ปัญหาท้องก่อนวัยอันควรที่มีมาตลอดในประเทศไทยนั้น ก่อให้เกิดข่าวรายวันอันน่าสลดใจเมื่อมีเด็กถูกทิ้งให้เสียชีวิตทั้งๆที่ยังไม่ได้ลืมตาดูโลก รวมถึงคลีนิกทำแท้งเถื่อนก็มีอยู่ทุกซอกมุม และมีแนวโน้มว่าสถิตินี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ วิธีแก้ไขนั้นไม่ยากแต่ทำไม่ได้เพราะเนื่องจากการศึกษาและความเข้าใจของวันรุ่นที่ไม่เพียงพอในเรื่องเพศศึกษา
ปัจจุบันนี้มีหลายประเทศได้มีการอนุญาติให้ใช้ "ตู้ทิ้งเด็ก" หรือ Baby hatch , Baby drop boxes ขึ้นตามโรงบาลของรัฐ เพื่อให้พ่อแม่ที่ไม่พร้อมจะเลี้ยงดูลูกสามารถนำทารกมาใส่ไว้ในตู้นี้ ดีกว่าจะนำเด็กไปปล่อยทิ้งไว้ตามถังขยะ หรือที่ต่าง ตู้นี้มีจุดกำเนิดมาจากนิกายโรมันคาทอลิกที่มีความเชื่อว่าแม่ไม่สามารถฆ่าลูกตัวเองได้แต่เอามาทิ้งไว้ที่โบสถ์ให้คนอื่นเลี้ยงต่อได้
โรงพยาบาลเซนต์โจเซฟ ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน มีตู้ที่เรียกว่า ตู้อบทารก (Baby
hatch หรือ Babyklappe) หรือเรียกตามลักษณะการใช้งานว่า "ตู้ทิ้งทารก" เปิดให้บริการ
ให้แม่ผู้ให้กำเนิดบุตรแต่ไม่ต้องการหรือไม่สามารถเลี้ยงลูก นำทารกมาวางทิ้งไว้ได้ จาก
นั้นเด็กจะถูกส่งตัวเข้าสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า หรือหาผู้อุปการะต่อไป
ตามรายงานจากเว็บไซต์เดลี่เมล เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ระบุว่า ตู้ทิ้งทารก ไม่ได้มีเฉพาะแค่ที่โรงพยาบาลเซต์โจเซฟแห่งนี ซึ่งถูกใช้งานจริงเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง แต่ยังมีอยู่ที่ 99 แห่งทั่วประเทศ และนอกจากเยอรมันแล้ว ก็ยังมีตู้ลักษณะนี้ในอีกหลายประเทศทั่วยุโรปไม่ว่าจะเป็นโปแลนด์ สาธารณรัฐเชก ฮังการี อิตาลี เบลเยียม เนเธอแลนด์ สวิทเซอร์แลนด์ วาติกัน แคนาดารวมถึงบางประเทศในเอเชีย อย่างเช่น มาเลเซีย ญี่ปุ่น รวมถึงที่กำลังจะเปิดให้บริการที่เมืองเสิ่นเจิ้น ประเทศจีนด้วย
เมื่อแม่เปิดประตูเพื่อนำทารกมาวางในตู้ ซึ่งมีแผ่นนวมที่ให้ความอบอุ่นรองอยู่ สัญญาณที่ด้านในโรงพยาบาลก็จะดังขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถไปถึงตัวเด็กได้อย่างทันท่วงทีที่ถูกนำมาวางทิ้งไว้ ส่วนผู้เป็นแม่จึงสามารถละทิ้งลูกของตนไปได้โดยไม่ต้องเปิดเผยแม้แต่หน้าตาหรือชื่อเลยแม้แต่น้อย
โดยเด็กทารกจะถูกรับตัวไปเลี้ยงดูแลโดยหน่วยงาน สถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า หรือเข้าสู่กระบวนการรอรับการอุปถัมภ์ต่อไป แม้จะเป็นการโหดร้ายสำหรับเด็กที่จะเติบโตขึ้นมาโดยไม่มีทางได้รู้จักพ่อแม่ที่แท้จริงของตนเลย แต่สำหรับโรงพยาบาลที่เยอรมันแห่งนี้ ผู้ที่นำมาทิ้งจะมีโอกาสกลับไปคิดทบทวนใหม่ และสามารถกลับมารับตัวทารกกลับไปได้โดยไม่มีการติดตามเอาความผิดแต่อย่างใด ภายในระยะเวลา 8 สัปดาห์
แน่นอนว่าการให้บริการ "ตู้ทิ้งทารก" เช่นนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก และล่าสุดก็ถูกต่อต้านจากยูเอ็น หรือ องค์การสหประชาชาติด้วย เพราะเห็นว่าจะเป็นการส่งเสริมพ่อแม่ที่ไร้ความรับผิดชอบให้มีพฤติกรรมการทอดทิ้งลูกในไส้ตัวเองกันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีในอีกด้านหนึ่ง หากไม่มีบริการตู้ทิ้งเด็กแบบนี้ ทารกก็จะถูกทอดทิ้งไว้ตามพงหญ้า หรือสถานที่รกทึบ ยากต่อการเข้าถึงหรือพบเห็น ทำให้กว่าจะมีคนพบทารกก็เสียชีวิตไปแล้ว กลายเป็นปัญหาน่าสลดขึ้นมาอีกรูปแบบหนึ่ง
แม้แต่ตอนนี้ก็ยังไม่อาจหาข้อสรุปหรือทางออกที่ดีได้ว่าควรจัดการกับปัญหาพ่อแม่ที่มีลูกเมื่อไม่พร้อมและการทอดทิ้งเด็กได้อย่างไร และไม่รู้จะเป็นเรื่องที่น่าเสียใจหรือดีใจ ถ้าหากว่าบ้านเราซึ่งมีข่าวเด็กทารกถูกทิ้งให้เห็นได้บ่อย ๆ ตามหน้าหนังสือพิพพ์ ก็จะมี "ตู้ทิ้งทารก" ขึ้นมาให้บริการบ้าง...แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปกลับเป็นการส่งเสริมหรือเปล่านั้น คงต้องแล้วแต่วิจารณญาณและจิตสำนึกของผู้เป็นแม่นั่นเอง...
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนและรูปภาพจาก
http://www.dek-d.com/board/view/3166207/
http://women.sanook.com/15043/
http://wowboom.blogspot.jp/2012/01/baby-drop-boxes.html
คุณคิดว่าประเทศไทยควรมีตู้ทิ้งทารกแบบนี้หรือไม่
**************************