เทพแห่ง "โอลิมปัส"

 

 

 

 

 

สภาเทพแห่ง "โอลิมปัส"
     เพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นภาพของบรรดาเหล่าทวยเทพให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในบทนี้จึงต้องมาดูกันว่า ใครเป็นใครในบรรดาเทพชั้นสูงบนสวรรค์ "โอลิมปัส" ซึ่งแน่นอนที่สุดกลุ่มแรกที่ต้องมาสนใจกันก็คือบรรดาเทพทั้ง 12 แห่งโอลิมปัส หรือที่เรียกกันว่า คณะเทพแห่งโอลิมปัส
 
 
 
 
ซูส
 
    เทพซูส (อังกฤษ: Zeus, /zus/) เป็นราชาแห่งทวยเทพ ผู้ปกครองเขาโอลิมปัส (Olympus) และเทพแห่งท้องฟ้าและฟ้าร้องของตำนานเทพปกรณัมกรีก สัญลักษณ์ประจำพระองค์คือสายฟ้า โคเพศผู้ นกอินทรี และต้นโอ๊ก นามของซีอุสแปลว่าความสว่างของท้องฟ้า
 
 
    นามของพระองค์ในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือเทพจูปิเตอร์ (Jupiter) และนามในตำนานอีทรูสแคนคือเทพไทเนีย (Tinia)
 
    พระองค์เป็นพระโอรสองค์สุดท้องของโครนัส (Cronus) และรีอา (Rhea) ซึ่งเป็นเทพไททัน ในหลายๆ ตำนานกล่าวว่าพระองค์ได้สมรสกับเทพีเฮร่า (Hera) แต่ก็มีสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองดอโดน่า (Dodona) ที่อ้างว่าคู่สมรสของเทพซูสแท้จริงแล้วคือเทพีไดโอนี (Dione) นอกจากนี้มหากาพย์อีเลียด (Illiad) ยังกล่าวไว้ว่าเทพซูสเป็นพระบิดาของเทพีอโฟรไดต์ (Aphrodite) ที่กำเนิดจากเทพีไดโอเน่อีกด้วย เทพซูสมักมีชื่อเสียงในพฤติกรรมนอกลู่นอกทางเรื่องชู้สาวของพระองค์ ซึ่งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์กับเด็กหนุ่มนามแกนีมีด (Ganymede) ด้วยเช่นกัน พฤติกรรมของพระองค์ทำให้เกิดผู้สืบเชื้อสายอยู่หลายองค์และหลายคนด้วยกัน อาทิเช่น เทพีอาธีน่า (Athena) เทพอพอลโล(Apollo) และเทพีอาร์ทีมิส (Artemis) เทพเฮอร์มีส (Hermes) เทพีเพอร์ซิโฟเน่ (Persephone) เทพไดโอไนซัส (Dionysus) วีรบุรุษเพอร์ซีอุส (Perseus) วีรบุรุษเฮอร์คิวลีส(Hercules) เฮเลนแห่งทรอย (Helen) กษัตริย์ไมนอส (Minos) และเหล่าเทพีมิวเซส (Muses) ส่วนผู้สืบเชื้อสายที่เกิดจากเทพีเฮร่าโดยตรงได้แก่เทพเอรีส (Ares) เทพีเฮบี(Hebe) และเทพเฮฟเฟสตุส (Hephaestus) เทพีเอริส (Eris) และ เทพีไอไลธีเอีย (Eileithyia)
 
กำเนิดของซูส

    ตำนานการถือกำเนิดของเทพซูสมีอยู่ว่า เทพีไกอาเทพมารดาแห่งผืนดิน ได้สมรสกับเทพยูเรนัสเทพแห่งท้องฟ้า และมีบุตรกลุ่มแรกคือ เหล่าเทพไททันซึ่งสร้างความภาคภูมิแก่เทพยูเรนัสมาก แต่ทว่าบุตรต่อๆมาของเทพีไกอากลับอัปลักษณ์และน่ากลัว เช่น ยักษ์ไซคลอปส์ที่มีตาข้างเดียวกลางใบหน้า และอสุรกายน่าเกลียดต่างๆ ทำให้เทพยูเรนัสพิโรธโยนบุตรเหล่านั้นลงไปขังในคุกทาร์ทะรัสใต้พิภพ

    เทพีไกอาแค้นเทพยูเรนัสมากจึงยุยงให้เหล่าเทพไททันก่อกบฏ ไม่มีเทพองค์ใดที่กล้าชิงบัลลังก์พระบิดายกเว้นเทพโครนัส และจากการช่วยเหลือจากเทพีไกอาทำให้เทพโครนัสชิงอำนาจได้สำเร็จ ทว่าเทพโครนัสไม่ได้ทำตามสัญญาที่จะปลดปล่อยอสูรผู้เป็นน้อง เทพีไกอาจึงสาปแช่งว่าบุตรที่จะเกิดมาของโครนัสจะชิงอำนาจไปเหมือนกับที่บิดาเคยทำ

    เทพโครนัสตระหนักมากเพราะหลังจากนั้นไม่นาน เทพีรีอา พระชายาก็ตั้งครรภ์ เมื่อได้ข่าวการประสูติ เทพโครนัสจึงบุกเข้าไปในตำหนักพระชายาและจับทารกผู้เป็นสายเลือดของตนกลืนลงท้องไป และครรภ์ต่อๆมาของเทพีรีอาก็เช่นกัน ส่งผลให้เทพีรีอาเศร้าเสียใจอย่างมาก

    โครนัสให้กำเนิดบุตรและธิดารวมหกองค์ คือ เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน เฮรา ซูส ซึ่งพอกำเนิดมาได้ถูกโครนัสจับกลืนลงท้องไปแต่เนื่องด้วยซูสหนีออกมาได้ จึงรอให้ตัวเองโตแล้วกลับมาช่วยอีก 6 องค์ในภายหลัง เนื่องจาก เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน และเฮรา เป็นเทพจึงไม่ตายตอนอยู่ในท้องของโครนัส

 
 
   โพไซดอน
 
    โพไซดอน หรือ โพเซดอน หรือ โปเซดอน (อังกฤษ: Poseidon; กรีก: Ποσειδών; ละติน: Neptūnus เนปจูน) เทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร ผู้ปกครองดินแดนแห่งท้องน้ำ ตั้งแต่แหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง จนถึงใต้บาดาล มีตรีศูลเป็นอาวุธ บางตำนานกล่าวว่ามีท่อนล่างเป็นปลา นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็นเทพแห่งแผ่นดินไหว และเป็นเทพแห่งม้าด้วย
 
ตามตำนานเล่าว่า โพเซดอนเป็นบุตรของโครนัสกับรีอา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาอีก 5 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นเทพแห่งโอลิมเปียนทั้งสิ้น ได้แก่
 
1. เฮสเทีย เทพีแห่งเตาผิง ผู้ดูแลครัวเรือน
2. ดีมิเตอร์ เทพีแห่งธัญพืชและการเกษตร
3. เฮรา ชายาแห่งเทพซูส เทพีผู้คุ้มครองสตรีและการสมรส
4. ฮาเดส ผู้ครอบครองยมโลก
5. ซูส ผู้เป็นใหญ่ในสภาเทพแห่งโอลิมปัส
 
    รูปลักษณ์ของโพเซดอน ส่วนมากจะปรากฏเป็นชายวัยกลางคน รูปร่างกำยำล่ำสัน มีหนวดเครา ถือสามง่ามเป็นอาวุธ ซึ่งสามง่ามนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถดลบันดาลให้เกิดทะเลคลั่งหรือแผ่นดินไหวได้ ครั้งหนึ่งโพเซดอนเคยคิดที่จะโค่นอำนาจของซุส โดยร่วมมือกับเฮราและอะธีนา แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกซุสลงโทษ โดยการให้ไปสร้างกำแพงเมืองทรอยร่วมกับอพอลโลด้วยเช่นกัน
 
    โพเซดอนมีมเหสีองค์หนึ่งคือแอมฟิไทรท์ ซึ่งเป็นนีริอิด หรือบุตรสาวของ นีริอัสและดอริส โพไซดอนเห็นนางเต้นรำร่วมกับเหล่านีริอิดอื่นๆ จึงลักพาตัวนางไปเป็นชายาในดินแดนใต้สมุทร
 
    ชายาอีกองค์หนึ่งของโพไซดอนเป็นหญิงรับใช้ของอะธีนา คือ เมดูซ่า ก่อนที่จะถูกสาบให้มีผมเป็นงู เพราะหลงใหลในความงามของเมดูซ่า เมื่ออะธีนาทราบเรื่องจึงสาบเมดูซ่าให้เป็นปีศาจที่มีผมเป็นงู และเมื่อมองใครก็จะกลายเป็นหินไปหมด เมื่อเปอร์ซิอุสตัดศีรษะของเมดูซ่าแล้ว เลือดของเมดูซ่าที่กระเซ็นออกมา กลายเป็นม้าบินสองตัว คือ เพกาซัส (Pegasus) และ คริสซาออร์ (Chrysaor) ดังนั้นจึงถือว่า ทั้งเพกาซัสและคริสซาออร์เป็นลูกของโพเซดอนด้วย
 
โพเซดอน มีพาหนะเป็นม้าน้ำเทียมรถ ที่มีส่วนบนเป็นม้าและท่อนล่างเป็นปลา ซึ่งบางครั้งจะพบรูปโพเซดอนอยู่บนรถเทียมม้าน้ำนี้ขึ้นมาจากทะเล
 
ในสมัยโบราณ ที่แหลมสุนิอ้อน ห่างจากกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซไม่มาก มีวิหารที่สร้างถวายแด่โพเซดอนอยู่
 
    อำนาจของเทพโปเซดอนส่วนใหญ่คือสามารถควบคุมพายุและความสงบในท้องทะเลได้โดยเด็ดขาด ยามเมื่อทรงรถทองคำเหนือน่านน้ำ  คลื่นลมทะเลสงบเงียบเรียบลื่นไปตามล้อรถของเธอโดยตลอด (ในบางตำนานกล่าวว่า เวลาที่ เสด็จขึ้นจากประสาทใค้ทะเล ทะเลจะแหวกออกเป็นช่อง มีเสียงดังสนั่นลั่นโครมครืนนำมาก่อน แล้วราชรถทรงทองคำ เทียมด้วยม้าฝีเท้าเยี่ยมตัวใหญ่มหึมาก็ค่อย ๆ  โผล่ขึ้นจากช่องน้ำแยกอย่างสง่างาม) เธอมีอาวุธที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวเลยก็คือ "ตรีศูล"  เมื่อใดที่ต้องการ "เขย่า"โลก ก็เพียงแต่กวัดแกว่งตรีศูลเท่านั้นทะเลก็ปั่นป่วนเป็นบ้า  เป็นเหตุให้โลกสั่นสะเทือนด้วยเหตุนี้เธอจึงได้รับสมญานามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earthshaker ) ด้วย นั่นเอง
 
 
 
เฮดีส
   
    เฮดีส (อังกฤษ: Hades, /ˈheɪdiz/) ในที่ชาวโรมันเรียกว่า พลูโต (Pluto) เทพเจ้าผู้ปกครองนรกและโลกหลังความตาย ในตำนานถือว่ามีศักดิ์เป็นพระเชษฐาของ ซูสราชาแห่งเหล่าเทพ และยังถือได้ว่าเป็นเจ้าแห่งทรัพย์เพราะเทพเฮดีสมีสิทธิ์ในทรัพย์สินทุกอย่างภายใต้พื้นพิภพ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดีส (Dis) ซึ่งแปลตรงตัวว่า ทรัพย์สิน
 
    เฮดีส แท้ที่จริงแล้วเป็นเทพที่มีความยิ่งใหญ่อีกองค์หนึ่งเช่นเดียวกับซูส หรือ โพไซดอน เนื่องจากเป็นพี่น้องกัน แต่ทว่าความที่เฮดีสเป็นผู้ปกครองนรกซึ่งเป็นโลกใต้ดินซึ่งมีแต่ความมืดมิดและน่ากลัว จึงไม่ใคร่ขึ้นไปยังเขาโอลิมปัส อีกทั้งเทพองค์อื่น ๆ ก็ไม่ใคร่ที่จะต้อนรับเฮดีสด้วย ดังนั้น เฮดีสจึงไม่มีชื่อเป็นหนึ่งในเทพโอลิมปัสเฉกเช่นองค์อื่น ๆ
 
    เฮดีส ได้ชื่อว่าเป็นเทพที่มีความเที่ยงธรรมอย่างมาก ตัดสินความดีชอบของคนตายโดยปราศจากอคติใด ๆ ทั้งสิ้น กล่าวกันว่า พระองค์มีหมวกวิเศษอยู่ใบหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สวมหายตัวได้ ซึ่งในครั้งที่ทำสงครามกับเหล่าไททันส์นั้น เฮดีสใช้หมวกนี้ลอบเข้าไปทำลายอาวุธของไททันส์ก่อนการต่อสู้ และพระองค์มีเทพผู้ช่วยในการตัดสินความดีชั่วในยมโลกอีก 3 องค์คือ ราดาแมนทีส, ไมนอส, ไออาคอส ที่เรียกว่า สามเทพสุภา และยังมีฮิปนอส เทพแห่งการหลับไหล และ ทานาทอส เทพแห่งความตายคอยช่วยอีก
 
    เฮดีส มีชายาองค์หนึ่งชื่อ เพอร์ซิโฟเน (Persephone) เป็นเทพแห่งฤดูใบไม้ผลิซึ่งเป็นพระธิดาองค์เดียวของ ดีมิเทอร์ (Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์และการเกษตร จากความงดงามของนางเพอร์ซิโฟเน ทำให้เฮดีสลืมเลือนไปหมดสิ้นว่า นางที่แท้จริงคือหลานสาวแท้ ๆ ของตน เพราะว่า ดีมิเทอร์มีศักดิ์เป็นพระขนิษฐาของพระองค์เอง เมื่เฮดีสได้ฉุดนางไปเป็นเทพีแห่งนรกคู่กัน ทำให้เกิดเป็นกรณีพิพาทขึ้นระหว่างทวยเทพแห่งโอลิมปัส ซูสซึ่งเป็นองค์ประธานได้ตัดสินให้เฮดีสต้องคืนเพอร์ซิโฟเนแก่ดิมิเทอร์ เฮดีสจึงใช้อุบายทำให้เพอร์ซิโฟเนสามารถกลับมาออกมาจากนรกได้เพียงแค่ปีละ 3 เดือน และเหตุนี้จึงเป็นเหตุที่ทำให้ฤดูใบไม้ผลิเกิดขึ้นเพียง 3 เดือนเท่านั้น
 
    ชาวกรีกโบราณจะถวายการสักการะแด่เฮดีสด้วยแกะดำ และเป็นพิธีกรรมที่เร้นลับสืบมาที่ได้ค่อนข้างยาก แต่ก็สืบทอดกันมาว่า หากจะบูชาเทพแห่งความตายหรือเทพอันใดที่เป็นสัญลักษณ์ของความน่ากลัวหรือชั่วร้าย ต้องบูชายัญด้วยแพะหรือแกะดำ
 
 
 
   แอรีส
 
    แอรีส (อังกฤษ: Ares /ˈɛəriz/) หรือที่ชาวโรมันเรียกว่า มาร์ส (Mars) เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ และเป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัสด้วย
 
    แอรีส เป็นเทพแห่งการสงครามเช่นเดียวกับ อธีน่า แต่ทว่าอธีน่าจะได้รับการยกย่องและบูชามากกว่า เนื่องจากอธีน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่า ซึ่งได้รับการบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับแอรีสซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการสงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์ กวีเอกคนสำคัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงพระองค์ว่า เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้า
 
    แอรีสเป็นบุตรของซีอุสมหาเทพและพระนางเฮรา มเหสีของซีอุส แอรีสเป็นเทพที่ชาวกรีกไม่นับถือบูชา เพราะถือว่าเป็นเทพที่โหดร้ายและมีเรื่องราวที่น่าอับอายเกี่ยวกับพระองค์เยอะ และถึงแม้จะเป็นเทพแห่งสงคราม แอรีสก็รบแพ้ในการสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งแก่มนุษย์กึ่งเทพเองอย่าง เฮราคลีสและกับอธีน่า เทพีแห่งสงคราม พี่น้องของพระองค์เอง
 
    แต่แอรีสเป็นที่นับถืออย่างมากของชาวโรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่โปรดปรานการสู้รบ ถึงกับแต่งให้แอรีสเป็นบิดาของโรมูลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรมเลยทีเดียว ในทางด้านชู้สาว พระองค์ลักลอบมีชู้กับเทพีอโฟรไดท์จนเป็นเรื่องราวใหญ่โตให้อับอายไปทั้งสวรรค์ และเป็นอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ที่จับผิดและแก้ไขพฤติกรรมของทั้งคู่
 
 
    แอรีส เมื่อเสด็จไปไหน จะใช้รถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ ดีมอส (Deimos) ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟบอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บางตำนานก็กล่าวว่า ทั้งดีมอสและโฟบอสเป็นบุตรชายฝาแฝดของแอรีส และชื่อของทั้งคู่ก็เป็นรากศัพท์ของคำว่า ความตื่นตระหนก (Panic) และ ความกลัว (Phobia) และในทางดาราศาสตร์ แอรีสหรือมารส์ คือดาวอังคาร ดีมอส และ โฟบอส ก็ถูกตั้งเป็นชื่อของดวงจันทร์บริวารของดางอังคารด้วย
 
 
ฮีรา
 
    ฮีรา หรือ เฮรา (อังกฤษ: Hera /ˈhɪərə/, /ˈhɛrə/; {{lang-el|Ήρα, Ήρη} }) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูส พระนางเป็นเทพีแห่งหญิงสาวและชีวิตสมรส เป็นผู้ปกป้องสตรีที่แต่งงานแล้ว พระนางทรงประทับบนพระบัลลังก์ทองคำเคียงข้างซูสบนภูเขาโอลิมปัส และทรงพยายามอย่างที่สุดที่จะไม่ใส่พระทัยกับเรื่องราวรักๆ ใคร่ๆ ที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรมของสวามี ฮีราได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเทพธิดาผู้มีพระกรใสกระจ่างดุจงาช้าง ในตำนานโบราณสัตว์ประจำองค์ของเทพีฮีราคือวัว แต่ในตำนานยุคใหม่นกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ และจะตามเสด็จอยู่ไม่ห่าง
 
    เทพีฮีราเป็นที่รู้จักกันดีในด้านของอารมณ์ดุร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่นๆของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางจะเป็นเทพีหรือเป็นมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกเทพีฮีราปองร้ายมีมากมาย เช่น เทพีลีโต มารดาของเทพอพอลโล่และเทพีอาร์ทีมิส เฮอร์คิวลิส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลีมารดาของเทพไดโอนิซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม
 
ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (the ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง
 
กำเนิดของฮีรา

 

   ฮีราเป็นบุตรองค์ที่ 3 ของโครนัสและรีอา พระนางถูกโครนัสกลืนลงท้องไปตั้งแต่เพิ่งถือกำเนิดเนื่องจากคำสาปของไกอาที่ว่าบุตรของโครนัสจะโค่นอำนาจของโครนัสเหมือนกับที่โครนัสได้โค่นอำนาจของยูเรนัส แต่ต่อมาเทพีรีอาได้ซ่อนซีอุสผู้เป็นบุตรองค์สุดท้องไว้และนำซีอุสกลับมาเพื่อแก้แค้นโครนัส และนำพี่ๆที่ถูกกลืนเข้าไปอยู่ในท้องของโครนัสออกมา เทพีฮีราจึงปรากฏกายขึ้น

    เชื่อกันว่าเทพีฮีราถูกเลี้ยงดูมาโดยไททันทีธิส และมหากาพย์อิเลียด ในครั้งที่ฝ่ายทรอยกำลังได้เปรียบเพราะซูสได้หนีจากเขาโอลิมปัสไปยังเขาไอดาเพื่อให้การช่วยเหลือชาวทรอย ฮีราได้อ้างว่าจะไปพบกับเทพีทีธิส เพื่อจะได้ขอยืมเครื่องแต่งกายที่สวยที่สุดจากอะธีน่าและสร้อยคอแห่งความปรารถนาจากอะโฟรไดท์ไปใช้ในการล่อลวงให้ซูสหันเหความสนใจจากสงครามแห่งทรอย เปิดทางให้โพไซดอนได้นำกำลังไปถล่มชายฝั่งทรอย

 

 โครนัส

  ไททันโครนัสหรือเทพโครนอส (Cronos หรือ Kronos) เป็นผู้นำและไททัน (Titan) รุ่นแรกที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งเป็นทายาทของเทพีจี (Gaea) พระแม่ธรณี และเทพยูเรนัส (Uranus) เทพแห่งท้องนภา เทพโครนัสได้ทำการโค่นบัลลังก์ของพระบิดาเทพยูเรนัส และขึ้นครองบัลลังก์ในช่วงยุคทอง

    หลังจากถูกจีผู้มารดาสาบแช่ง โครนัสตระหนกมากเพราะหลังจากนั้นไม่นาน เทพีรีอา พระชายาก็ตั้งครรภ์ เมื่อได้ข่าวการประสูติ เทพโครนัสจึงบุกเข้าไปในตำหนักพระชายาและจับทารกผู้เป็นสายเลือดของตนกลืนลงท้องไป และครรภ์ต่อๆ มาของเทพีรีอาก็เช่นกัน ส่งผลให้เทพีรีอาเศร้าเสียใจอย่างมากความคับแค้นใจทำให้เทพีรีอาตัดสินใจเก็บบุตรคนสุดท้องเอาไว้ โดยแสร้งส่งก้อนหินห่อผ้าให้เทพโครนัสไป ทารกซุส (Zeus) ถูกเลี้ยงดูอย่างดีโดยเหล่าชนเผ่า จนเติบใหญ่แข็งแรงและหวนกลับไปตามคำร้องขอของมารดา

    เทพโครนัสพ่ายแพ้แก่บุตรตามคำทำนาย แต่ไม่ได้ถูกจองจำในตรุทาร์ทารัสเหมือนไททันตนอื่นๆ แต่เขากลับหลบหนีไปหลังจากถูกบังคับให้สำรอกบุตรที่เคยกลืนออกมา ด้วยความเป็นเทพเจ้าทำให้เหล่าเทพที่ถูกกลืนลงไปไม่ตายซ้ำยังเติบโตขึ้น เรียงลำดับได้ดังนี้
1.เทพฮาดีสหรือพลูโต จ้าวแห่งยมโลก เป็นผู้ปกครองพิภพบาดาลและโลกคนตาย มีเทพีเพอร์ซิโฟเนธิดาเทพีเซเรสเป็นมเหสี
2.เทพโปเซดอนหรือเนปจูน จ้าวแห่งท้องทะเล ปกครองน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียนและน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ มีเทพีแอมฟิไทร์หรือ อัมฟิตรีติ เป็นมเหสี
3.เทพีดิมิเทอร์หรือเซเรส เทพีแห่งพันธุ์พืช ธัญญาหารและการเพาะปลูก มีธิดากับเทพซุสหนึ่งองค์คือ เทพีเพอร์ซิโฟเน
4.เทพีเฮราหรือจูโน เทพีแห่งการสมรส เป็นมเหสีของเทพซุส ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องหึงหวง มีโอรสและธิดากับเทพซุส 3 องค์คือ เฮฟเฟสตุส ฮีบีกับ อาเรส

    ด้วยเหตุที่ว่าเทพโครนัสมีความเกี่ยวเนื่องกับยุคทอง เขาจึงได้รับการสักการะในฐานะเทพแห่งฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งรวมไปถึงการเก็บเกี่ยวพืชผลเช่น ข้าว ธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตร และการเดินไปข้างหน้าของกาลเวลาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ภาพของเทพโครนัสมักถือเคียวไว้ในมือ ซึ่งพระองค์ใช้ในการเก็บเกี่ยวพืชผล และเป็นอาวุธที่พระองค์ใช้โค่นบัลลังก์เทพยูเรนัส ในกรุงเอเธนส์ (Athens) วันที่ 12 ของทุกๆ เดือน ถูกเรียกว่าวันฮีคาทอมบาเอียน (Hekatombaion) ซึ่งจะมีงานเทศกาลชื่อว่า เทศกาลโครเนีย (Kronia) จะจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เทพโครนัสสำหรับฤดูเก็บเกี่ยว พระนามของเทพโครนัส

 

  

อพอลโล
    อะพอลโล (อังกฤษ: Apollo, กรีก: Ἀπόλλων อพอลลอน) บุตรชายคนโตของมหาเทพซีอุส เป็นหนึ่งใน 12 เทพแห่งโอลิมปัส เป็นบุตรของซีอุส จอมเทพแห่งสวรรค์และนางเลโต เป็นเทพแห่งแสงสว่าง หรือเทพแห่งดวงอาทิตย์ รวมถึงเป็นเทพแห่งสัจจะและการดนตรีด้วย อพอลโลมีน้องสาวฝาแฝดชื่อ อาร์เทมีส หรือ ไดอาน่า (ในโรมัน) ซึ่งเป็นเทพีแห่งดวงจันทร์คู่กัน อพอลโล เป็นบุรุษหนุ่มรูปงาม มักเล่นดนตรีด้วยพิณ เชี่ยวชาญการใช้ธนู ในสงครามกรุงทรอย อพอลโลมีบทบาทเป็นเทพที่รักษาชายฝั่งเมืองทรอย ที่เมืองเดลฟี่มีเทวสถานบูชาอพอลโลอยู่
 
    ในทันทีที่ประสูติจากครรภ์มารดา อพอลโลก็จับงูไพธอนฆ่าเสีย ด้วยเหตุนี้ บางทีอพอลโลก็เป็นที่เรียก ขานว่า ไพธูส (Pytheus) แปลว่า "ผู้ประหารไพธอน" นอกจากนี้อพอลโลยังมีชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อ มีชื่อตาม สถานที่เกิดว่า ดีเลียน (Felian) ฟีบัส (Phoebus) แปลว่า "โอภาส" หรือ "ส่องแสง" เป็นอาทิ ชื่อหลังนี้มัก ใช้บวกกับชื่อประจำว่า ฟีบัส อพอลโล เนือง ๆ
 
 
   เฮอร์มีส
 
 
      เฮอร์มีส(Hermes) เทพแห่งการค้า เทพแห่งการโจรกรรมและผู้ส่งสารของเหล่าทวยเทพ เป็นบุตรของซูสกับไมอา(Maia) สมรสกับลาร่า(Lara) พระองค์มักปรากฏกายในลักษณะสวมหมวกปีกกว้าง สวมรองเท้ามีปีก ถือคทาที่มีงูพัน เป็นผู้ประดิษฐ์พิณเป็นครั้งแรก โดยใช้เอ็นวัวขึงกับกระดองเต่า
 
     พระองค์เป็นเทพองค์แรกที่สามารถจุดไฟโดยใช้ไม้สีกัน เป็นผู้คุ้มครองการค้าขาย โชคลาภ การแข่งขัน และการขโมย ว่ากันว่าพระองค์สามารถขโมยฝูงวัวของอพอลโล เมื่อเกิดมาได้เพียง 1 วัน

     เฮอร์มีสมีชื่อในตำนานเทพเจ้าโรมันว่า เมอร์คิวรี่ เป็นเทพผู้คุ้มครองเหล่านักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจรผู้เร่ร่อน กวี นักกีฬา นักประดิษฐ์ และพ่อค้า อาจเรียกได้ว่า เฮอร์มีสเป็นเทพแห่งการสื่อสารมีของวิเศษคือหมวกและรองเท้ามีปีก บุตรของเฮอร์มีส ได้แ่ก่ เทพแพน(Pan) เทพเฮอร์มาโฟรไดทัส(Hermaphroditus) และเทพออโตไลคัส(Autolycus)

     เมอร์คิวรี่ หรือ เฮอร์มีส เป็นเทพที่มีผู้รู้จักมาก เนื่องจากมีรูปปรากฏคุ้นตามากกว่าเทพองค์อื่นๆ คนมักนำรูปเทพองค์นี้ หรืออย่างน้อยก็ของวิเศษอย่างหนึ่ง คือ รองเท้ามีปีก มาแสดงเป็นเครื่องหมายถึงความเร็ว นอกจากรองเท้าแล้ว หมวกและไม้ถืออันศักดิ์สิทธิ์ ทำให้เวลาเดินทางจะไปอย่างรวดเร็ว ว่ากันว่า ไปเร็วเพียงความคิด ทีเดียว

     สำหรับหมวกและรองเท้ามีปีกของเฮอร์มีสนั้นเรียกว่า เพเตซัส(Petasus) และทาลาเรีย(Talaria) เป็นของที่ได้รับประทานจากซูสเทพบิดาซึ่งโปรดให้เฮอร์มีสเป็นเทพพนักงานสื่อสารประจำพระองค์ ส่วนไม้ถือศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า คาดูเซียส(Caduceus) เดิมเป็นของเทพอพอลโลใช้ต้อนวัวควายในครอบครอง ครั้งหนึ่งเฮอร์มีสขโมยวัวของอพอลโลไปซ่อน อพอลโลรู้ระแคะระคายดังนั้นจึงมาทวงถามให้เทพภราดรคือวัวแก่เธอ

     เฮอร์มีสยังเยาว์อยู่ กลับย้อนถามว่าวัวอะไรที่ไหนกันไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยิน อพอลโลจึีงไปฟ้องร้องต่อเทพบิดาซูสให้ไกล่เกลี่ยให้เฮอร์มีสคืนวันให้ ต่อมาอพอลโลได้วัวคืนแล้วก็ไม่ถือโทษเทพผู้น้อง แม้ว่าวัวจะขาดจำนวนไป 2 ตัว เพราะเฮอร์มีสเอาไปทำเครื่องสังเวยเสียแล้วก็ตาม อพอลโลเห็นเฮอร์มีสมีพิณคันหนึ่งเรียกว่า ไลร์ เป็นของที่เฮอร์มีสประดิษฐ์ขึ้นเองด้วยเอ็นวัวขึงกับกระดองเต่าก็อยากได้จึงเอาไม้คาดูเซียสไปขอแลก ไม้ถือคาดูเซียสจึงเป็นของเฮอร์มีสด้วยเหตุนี้และถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเฮอร์มีสแต่ครั้นนั้น

     ไม้คาดูเซียส นี้แต่เดิมเป็นไม้ถือมีปีกเพียงเท่านั้น ต่อมาเฮอร์มีสถือไปพบงู 2 ตัว กำลังต่อสู้กัน เฮอร์มีสเอาไม้ทิ่มเข้าไประหว่างกลางเพื่อห้ามการวิวาท งูก็เลื่อยขึ้นมาพันอยู่กับไม้โดยหันหัวเข้าหากัน ตั้งแต่นั้นมางูนี้ก็พันอยู่กับไม้ถือคาดูเซียสตลอดมา และไม้ถือคาดูเซียสก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย ภายหลังได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของวงการแพทย์มาจนบัดนี้

     เฮอร์มีสไม่แต่จะเป็นเทพสื่อสารของซูสเท่านั้น หากยังเป็นเทพครองการเดินทาง การพาณิชย์ และตลาด เป็นที่บูชาของพวกหัวขโมยและมีหน้าที่เป็นมัีคคุเทศก์คอยนำวิญญาณคนตายไปสู่ยมโลกด้วย จนได้รับนามอีกชื่อหนึ่งว่า ไซโคปอมปัส(Psychopompus) สรุปว่าการสื่อสารและการเป็นคนกลางในกิจการทุกอย่างตกเป็นภาระของเฮอร์มีสหรืออยู่ในความสอดส่องทั้งสิ้น ส่วนการที่เฮอร์มีสเป็นที่นับถือบูชาของพวกขโมยก็คงเนื่องจากการขโมยวัวของอพอลโลนั่นเอง

     สิ่งที่น่าแปลกประการหนึ่งในตัวเฮอร์มีสก็คือ แม้ว่าจะเป็นโอรสของซูสเทพบดีกับนางไมอา ซึ่งเป็นอนุ แต่ทว่าทรงเป็นโอรสองค์เดียวของซูสที่ราชินีขี้หึงเทพีฮีร่าไม่เกลียดชัง กับเรียกหาให้เฮอร์มีสอยู่ใกล้ๆ เสมอ
 
 
อาเธนา
 
     อาเธนา(Athena) เทพีแห่งสงคราม ความเฉลียวฉลาด และศิลปศาสตร์ของกรีกเมื่อเธอเกิดโดยโผล่ออกมาจากศรีษะของซูส ในชุดเกราะพร้อมรบ พระองค์พำนักอยู่ ณ อะโคพลิสแห่งเอเธนส์ 
 
     อาเธน่า หรือ มิเนอร์(Minerva) ของโรมัน เป็นเทพีประจำกรุงเอเธนส์ สวมเกราะและมีโล่ Aegis ที่ทำด้วยหนังแพะและมีหัวเมดูซ่าอยู่ตรงกลาง รักษาพรหมจรรย์ไม่แต่งงานกับใคร มีอารมณ์รุนแรงแต่ฉลาด มีสัญลักษณ์ คือ ต้นมะกอก น้ำ และนกฮูก เป็นธิดาของซูสกับมีธิส
 
     ขณะที่นางมีธิสกำลังตั้งครรภ์ ครั้งหนึ่งซูสได้รับคำทำนายจากจีอาว่า โอรสธิดาที่ประสูติแต่มเหสีเจ้าปัญญานาม มีธิ
27 มี.ค. 57 เวลา 10:30 3,379 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...