล้เกินไป แทนที่จะเป็นการช่วยกลับจะกลายเป็นแรงต้านสำหรับนกตัวหลังไป และเช่นกันถ้าห่างเกินไป กระแสลมก็จะไม่ช่วยอะไรนกตัวนั้นแต่จะทำให้เพดานบินของมันต่ำลงอีกด้วย 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
ที่มา :  http://picpost.mthai.com/view/68610  http://th.wikipedia.org/
Credit: http://108thinks.blogspot.com/
27 มี.ค. 57 เวลา 14:42 6,175 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...