ความในใจจากอดีตตัวประกันตอลีบันที่สื่่อตะวันตกไม่ยอมเปิดเผย



 

ความในใจจากอดีตตัวประกันตอลีบันที่สื่่อตะวันตกไม่ยอมเปิดเผย

 

 

 

 

 

หากใครโดนจับกุมและสอบสวนโดยตาลีบันในฐานะจารชนของสหรัฐฯ จากภาพที่มองผ่านสื่อตะวันตกแล้ว คงไม่มีใครคิดฝันว่าเรื่องจะจบลงอย่างแฮปปี้เอนดิ้งแน่ๆ


แต่สำหรับ อีวอน ริดลีย์, การถูกจับเป็นตัวประกันในอัฟกานิสถานกลับนำเธอหันศรัทธาไปสู่ศาสนาที่เธอบอก ว่า “เป็นครอบครัวที่ใหญ่และดีที่สุดในโลก”


อีวอน ผู้เป็นคอเหล้าขนานแท้และดั้งเดิม, และครูสอนโรงเรียนศาสนาคริสต์วันอาทิตย์, หันมาเป็นมุสลิมหลังจากอ่านอัล-กุรอานตามสัญญาที่ให้ไว้กับตาลีบัน



เดือนกันยายน 2001 อีวอนเป็นหัวหน้านักข่าวของซันเดย์เอ็กซ์เพรส, หนังสือพิมพ์ของอังกฤษ, เธอแอบปลอมตัว, สวมชุดคลุมทั้งตัวแบบผู้หญิงอัฟกัน, เข้าไปในอัฟกานิสถานผ่านทางชายแดนปากีสถาน


“ฉันเป็นคนเขียนข่าวด้านมนุษยธรรมเกี่ยวกับความหวังและความกลัวของชาวอัฟ กัน ฉันเข้ามาในอัฟกานิสถานได้สองวันแล้วก่อนที่จะโดนตาลีบันจับตัวเพราะเข้า เมืองโดยผิดกฎหมายและไม่มีวีซ่า”


ตอนผ่านด่านตรวจของตาลีบันใกล้เมืองจาลาลาบัด ลาของเธอถลาเดินออกไป เธอพยายามดึงบังเ...ยน แต่ในท่านั้นกล้องถ่ายรูปของเธอก็โผล่ออกมาจากใต้ชุดคลุม และบังเอิญอยู่ในสายตาของนักรบตาลีบันพอดี
แว่บแรกตอนที่เธอเห็นนักรบตาลีบันคนนั้นเดินอย่างโกรธเกรี้ยวเข้ามาหาเธอคืออะไรนะหรือ?


“ฉันคิดว่า ว้าว! – เด็กหนุ่มคนนี้หล่อชะมัดยาดเลย!” อีวอนบอก
“หมอนี่มีดวงตาสีเขียวแปลกตากว่าคนแถบนั้นในอัฟกานิสถาน และไว้หนวดเครา” แต่หลังจากนั้นความกลัวก็เริ่มเข้ามาแทนที่


“ฉันเจอเด็กหนุ่มคนนี้อีกทีตอนเดินทางออกจากอัฟกานิสถานหลังได้รับการปล่อยตัว เขาโบกมือให้ฉันจากในรถของเขา”


ริดลีย์คิดในตอนโดนตาลีบันจับกุมตัวว่า หากเธอไม่โดนข่มขืนหมู่ละก็, คงโดนขว้างด้วยหินจนตายแน่
“ฉัน เดาไม่ออกเลยว่าจะเจ็บปวดยังไง แต่ก็สวดมนต์ว่า หากจะตายละก็, ขอให้ตายเร็วๆ หน่อย” เธอเล่า ตอนนั้นเธอถูกขังไว้ที่จาลาลาบัด ตาลีบันคิดว่าเธอเป็นสปาย ต่อมาถูกย้ายไปกรุงคาบุล


อีวอนโดนตาลีบันจับกุมไว้ 10 วันเต็ม ในไดอารีของเธอ อีวอนกลับบันทึกไว้ว่า: “พวกเขา (ตาลีบัน) บอกเสมอว่า ฉันคือแขกของพวกเขา และบอกว่าหากฉันเสียใจ พวกเขาก็เสียใจด้วย ฉันไม่อยากเชื่อเลย...ฉันอยากให้ใครๆ ที่บ้านรู้จังเลยว่าฉันได้รับการปฏิบัติจากตาลีบันอย่างไร พนันกันเลยว่าทุกคนต้องคิดว่าฉันถูกตาลีบันทรมาน ทุบตี และทำทารุณกรรมทางเพศ, แต่เปล่าเลย, ฉันได้รับการปฏิบัติด้วยความสุภาพและให้เกียรติ เหลือเชื่อเลยจริงๆ”


ตาลีบันขังเธอไว้ในห้อง แต่ก็มอบกุญแจไว้ให้เธอด้วย พวกเขาเอาอาหารมาให้เธอวันละ 3 มื้อ แต่เธอไม่ยอมกิน เมื่อพวกเขาคะยั้นคะยอให้กินพร้อมบอกว่า 


“คุณเป็นแขกของเรานะ, พี่สาว” เธอคิดว่า 


‘คนนี้น่ะคงดีหรอก เดี๋ยวคนต่อไปคงใจร้าย มาพร้อมกับไฟฟ้าช็อตแหงๆ’ วันที่สาม มีหมอมาเยี่ยมเธอ อีวอนคิดว่า 


‘คงทำแบบนี้กับพวกที่กำลังจะเอาตัวไปประหารทุกคนชัวร์’ แต่หมอคนนั้นมาตรวจความดันเลือดของเธอ


มีอยู่วันหนึ่งระหว่างโดนคุมขัง รมช.ต่างประเทศของตาลีบันถูกเรียกเข้ามา เพราะอีวอนไม่ยอมเอากางเกงในออกจากราวตากผ้าในคุก ซึ่งทำให้นักรบตาลีบันบริเวณนั้นมองเห็นกางเกงในเธอหมด
“เขาบอกว่า ‘ดูนะคุณ, คุณเล่นแขวนกางเกงในโชว์แบบนี้ นักรบเราหันไปมองก็บาปกันหมดนะสิ’”


“อัฟกานิสถานกำลังจะถูกบอมบ์โดยประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก แต่พวกตาลีบันกลับมากังวลเรื่องกางเกงในไซส์ยักษ์สีดำของฉัน”


“ฉัน ว่านะ, กองทัพสหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องบอมบ์อัฟกานิสถานหรอก – แค่เอาทหารหญิงสักกองพันหนึ่งขึ้นเครื่องแล้วโบกกางเกงใน แค่นั้นพวกตาลีบันก็วิ่งหนีหมดแล้ว!”


วันที่ 6 ล่ามบอกเธอว่า 


“พยายาม ทำตัวเป็นคนดีหน่อย คุณมีแขกพิเศษมาเยี่ยม” วันนั้นอิหม่ามมาเยี่ยมเธอ ถามเธอเรื่องศาสนาและเธอคิดอย่างไรกับอิสลาม แม้เธอจะรู้เรื่องอิสลามน้อยมาก อีวอนตอบอย่างกระตือรือร้น เมื่ออิหม่ามถามว่าเธอจะเปลี่ยนมารับอิสลามไหม อีวอนตอบว่า เธอไม่สามารถตัดสินใจกับชีวิตทั้งชีวิตได้ตอนอยู่ในคุกนี่ แต่สัญญาว่าหากออกไปจากคุกแล้วเธอจะอ่านอัล-กุรอาน 


“มุลลอฮ โอมาร์ ผู้นำด้านจิตวิญญาณของตาลีบัน สั่งปล่อยตัวฉันในวันที่ 8 ตุลาคม 2001 ซึ่งการปล่อยตัวดังกล่าวสร้างความตะลึงพรึงเพริดให้กับโลกตะวันตก เพราะสหรัฐฯ และอังกฤษเพิ่งเริ่มถล่มอัฟกานิสถานก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียว ตอนคาบุลโดนถล่ม ไม่มีใครคิดหรอกว่าฉันจะรอดชีวิตมาได้”


“พวกหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ในโลกตะวันตกทั้งหลายเตรียมคำพาดหัวกันไว้เลย ว่า ฉันจะพูดว่าโดน ‘ทรมาน’ ‘ทำร้าย’ ‘ถูกข่มขืน’ แต่ทั้งนักหนังสือพิมพ์และนักการเมืองทั้งหมดต้องช็อคกับคำบอกเล่าของฉัน ทุกคนต้องการเหยื่อ พวกเขาต้องการได้ยินฉันบอกว่าโดนทรมาน ทุบตี อะไรทำนองนั้น แต่เปล่าเลย ตาลีบันดีสุดๆ กับฉัน”


ตอนเธอกลับออกมาจากอัฟกานิสถาน มีเสียงสะท้อนอย่างไรบ้างนะหรือ?

เมื่อกลับถึงลอนดอน อีวอนเริ่มอ่านคัมภีร์อัล-กุรอานตามที่ให้สัญญาไว้กับตาลีบัน
“ฉันตกใจมากกับสิ่งที่ฉันกำลังอ่าน – ไม่มีแม้แต่ขีดเดียว, ตัวอักษรเดียว, ถูกเปลี่ยนแปลงตลอด 1,400 ปีที่ผ่านมา”


“ฉัน คาดว่าในอัล-กุรอานจะเต็มไปด้วยบทต่างๆ ที่เกี่ยวกับว่า จะทุบตีภรรยาคุณอย่างไร กดขี่ลูกสาวคุณอย่างไร แต่กลายเป็นว่ากลับเจอการส่งเสริมเสรีภาพของผู้หญิงแทน”

 

 


เธอบอกว่าสิ่งที่เธอเจอในอิสลามคือ 


“แนวทางการใช้ชีวิต หลักเกณฑ์แห่งชีวิตที่สะอาดและเรียบง่าย สิทธิเสรีภาพของสตรีหลายอย่างที่โลกตะวันตกยังปฏิเสธ”


อบู ฮัมซา อัล-มัซรี อิหม่ามมัสยิดด้านเหนือของลอนดอน เคยโทร.หาเธอแล้วบอกว่ายินดีต้อนรับเธอสู่อิสลาม เมื่อเธอบอกว่าเธอยังไม่ได้รับอิสลาม อิหม่ามบอกว่า 


“ไม่ต้องรู้สึกกดดันหรือเร่งรัด ชุมชนมุสลิมอยู่ตรงนี้แล้ว หากคุณต้องการความช่วยเหลือก็โทร.หาพี่น้องมุสลิมะฮ์คนไหนก็ได้” 


“ตอน นั้นฉันคิดเพียงว่า เหลือเชื่อจริงๆ ฉันได้ยินแต่ข่าวร้ายๆ ของครูสอนศาสนาจากมัสยิดฟินส์เบอรรีปาร์คคนนี้ แต่เขากลับพูดจาดีมาก ฉันกำลังจะวางหูแล้ว แต่เขาพูดขึ้นมาว่า


‘แต่มีเรื่องหนึ่งมีผมอยากให้คุณรู้ไว้ หากพรุ่งนี้คุณมีอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต คุณจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์นะ’”
“ตอน นั้นฉันกลัวมาก เลยต้องพกคำปฏิญาณตน (ชาฮาดาฮ์) ติดกระเป๋าสตางค์ไว้ตลอดเวลา จนกระทั่งฉันกล่าวชาฮาดาฮ์รับอิสลามในวันที่ 30 มิถุนายน 2003”


อีวอนบอกว่า


“ฉันได้เข้ามาอยู่ในครอบครัวที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุดในโลก หากเรายังคงจับมือกันไว้มั่นคงแบบนี้ ไม่มีใครสามารถทำลายเราได้หรอก”


แล้วพ่อแม่ของเธอผู้นับถือเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในเมืองเดอร์แฮมว่าไงล่ะ?
“ตอน แรกทั้งครอบครัวและเพื่อนฝูงของฉันรับไม่ได้เลย แต่ตอนนี้พวกเขาเห็นแล้วว่าฉันมีความสุขมากขึ้น

สุขภาพดีขึ้น และพอใจในสิ่งที่ฉันเป็น”


“แม่ฉันเนี่ยดีใจมากๆ เลยที่ฉันเลิกเหล้าได้ซะที!”
อีวอนคิดอย่างไรเกี่ยวกับสตรีในอิสลาม?


“มีผู้หญิงที่โดนกดขี่ในโลกมุสลิม แต่ฉันก็สามารถพาคุณไปดูผู้หญิงกำลังโดนกดขี่ที่ถนนไทน์ไซด์ของอังกฤษได้เช่นเดียวกัน”


“การจำกัดสิทธิสตรีเป็นเรื่องของวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ใช่อิสลาม คัมภีร์อัล-กุรอานพูดไว้ชัดแจ๋วเลยว่าผู้หญิงมีสิทธิเสมอภาคกับผู้ชาย”


และชุดแบบสตรีมุสลิมของเธอก็แสดงให้เห็นพลังแห่งสตรี, เธอบอก
“แล้วจะมีเสรีภาพได้อย่างไรล่ะ หากผู้หญิงยังถูกมองแค่ว่าสะโพกใหญ่เท่าไหร่ ขายาว ขาสวยรึเปล่า”


อีวอนแต่งงานมาแล้วสามครั้ง มีลูกสาวหนึ่งคน เธอบอกว่าอิสลามทำให้เธอไม่ต้องกังวลเรื่องผู้ชายอีกต่อไป


“ฉัน ไม่ต้องนั่งแกร่วรอโทรศัพท์จากผู้ชาย ไม่ต้องกังวลเรื่องผู้ชาย นี่เป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นที่ฉันไม่มีความกดดันว่าต้องมีเพื่อนชาย หรือสามี”
“ขอบคุณพระเจ้าที่ฉันโดนจับกุมตัวโดยอาณาจักรที่ดุร้าย ป่าเถื่อน ที่สุดในโลกอย่างตาลีบัน, แทนที่จะโดนจับโดยทหารอเมริกัน” เธอกล่าวในการอภิปรายที่มัสยิดในเมืองราเลย์ ถนนลิกอนสตรีท เมื่อต้นปี 2007
มี ผู้บอกว่าการที่โดนจับเป็นตัวประกันทำให้เธอเกิดอาหารทางจิตที่เรียกว่า ‘สตอกโฮล์มซินโดรม’ ที่ตัวประกันพัฒนาความรู้สึกกลายเป็นเห็นใจผู้จับตัวเธอ
ริดลีย์, ในวัย 48, ปฏิเสธอย่างแข็งขัน บอกว่าระหว่าง 10 วันที่โดนกักขังโดยตาลีบันนั้นเธอดื้อสุดๆ


“ฉันเป็นนักโทษที่ร้ายกาจต่อผู้คุมสุดๆ” เธอบรรยาย
“ฉันถ่มน้ำลายใส่, สาปแช่งผู้คุม ฉันไม่ยอมกินอาหารและน้ำที่พวกเขานำมาให้ ฉันกำลังอดอาหารประท้วง ฉันมาสนใจอิสลามเอาเมื่อโดนปล่อยตัวออกมาแล้ว”
อีวอนตอบคำถามของ Arabnews หนังสือพิมพ์ซาอุฯ ที่ว่า หากเธอไม่โดนตาลีบันจับตัว เธอจะเปลี่ยนมารับอิสลามไหม?


“ก็ สงสัยอยู่นะ ฉันว่าฉันอาจจะทำข่าวตะวันออกกลางเหมือนกับนักข่าวทั่วๆ ไปโดยไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับอิสลามเลย ซึ่งแย่มากเพราะอิสลามมิได้เป็นเพียงศาสนา แต่อิสลามคือแนวทางการใช้ชีวิต ดังนั้นนักข่าวทั้งหลายควรจะพยายามศึกษาและเข้าใจอิสลามให้มากกว่านี้ หากฉันไม่โดนจับโดยตาลีบันนะหรือ บางทีฉันอาจจะยังคงเป็นคริสเตียน ฉันพูดเสมอว่าฉันเคยคลุมหัวมาก่อน – ด้วยผ้าคลุมแห่งความดื้อรั้นและอคติต่ออิสลามไง และที่แย่ก็คือ ฉันเดาว่าหากไม่มาเป็นมุสลิมฉันก็คงยังถูกคลุมด้วยผ้าแห่งความดื้อรั้นและ อคติผืนนั้นอยู่”


อีวอนคิดว่าสื่อมวลชนตะวันตกอคติต่ออิสลามหรือเปล่า?
“มี แน่นอน ส่วนใหญ่มาจากการที่นักข่าวตะวันตกขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิสลาม บางคนก็เขียนข่าวตามที่รัฐบาลป้อนให้หมด บางคนก็ถูกหลอกให้เขียนข่าวโฆษณาชวนเชื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่า ฉันจะไม่บอกละนะว่านักข่าวที่ตามไปกับกองทัพคนไหนบ้างที่เป็นแบบนี้ อย่างช่วง 9/11 น่ะ นักข่าวคนไหนกล้าตั้งคำถามกับปธน.บุชจะถูกหาว่าไม่รักชาติ แต่บางคนก็แฟร์ มีเหตุผลดี อย่างตอนไปสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆ นี้ฉันพบว่าสื่ออเมริกันตื่นขึ้นมาทำงานของตัวเองกันบ้างแล้ว”

จากประสบการณ์ของเธอในอัฟกานิสถาน มีตัวอย่างข่าวจากที่นั่นบ้างไหมที่เป็นการสร้างภาพให้ตรงข้ามกับความจริง?


“สิ่ง ที่ถูกเรียกว่าการปลดปล่อยกรุงคาบุลน่ะ กลายเป็นเรื่องโกหกโดยสื่อมวลชนที่บิดเบือนภาพที่แท้จริงเพื่อให้ถูกใจผู้ชม ในโลกตะวันตก อย่างภาพที่ถ่ายออกมาให้เห็นว่าผู้หญิงโยนชุดคลุมลงในกองไฟ ผู้ชายอัฟกันโกนเครานั้น สิ่งที่กล้องไม่ได้ถ่ายให้คุณดูด้วยในตอนนั้นก็คือภาพที่สื่อมวลชนตะวันตก แสนร่ำรวยเหล่านี้จ่ายเงินให้กับนักแสดงเหล่านั้นคนละเท่าไหร่ สื่อตะวันตกต้องการส่งภาพ ‘ความสุข’ เหล่านี้ไปให้ผู้คนที่บ้านเท่านั้นเอง และก็มีเรื่องโกหกพกลมเรื่องความลับเรื่องนิวเคลียร์ของบินลาเดน มีนักข่าวโง่ๆ คนหนึ่งจ่ายเงิน 500 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อเอาเรื่องราวเกี่ยวกับแผนการนิวเคลียร์ของบินลาเดน...แต่กลับกลายเป็น ว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเนื้อหาในวิชาฟิสิกส์ของเด็กนักเรียน!”

อีวอนเคยเป็นนักข่าวของ ซันเดย์ไทมส์, ซันเดย์ เอ็กซ์เพรส, ดิออบเซอร์เวอร์, เดลีมิเรอร์, และ ดิอินดิเพนเดนท์ ซันเดย์


อีวอนเขียนหนังสือสองเล่มคือ In the hands of the Taliban และ Ticket to paradise 
ปัจจุบัน เธอทำงานเป็นบรรณาธิการข่าวการเมืองของทีวีอิสลามยุโรป Islam Channel และเขียนคอลัมน์ให้หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของมุสลิมสหรัฐฯ Muslim Weekly

 

 

 

นอกจากนี้แล้ว ทุกวันนี้ อีวอน ริดลีย์, พี่สาวคนเก่งของเรา, ยังเดินทางทั่วโลกเพื่อเผยแพร่อิสลาม, ความจริงหนึ่งเดียวของมนุษยชาติ

 

 

 
ที่มา: https://www.facebook.com/groups/422133821263587/



 
 
 

 
Credit: http://board.postjung.com/753086.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...