พิจารณาอย่างไรว่าเป็นภาพศิลปะ หรือภาพลามก อนาจาร
บทความทางวิชาการ และอัลบั้มภาพประกอบการเรียนรู้ เรื่อง ศิลปะ กับอนาจาร เรียบเรียงโดย SpiderX
ศิลปะ กับ อนาจาร
Nude- ศิลปะภาพเปลือย
Sex-เพศสัมพนธ์
Indecent- อนาจาร
Pornographic - ลามก
คำเหล่านี้มีความหมายที่แตกต่างกัน
การโป๊อย่างมีศิลปะ มีมาตั้งแต่ยุคโบราณ มาจนถึงปัจจุบัน Nude เป็นที่ยอมรับต่อสังคมโลก เกือบจะทั่วโลก
Nude ไม่ใช่เรื่องลามก หรือ อนาจาร และไม่ผิดกฏหมาย รวมถึงกฏหมาย IT
บ้างก็ว่า คำว่านู๊ดกับโป๊นั้นมีเส้นกั้นเพียงบางๆ แต่บ้างก็ว่า นู๊ดกับโป๊มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
สำหรับผมเรียนจบมาจากเพาะช่าง เคยวาดภาพศิลปะประเภทนี้มามาก
ศิลปะมีข้อแตกต่างกับกับคำว่าโป้ โดยสิ้นเชิง
คำว่าโป้ คือเปลือยอย่างไม่มีศิลปะ เช่นแต่งตัวโป้ นุ่งกระโปงสั้นมากๆ ใส่เสื้อเปิดอกลึก ไปจนถึงการเปลือยกาย
คำว่าอนาจาร คือการเปลือยกายในที่สาธารณะ โดยตั้งใจที่จะเปิดเผยให้ผู้ือื่นได้เห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อสังคม
คำว่าลามก คือการจงใจที่จะกระทำพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ต่อบุคคลที่ 2 และต่อสาธารณะ ซึ่งขัดต่อวัฒนธรรม ประเภณี
ทั้งนี้ทั้งนั้นสรุปแล้วโดยรวมก็ให้ความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า .. นู๊ดหรือภาพเปลือยเชิงศิลปะนั้น
ไม่สามารถกระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้หาก แต่ทำให้เกิดความเคลิบเคลิ้มในความงดงามอ่อนช้อย
ของเส้นเว้าเส้นโค้งบนเรือนร่าง
ส่วน ..โป๊ แต่เป็นโป๊โดยเจตนาชัดที่จะให้ผู้อื่นได้เห็น คือเรียกร้องความสนใจ และสื่อให้เกิดความรู้สึกทางเพศ
ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโป๊ๆ ก็คงจะทำมาหากินต่อไปได้ และนู๊ดกับโป๊ที่มีความแตกต่างก็จะยังคงถูกบิดเบือนความหมายกันต่อไป
ด้วยเส้นกั้นที่มีอยู่ และเราเองควรจะต้องเป็นผู้ขีดย้ำมิใช่ให้ใครมากล่อม หรือชี้นำว่าโป๊หรือไม่โป๊ เซ็กส์หรือศิลปะ
การเปลือยร่างในสังคมมนุษย์
สังคม ไทยในปัจจุบันกำลังตกอยู่ในสภาวะ “ตื่นกลัว” การเปลือยร่างของผู้หญิง และผู้ชายต่อสาธารณะ โดยเฉพาะภาพเปลือยที่เปิดเผยร่างกายของนายแบบและนางแบบในนิตยสารแฟชั่นหลาย ฉบับ ผู้ปกครอง นักการเมือง และนักอนุรักษ์นิยมขวาจัดลุกขึ้นมาต่อต้าน ประณาม และลงโทษบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการเปลือยร่างในธุรกิจแฟชั่น ผู้ที่ตกเป็นจำเลยของสังคมทุกวันนี้คือ ปัจเจกบุคคล ที่กล้าเปิดเผยเรือนร่าง รวมทั้งบุคคลที่สนับสนุนให้มีการเปลือยร่างทั้งหลาย
เราจะอธิบาย ปรากฏการณ์เหล่านี้อย่างไร สังคมไทยต้องการสร้างระบบศีลธรรมต่อเรื่องนี้อย่างไร สิ่งเหล่านี้ถูกผิดหรือไม่ และเราถูกทำให้เชื่อว่าภาพเปลือยคือความเลว และนำไปสู่หุบเหวของการกามารมณ์ใช่หรือไม่ การเปลือยร่างในสังคมบริโภคนิยม ถูกทำให้เป็นสินค้าหรือไม่ บุคคลที่เปลือยร่างเลวกว่าคนทั่วไปหรือไม่ คนไทยมีวิธีคิดต่อร่างกายอย่างไร
คำถามเหล่านี้ ต้องการคำอธิบายเพื่อทำความเข้าใจว่า การเปลือยร่างในสังคมมนุษย์ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ หากแต่มีอยู่ในสังคมมานานแล้วตั้งแต่ที่มนุษย์ยังเร่ร่อนหากินในธรรมชาติจวบ จนถึงยุคเทคโนโลยีดิจิตอล
นักมานุษยวิทยาได้ศึกษาเปรียบเทียบวิธีคิดของมนุษย์ในหลายวัฒนธรรมเพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า
มนุษย์ ปฏิบัติต่อร่างกายของตนเองอย่างไร ตั้งแต่สังคมชนเผ่า ไปจนถึงสังคมเมืองที่ซับซ้อน ในหลายกรณีการเปิดเผยร่างกายเกิดขึ้นในสภาวะพิเศษ มีลักษณะของความศักดิ์สิทธิ์ ในสังคมชนเผ่าในแอฟริกาและหมู่เกาะแปซิฟิก มนุษย์อาจมีการตกแต่งเรือนร่างด้วยการเขียนลวดลาย หรือประดับด้วยกิ่งไม้ ใบไม้ ในสังคมตะวันตก การเปลือยร่างอาจขึ้นอยู่กับยุคสมัย ยุคหนึ่งอาจเป็นความงดงาม อีกยุคหนึ่งอาจเป็นความอนาจาร ยุคหนึ่งศาสนาอาจเข้ามานิยามคุณค่าของร่างกาย ต่อมาวิทยาศาสตร์การแพทย์อาจเข้ามาให้คุณค่าใหม่ ดังนั้นวิธีคิดเกี่ยวกับเรือนร่างจึงเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ
ตัวอย่าง ในสังคมชนเผ่า Yanomami ในลุ่มน้ำอะเมซอน การเปลือยกายของชายหญิงเป็นเรื่องปกติ ผู้หญิงอาจเปลือยท่อนบน และอาจใช้ผ้าปกปิดอวัยวะเพศเล็กน้อย ชายหญิงในเผ่า Yanomami นิยมการเขียนลวดลายบนใบหน้า ลำตัว แขนและขา ดังนั้นการเปลือยร่างจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการสร้างสรรค์งานศิลปะบน เรือนร่าง เมื่อชาว Yanomami ติดต่อกับโลกภายนอก การสวมเสื้อผ้าจึงเกิดขึ้น ความรู้สึกอายต่อการเปิดเผยเรือนร่างเป็นเรื่องทางวัฒนธรรม
นัก มนุษยวิทยาพบว่าสังคมตะวันตกจะมีแนวคิดเรื่องความอาย เพราะถูกศาสนาเข้ามาควบคุม ในสังคมตะวันตกจึงมีการควบคุมร่างกายมนุษย์อย่างเข้มงวด ในขณะเดียวกันก็มีผู้ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อการ เปลือยร่าง เช่น ในช่วงทศวรรษที่ 60 กลุ่มหนุ่มสาวรุ่นใหม่ออกมาจัดงานเปลือยกาย อาจกล่าวได้ว่าการออกมาประณามการเปลือยกายเกิดขึ้นเฉพาะบางสังคมที่คิดว่า เรื่องการเปลือยกายเป็นสิ่งผิดศีลธรรม
บทความของ Corey Mangold อาจทำให้เรามองเห็นประวัติศาสตร์ และพัฒนาการของการเปลือยกายในสังคมตะวันตก และอาจนำมาเปรียบเทียบกับสังคมไทย เพื่อที่จะทำให้เรากลับมาทบทวนว่า วิธีคิดต่อเรือนร่างในวัฒนธรรมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างไรบ้าง
ศิลปะการถ่ายภาพ
ภาพสาวสวยในชุด บีกินนี่ เป็นภาพค่อนข้างโป้สำหรัีบความคิดของคนหัวโบราณ
แต่หากใช้ศิลปะของการถ่ายภาพ คือเทคนิคการถ่ายภาพผู้หญิงให้มีศิลปะ ให้ดูงดงาม และไม่ให้สื่อออกไปทางลามก
ภาพเหล่านั้นก็จะดูเป็นภาพศิลปะชนิดหนึ่ง ที่เรียกกันว่า ศิลปะการถ่ายภาพ
ภาพชุดชั้นใน หรือชุดนอนสวยหรูสุดแสนจะเซ็กส์ซี่แบบนี้ ไม่ใช่ภาพเปลือย หรืออนาจาร[/b][/size][/color]
อาจจะเป็นชุดนอนแบบสบายๆชิวๆ หรือเจตนาในการยั่วยวนใจสามีก็เป็นได้
แต่การถ่ายภาพนี้ เน้นแสดงให้เห็นว่าจัดอยู่ในประเภท ภาพศิลปะ แล้วคุณว่ามันเป็นศิลปแบบไหนละ
ภาพนี้ก็คือ ศิลปะการถ่ายภาพ อาจจะใช้ในไปในทางโฆษณาสินค้า ประเภทชุดชันใน หรือชุดนอนที่สุดแสนจะเซ็กส์ซี่
จะเห็นได้ว่ามีการจัดท่วงท่าที่ลงตัว เน้นความงดงามของร่างกายผู้หญิง บวกกับชุดเสื้อผ้าที่ต้องการโปรโมดสินค้า
ซึ่งเมื่อมองไปแล้วจะพบว่า ไม่ได้เน้นไปทางลามก หรือ อนาจารแต่อย่างใด
การมองภาพเหล่านี้ จึงต้องแยกแยะให้ออกว่า เป็นภาพชนิดใหน และต้องการจะสื่อไปในทางใดได้บ้าง
สำหรับภาพ สาววัยรุ่นดูโป๊ในชุดชั้นใน มีจักรยานเป็นองค์ประกอบหลัก เป็นภาพที่ดูแล้วลงตัวในความน่ารักแบบสดใสวัยทีน
ถึงแม้จะจงใจจับสาววัยทีนมาเปลือยให้ดูเหมือนโป๊ เหลือแต่ชุดชั้นใน แต่เมื่อมองดูแล้วก็ไม่สามารถหาจุดไหนที่จะบ่งบอกได้เลยว่า
มีสิ่งใดที่สื่อออกไปทางลามก อนาจาร เช่นการจัดท่วงท่า การโพสท่าทาง การแสดงอารมณ์ และสายตาซึ่งดูแล้วใสซื่อแบบไร้เดียงสา
และนี้ก็คือ ศิลปะการถ่ายภาพ หรือเทคนิคในการถ่ายภาพ
หลักการพิจารณาศิลปะกับอนาจาร
ของอาจารย์อารี สุทธิพันธ์ ผู้บุกเบิกงานศิลปศึกษาในเมืองไทย
1) ให้ ดูที่เจตนาของผู้ทำงานนั้น ๆ ว่ามีเจตนาอะไรแฝงอยู่หรือไม่ เช่น
การใช้กิเลสพื้นฐานของสัญชาตญาณเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจแล้ว แอบอ้างว่าเป็น "ศิลปะ"
เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งของตนเอง
2) ให้ ดูปฏิกริยาของผู้ชม ถ้าเป็นงานศิลปะผู้ชมจะสามารถดูได้อย่างเปิดเผย
แต่ งานอนาจารจะดูอย่างลับ ๆ ศิลปะจะส่งเสริมให้มนุษยชาติมีความเจริญงอกงามด้านแนวคิด
และสติปัญญามากกว่า การกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ใฝ่ต่ำ
3) งาน ศิลปะยิ่งนานไปยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อย ๆ แต่อนาจารยิ่งนานยิ่งเสื่อมค่าลง
ศิลปะเป็นผลงานของมนุษย์ที่แสดงออกให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์อันแฝงด้วยจิตวิญญาณ
หรือความรู้สึกที่ต่างไปจากผลงานที่เป็นสัญชาตญาณของสัตว์เดรัจฉาน ทั่วไป
4) ให้ ดูที่ฝีมือ หรือ ความสามารถในการถ่ายทอดของศิลปินว่าถ่ายทอดได้อารมณ์มากน้อยเพียงใด
ความละเอียดอ่อนที่ไวต่อการรับรู้ของศิลปินผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และ ความสามารถในการระบาย
หรือถ่ายทอดความรู้สึกเหล่านี้แตกต่างกัน ทำให้คุณค่าของศิลปะแตกต่างกันด้วย
ภาพศิลปะ หรือ Nude จะต้องประกอบไปด้วย
การจัดองค์ประกอบ การใช้สีสรร เฉดสี การจัดท่วงท่า การใช้สายตาเพื่อแสดงอารมณ์
องค์ประกอบต่างๆเหล่านี้ จะ สามารถแสดงออกให้มีความหมาย และสื่อออกไปทางศิลปะได้
ภาพเปลือย แต่ไม่ไช่ภาพที่สื่อไปทาง ลามก หรือ อนาจาร
จะเห็นการจัดองค์ประกอบและท่วงท่า ลักษณะการจัดวางสรีระร่างกาย ที่ดูแล้วไม่ได้สื่อออกไปทาง ลามก อนาจารได้เลย
ภาพเปลือยหรือภาพนู้ดมันก็เป็นได้ทั้ง “ศิลปะ” และ “อนาจาร”
แล้ว แต่ใครจะคิด ศิลปะ ก็ได้ อนาจาร ก็ได้ ทั้งภาพบน และภาพล่าง คืออะไร ศิลปะ หรืออนาจารละครับ
ทั้งสองภาพนี้เปลือยเปล่าชัดเจน เห็น ทั้งหัวนม และเส้นขน คุณคิดว่าไงละ
เอ๊ ? แล้วอย่างนี้ผิดกฏหมาย IT หรือไม่
ก็ต้องลองไปศึกษากฏหมายIT ดูให้ดีซิครับว่าเขาแยกแยะเอาไว้อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งหากเป็นงานศิลปะ ภาพศิลป์
หรืองานวิจัย หรือบทที่เป็นวิชาการ เรื่องราวที่สื่อไปในทางบทความซึ่งเป็นวิชาการความรุ้ ภาพเหล่านี้จะยกเว้น
แม้ว่าจะเห็นนม หรือเห็นเส้นขนอย่างชัดเจน ก็ไม่ได้ผิดกฎหมาย IT แต่อย่างใร เพราะเน้นไปในทางการศึกษา
เห็นไหมละครับว่า การโพสภาพสื่อเหล่านี้ เจตนาของผู้โพสจะสื่อไปในทางใด
ภาพข้างบนทั้งสองภาพ ก็แล้วแต่มุมมอง และประสบการณ์อันแตกต่างของท่านผู้ชม
สรุปง่าย ๆ ว่าเป็นมันได้ทั้ง 2 อย่าง
แต่ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วยว่าส่อไปในทิศทางใด อันนี้ต้องพิจารณาจากวิจารณญานของผู้ชมด้วยนะ
ซึ่งแน่นอนว่าสังคม ประเพณี วัฒนธรรมก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดด้วยเช่นกันว่า
สิ่งนั้นเป็น “ศิลปะ” หรือ “อนาจาร”
อนาจารหมายถึงอะไรหรือครับ
ถ้าหมายถึงสิ่งที่ปลุกเร้าอารมณ์หื่น....หรือเสริมสร้างความต้องการในบางสิ่งบางอย่าง.....ผมว่าเกือบทุกอย่างละครับที่อนาจาร....
หลาย ๆ คนเกิดอารมณ์แม่เพียงเห็นแค่....ท่อนแขน .... หัวไหล่ ... ต้นคอ.......
หรือแม้แต่แฟชั่นบางอย่างที่เห็นตามท้องถนน ในปัจจุบัน ก็สามารถเสริมสร้างและเกิดอารมณ์ได้อย่างยิ่งยวดเลยทีเดียว
แล้วอย่างนี้.....จะถือว่าสิ่งไหนอนาจารครับ
ระหว่างรูปภาพเปลือย......หรือ ...... เสื้อซีทรูคว้านอกลึกสายเดี่ยว.....ที่เห็นตามห้างทั่วไป
ถ้าอธิบายง่ายๆก็คือการใช้วิจารณญาณของตนเองในการดูนั่นเอง
การวาดภาพเปลือยรวมถึงการถ่ายรูปที่จริงแล้วตัวภาพจะฟ้องอย่างชัดเจน
ระหว่างเป็นงานศิลปะหรือประเภทปลุกเร้าอารมย์
ให้ไปพิจรณาดูพวกหนังสือปลุกใจเสือป่าทั้งหลาย
ในการจัดหรือโพสท์ท่าทาง มันจะไม่มีวิญญานของศิลปะเลยแม้แต่น้อย
มุ่งจะถ่างแข้งถ่างขาซะเป็นส่วนใหญ่ ต่างกับงานศิลปะที่ละเอียดอ่อนในการจัดท่วงท่า ให้มีความรู้สึกที่สวยงามมากกว่า
สำหรับภาพ No:001 นี้จัดได้ว่าเป็นภาพ Nude Hard Core เลยทีเดียว และเกือบจะถูกจัดว่าเป็นอนาจาร
แล้วภาพนี้มันคืออะไรทุกคนคงทราบดี คนที่ไม่เข้าใจก็จะบอกว่า มันอนาจารอย่างชัดเจน
ภาพ No: 01 เป็นภาพลามก นำมาเปลียบเที่ยบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง ศิลปะ กับ อนาจาร อย่างเห็นได้ชัด
ภาพนี้ แค่มองผ่านก็ไม่ต้องพิจารณาอะไรเลย แน่นอนว่า มองเห็นเป็นภาพที่เจตนาสื่อออกไปในทางลามก อนาจาร อย่างเห็นได้ชัด
ซึ่งจะเห็นเจตนาของเจ้าของภาพเอง ที่จงใจสื่อไปทางเรื่องเพศ เชื้อเชิญให้เกิดอารมณ์ทางเพศ หรือเชิญให้คิดถึงเรื่องเพศสัมพันธุ์
ส่วนภาพNo001 เป็นภาพที่สื่อออกไปทาง ศิลปะ เพราะมีความงดงามของศิลปะ เข้ามาเกี่ยวข้อง
และปิดบังอวัยวะเพศไว้ด้วยภาพของผีเสื้อ การมองเห็นครั้งแรก จึงเห็นเป็นภาพผีเสื้อ
ส่วนอวัยวะเพศนั้น มองผ่านครั้งแรกจะไม่ได้สังเกตุเห็น และเมื่อได้พิจารณาดูอย่างชัดเจนแล้ว จึงจะเห็นว่าเป็นภาพศิลปะ
ในความเห็นส่วนตัวของผม มันก็คือ Nude Art อย่างแท้จริง
ชัดไหมละครับการแยกแยะว่า อะไรคือศิลปะ อะไรคือลามก อนาจาร
ชัดเจนอย่างนี้แล้วคงไม่ต้องตีความกันอีกนะครับ
คำว่า อนาจาร ต้องไม่มีศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง
คำว่า ศิลปะ ก็จะต้องไม่มีคำว่า อนาจาร เข้ามาเกี่ยวข้อง ถึงจะเป็นศิลปที่บริสุทธิ์
ความหมายของศิลปะ หรือ Nude Art ก็คือ
ถ้าได้พิจารณาดูแล้ว และไม่สามารถมองเห็นถึงความเป็นเรื่องของลามก อนาจารได้เลย นั้นก็คือ Nude Art หรือศิลปะโดยแท้จริง
ส่วน โป๊ หรอครับ ถ้าจะจงใจที่จะโป๊โดยเจตนาให้คนอื่นๆได้เห็น แบบไม่ใช่อนาจาร ก็ต้องโป๊แบบมีศิลปะ
ซึ่งการโป๊แบบมีศิลปะ ณ ปัจจุบันนี้ สังคมส่วนใหญ่ก็ให้ความยอมรับกันมากแล้ว รวมถึงกฏหมายก็ได้อนุโลมเอาไว้ให้ด้วยครับ
ผมว่าพวกที่ชอบดูภาพโป็ ควรที่จะเปลี่ยนทัศนะวิสัย มาค้นหาภาพโป๊ที่เป็นศิลปะมาดูกันดีกว่าครับ
จะได้ไม่ติดนิสัย ( เป็นคนลามก ) แต่ตรงข้ามครับ กลายเป็นคนที่มีศิลปะ
สำหรับ เรา งานศิลปะมันต้องผ่านกระบวนการคิด เพื่อสุนทรียภาพ หรือเพื่อสะท้อนความจริง ความงาม หรือนัยยะอื่นๆที่ชวนให้เกิดการตีความหรือค้นหาความหมายของศิลปินผู้ถ่ายทอด งานนั้นๆ
มันแค่เส้นบางๆที่คั้นไว้เท่านั้นเอง .......
ตัวเรา และคนที่มองนั่นแหล่ะที่เลือกจะอยู่ข้างไหน ...... แค่นั้นเอง
เพราะ ระหว่าง อนาจาร กับ ศิลปะ มนุษย์ เป็นคนกำหนดขึ้นมา ตัวศิลปินนั่นแหล่ะที่เลือกจะสื่อทางด้านใด และเลือกที่จะมองด้านใด และภาพอนาจารพวกนี้นั่นแหล่ะ ที่เป็นรากเหง้าของ " ศิลปะ "
ภาพเปลือย(nude)คือเปิดเปลือยให้เห็นธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์มา แสดงท่าทางอันเป็นปกติของมนุษย์
ภาพโป๊(porn)คือการตั้งใจเปิดให้คนอื่นดู หรือจงใจดัดจริตปิดหมิ่นเหม่ให้จินตนาการต่อ
เท่านั้นแหละ...เจตนา
สำหรับ บางคนที่เห็นนิดเห็นหน่อยก็รู้สึก turn on อันนั้นก็ขึ้นอยู่กับศีลธรรมเฉพาะบุคคลแล้ว ไม่อาจนำมาเป็นปัจจัยวัดเรื่องศิลปะหรืออนาจารได้ ถ้าคุณเคยดูภาพยนตร์เรื่อง Calendar Girl เราว่าภาพปฏิทินนู้ดในเรื่อง ดูน่ารักม้ากกกทีเดียว ห่างไกลจากอนาจารแยะ
ทำไมบ้านเราไม่คิดทำอะไรแบบ นั้นบ้างนะ จะได้ไม่ต้องมาถกประเด็นซ้ำซากให้เป็นข่าวกัน แล้วก็อ้างข้างๆคูๆไปเรื่อย...น่าสังเวช อ่อ.......
พวกนักศาสนาบางคน ที่มีผีศาสนาสิงอยู่อย่างสุดโต่ง ภาพอะไรๆลองได้แก้ผ้าแล้วละก็จะต้องมองเป็นภาพอนาจารไปซะหมด เช้อ..!
ขอเชิญสมาชิก และูผู้สนใจทุกท่านตั้งกระทู้ถามตอบ หรือวิจารณ์ภาพเหล่านี้เพื่อให้เป็นความรู้ และประโยชน์ต่อสังคม
เืผื่อว่าจะเปลี่ยนใจ พวกที่ชอบดูภาพลามก ให้กลับใจมามองภาพที่เป็นศิลปะแทน จะดีกว่าหมกมุ่นอยู่กับสิ่งลามก อนาจาร
คุณว่า จริงไหม