สีชุดนักโทษไทยหมายถึงอะไร



 

สีชุดนักโทษไทยหมายถึงอะไร

 

 

 

ชุดนักโทษของไทยขณะอยู่ในเรือนจำก่อนหน้านี้จะใส่อะไรก็ได้ เพิ่งมีการกำหนดข้อบังคับช่วงต้นปี 2556
วันธรรมดา นักโทษที่คดีถึงที่สุดแล้วหรือ “นักโทษเด็ดขาด" ต้องใส่เสื้อสีฟ้าและกางเกงสีกรมท่า
ส่วนผู้ต้องขังที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี หรือ "นักโทษระหว่าง"
ต้องใส่เสื้อสีน้ำตาลและกางเกงสีน้ำตาลเข้ม
ทั้งนี้ ไม่มีการบังคับรูปแบบเสื้อ เน้นเฉพาะสีเท่านั้น
ส่วนในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ สามารถใส่ชุดอะไรก็ได้
 
 
เมื่อมีการเยี่ยมญาติ ผู้ต้องขังจะต้องเปลี่ยนชุดที่ตัวเองใส่ มาเป็น"สีเหลือง"
การพบทนายความ พบเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานข้างนอก พบเจ้าหน้าที่สถานทูต พนักงานสอบสวน
หรือออกทำกิจกรรม เช่น เรียนหนังสือ ฝึกวิชาชีพ อบรมความรู้ต่างๆ
หรือออกไปสถานพยาบาล ต้องใส่เสื้อสีฟ้า
 
นักโทษที่ทำหน้าที่คอยให้บริการงานต่างๆ ภายในเรือนจำ เช่น เดินส่งจดหมาย
ส่งหนังสือระหว่างแดน ประจำจุดเยี่ยมญาติ จะบังคับให้ใส่เสื้อ "สีขาว"
ไม่จำกัดแขนสั้น หรือแขนยาว และกางเกงขาสั้น "สีน้ำเงินเข้ม"
นักโทษที่ทำงานกองนอกที่คอยให้บริการบริเวณพื้นที่โดยรอบเรือนจำ เช่น เก็บกวาดขยะ งานช่างต่างๆ  
จะบังคับให้ใส่เสื้อแขนยาว "สีน้ำเงิน" และกางเกงขาสั้น "สีน้ำเงินเข้ม"
 
ส่วนนักโทษที่ต้องออกไปทำงานสาธารณะ เช่นลอกท่อน้ำ ตามสถานที่ต่างๆ
ผู้ต้องขังกลุ่มนี้จะเรียกว่า "ทำงานสาธา" ซึ่งต้องออกไปนอกบริเวณเรือนจำ
ชุดที่ใส่จะเป็นเสื้อแขนยาว "สีน้ำเงินเข้ม" ด้านหลังจะมีสกรีนคำว่า "งานสาธารณะ"
บางแห่งอาจระบุชื่อเรือนจำตามท้ายด้วย ส่วนกางเกง เป็นกางเกงขาสั้น "สีน้ำเงินเข้ม"
 
 
กรณีที่ต้องเดินทางออกนอกเรือนจำ เพื่อไปยังศาล
ผู้ต้องขังทุกคนจะต้องใส่ชุดสีน้ำตาล หรือที่เรียกกันว่าสีลูกวัว
ชุดสีน้ำตาลนี้ ภายในเรือนจำจะเรียกกันง่ายๆ ว่า "ชุดออกศาล"
เสื้อจะเป็นลักษณะเสื้อคอกลม ไม่มีกระเป๋าเสื้อ ไม่มีกระดุม ไม่มีซิป
ส่วนกางเกง จะเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่าสีเสื้อ ลักษณะคล้ายกางเกงเล แต่ขาสั้นกว่า
คือมีกระเป๋าข้างแนบน่อง แล้วมีสายผ้า 2 เส้น สำหรับอ้อมมาผูกทางด้านหน้า
 
 
 
เมื่ออยู่ที่ศาล.... ผู้ต้องขังไม่ได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้า
นักโทษชายที่อายุไม่เกิน 60 ปี ต้องถูกตีตรวนขณะเดินทางมาศาล
และต้องใส่ตรวนอยู่ตลอดการพิจารณาคดีด้วย
 
 
ถ้าอายุเกิน 60 ปี ถ้าต้องการจะไม่ใส่โซ่ตรวน ก็จะต้องทำหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน
 

 
ที่มา:http://ilaw.or.th/node/3069



 

 

 


 

Credit: http://board.postjung.com/754587.html
24 มี.ค. 57 เวลา 10:17 36,404 2 110
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...