เข้าสู่หน้าร้อนกันอย่างเป็นทางการด้วยอุณหภูมิในช่วงกลางวันที่สูงเกือบ ๆ ถึง 40 องศา อากาศในช่วงนี้เองที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้อาหารเสื่อมเสีย เป็นอันตราย จนถึงส่งผลต่อโรคทั้งหลายที่มาจากอาหาร ดังนั้นโรคที่พึงระวังในหน้าร้อนไม่พ้น โรคทางเดินอาหาร ต่างๆ ทั้งโรคท้องร่วง-อาหารเป็นพิษ-โรคไทฟอยด์-อหิวาตกโรค-โรคบิดอ.สง่า ดามาพงษ์ นักโภชนาการและผู้จัดการแผนงานโภชนาการเชิงรุก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำว่า โรคเหล่านี้มักมาในหน้าร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่มีงานเทศกาล มีการท่องเที่ยวและการเดินทางมากขึ้น อย่างไรก็ตามโรคดังกล่าวเหล่านี้เป็นโรคที่ป้องกันได้ไม่ยาก หากเราใส่ใจ คิดให้ดีก่อนที่จะรับประทาน
สำหรับอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในหน้าร้อนมี 7ประเภท ดังนี้
1.อาหารประเภทกะทิ เช่น แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด ขนมพวกกะทิ ซึ่งเป็นอาหารที่ง่ายต่อการบูดเสีย เชื้อจุลินทรีย์ชอบ ดังนั้น ต้องมั่นใจว่าเป็นอาหารปรุงสุกใหม่ ถ้ากินไม่หมดต้องนำเข้าตู้เย็นแล้วนำมาอุ่น ทางที่ดีควรรับประทานให้หมดภายในมื้อเดียว ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงไม่กินอาหารประเภทกะทิที่ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยหรือไม่ โดยเฉพาะอาหารแผงลอย ริมฟุธบาตก็น่าจะลดความเสี่ยงได้มากทีเดียว
2.อาหารประเภทยำที่มีเนื้อต่าง ๆ ทั้งหมู ไก่ ปลา อาหารทะเล รวมถึงส้มตำ สำหรับอาหารยำ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีลวก แต่ลวกไม่สุกทำให้เชื้อโรคไม่ตาย หากรับประทานเข้าไปเชื้อโรคก็อาจเข้าไปขยายพิษในร่างกาย ส่วนส้มตำน่าจะเป็นอาหารไทยที่ทำให้คนท้องเดินมากที่สุด ทั้งปลาร้าที่ไม่ผ่านการต้มสุก ปูดองดิบ ๆ ที่เชื้อจุลินทรีย์ซ่อนอยู่ในขาปูที่เราชอบดูด รวมทั้งถั่วลิสงป่นที่มีเชื้ออัลฟาท็อกซิน กุ้งแห้งใส่สีที่ไม่ได้ล้าง มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว มะละกอไม่ได้ล้างน้ำ ครกที่มีแมงลงวันตอม ซึ่งที่กล่าวมานี้ไม่ใช่กินไม่ได้ แต่ขอให้เราใส่ใจเลือกแค่นั้นก็ปลอดภัยแล้ว
3.ขนมจีน มีความเสี่ยง ทั้งจากเส้นขนมจีน น้ำยากะทิ และผักสดที่ไม่ล้างหรือล้างไม่สะอาด เนื่องจากทั้งเส้นขนมจีนและกะทินั้นบูดง่ายมาก ส่วนผักไม่ว่าจะผักสด ผักดอง ก็ล้วนต้องระมัดระวัง
4.อาหารทะเล จะบูดเน่าง่ายในหน้าร้อน ก่อนกินต้องทำให้สุกทุกครั้ง โดยเฉพาะยำหอยแครง ปลาหมึก
5.อาหารค้างคืน หรืออาหารที่เหลือจากมื้ออื่น ต้องมั่นใจว่าไม่บูดเสีย และมีการอุ่นให้ได้ที่ ทางที่ดีควรกินอาหารปรุงสุกใหม่ทุกครั้ง
6.อาหารที่มีแมลงวันตอม สักเกตได้ง่ายนิดเดียว โดยเฉพาะอาหารปรุงสำเร็จที่วางขายในภาชนะที่ไม่มีฝาและสิ่งใดปกปิด ที่สำคัญคงไม่ใช่แค่แมลงวันที่ไปไต่ตอม แต่พวกฝุ่นละออง เชื้อโรค ก็ร่วงหล่นลงไปในอาหารด้วย
7.น้ำดื่ม และน้ำแข็ง ต้องมั่นใจว่าเป็นน้ำดื่มที่อาดได้มาตรฐาน อย. น้ำแข็งที่แช่ร่วมกับอาหารนั้นเสี่ยงต่อการทำให้ท้องร่วงมาก ขณะเดียวกันน้ำที่ใส่เหยือกหรือกาไว้ก็ไม่น่าไว้ว่างใจเช่นเดียวกัน
เห็นไหมคะว่า อาหารที่มีความเสี่ยง ก็เป็นอาหารใกล้ ๆ ตัวเรานี่เอง จะทานอะไรในช่วงนี้ ใส่ใจเลือกอาหารที่สะอาด ไม่ทิ้งไว้ค้างคืน และจะต้องสังเกตลักษณะของอาหาร ฟองแก้ส และกลิ่น ก่อนการรับประทานกันนะคะ ได้รับเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคที่ปะปนมากับอาหารเข้าไป ท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ จนต้องเข้าโรงพยาบาลกันได้ง่าย ๆ เลยล่ะคะ