10 เรื่องน่ารู้ของสงครามอ่าวเปอร์เซีย

 

 

 

 

 

 
วันนี้ทีมงาน toptenthailand ขอนำเสนอ เรื่องราวความรู้ของสงครามอ่าวเปอร์เซียซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้มีการขัดแย้งเกิดขึ้นจนเกิดเป็นสงครามและจะจบอย่างไรนั้นไปติดตามกันได้กับ 10 เรื่องน่ารู้ของสงครามอ่าวเปอร์เซีย กันเลยคะ

ที่มา : toptenthailand

10.ที่มาของสงคราม

ตลอดช่วงเวลาของสงครามเย็น อิรักเป็นพันธมิตรสหภาพโซเวียตและมีประวัติความไม่ลงรอยกับสหรัฐอเมริกาสหรัฐกังวลถึงตำแหน่งของอิรักต่อการเมืองอิสราเอล-ชาวปาเลสไตน์และการที่อิรักไม่เห็นด้วยกับสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ สหรัฐเองก็ไม่ชอบการที่อิรักเข้าสนับสนุนกลุ่มอาหรับและปาเลสไตน์ติดอาวุธอย่างอาบูไนดัล ซึ่งทำให้มีการรวมอิรักเข้าไปในรายชื่อประเทศผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายข้ามชาติของสหรัฐในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2522 สหรัฐยังคงสถานะเป็นกลางอย่างเป็นทางการหลังจากการรุนรานของอิหร่านกลายมาเป็นสงครามอิรัก-อิหร่าน แม้ว่าจะแอบช่วยอิรักอย่างลับ ๆ อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคม 2525 อิหร่านเริ่มทำการโต้ตอบได้สำเร็จ ปฏิบัติการชัยชนะที่ปฏิเสธไม่ได้ และสหรัฐได้เพิ่มการสนับสนุนให้กับอิรักเพื่อป้องกันไม่ให้อิรักถูกบังคับให้พ่ายแพ้ ในความพยายามของสหรัฐที่จะเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอิรักอย่างเต็มตัว ประเทศอิรักได้ถูกนำออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย นั่นก็เพราะว่าการพัฒนาในบันทึกการปกครอง แม้ว่าอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐ โนเอล คอช ได้กล่าวในเวลาต่อมาว่า "ไม่มีใครที่สงสัยในเรื่องที่อิรักยังคงมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้าย... เหตุผลจริง ๆ คือเพื่อช่วยให้พวกเขามีชัยเหนืออิหร่าน"
เมื่ออิหร่านประสบกับชัยชนะในสงครามและปฏิเสธการสงบศึกที่ได้รับการเสนอขึ้นในเดือนกรกฎาคม การขายอาวุธให้กับอิรักก็ทำลายสถิติเมื่อปี 2525 แต่อุปสรรคยังคงมีอยู่ระหว่างสหรัฐกับอิรัก กลุ่มอาบูไนดัลยังคงได้รับการสนับสนุนอยู่ในแบกแดด เมื่อประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน ได้ขับไล่พวเขาไปยังซีเรียตามคำขอของสหรัฐในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2526 รัฐบาลเรแกนได้ส่งโดนัลด์ รัมส์เฟลด์ เพื่อพบกับประธานาธิบดีฮุสเซนเป็นทูตพิเศษและเพื่อกระชับความสัมพันธ์

9.ความตึงเครียดกับคูเวต

เมื่ออิรักทำการหยุดยิงกับอิหร่านในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 อิรักก็ประสบกับการล้มละลายอย่างแท้จริง โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้ซาอุดิอาระเบียและคูเวต อิรักกดดันทั้งสองชาติให้ยกหนี้ทั้งหมด แต่ทั้งสองประเทศตอบปฏิเสธ อิรักยังได้กล่าวหาคูเวตว่าได้ผลิตน้ำมันโควตาของโอเปก ทำให้ราคาน้ำมันดิ่งลง ซึ่งส่งผลให้อิรักประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจเพิ่มเข้าไปอีกการที่ราคาของน้ำมันตกลงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอิรักอย่างใหญ่หลวง รัฐบาลอิรักได้บรรยายว่ามันเป็นสงครามทางเศรษฐกิจ ซึ่งอ้างว่าคูเวตเป็นต้นเหตุ โดยการเจาะท่อลอดข้ามพรมแดนเข้าไปในทุ่งน้ำมันรูมาเลียของอิรักความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศยังเกี่ยวข้องกับคำกล่าวอ้างของอิรักที่ระบุว่า คูเวตเป็นอาณาเขตของอิรัก หลังจากได้รับเอกรารชจากสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2475 รัฐบาลอิรักได้ประกาศในทันทีว่าคูเวตเป็นอาณาเขตโดยชอบธรรมของอิรัก เนื่องจากเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอิรักเป็นเวลาหลายศตวรรษจนกระทั่งอังกฤษก่อตั้งคูเวตขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ดังนั้น จึงได้กล่าวว่า คูเวตเป็นผลผลิตจากลัทธิจักรวรรดินิยมของอังกฤษ อิรักอ้างว่าคูเวตเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดบาสราของจักรวรรดิออตโตมัน ราชวงศ์ที่ปกครองคูเวต อัลซอบะห์ ได้ตัดสินใจลงนามในข้อตกลงเป็นรัฐในอารักขาเมื่อ พ.ศ. 2442 ซึ่งมอบหมายความรับผิดชอกิจการระหว่างประเทศให้แก่อังกฤษ อังกฤษเขียนพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ และพยายามจำกัดทางออกสู่ทะเลของอิรักอย่างระมัดระวัง เพื่อที่ว่ารัฐบาลอิรักในอนาคตจะไม่มีโอกาสคุกคามการครอบครองอ่าวเปอร์เซียของอังกฤษ อิรักปฏิเสธที่จะยอมรับพรมแดนที่ถูกเขียนขึ้น และไม่รับรองคูเวตจนกระทั่งปี พ.ศ. 2506
ในตอนต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2533 อิรักไม่พอใจกับพฤติกรรมของคูเวต อย่างเช่น ไม่เคารพโควตา และคุกคามที่จะใช้กำลังทหารอย่างเปิดเผย วันที่ 23 กรกฎาคม ซีไอเอ รายงานว่าอิรักได้เคลื่อนกำลังพล 30,000 นาย ไปยังพรมแดนอิรัก-คูเวต และกองเรือสหรัฐในอ่าวเปอร์เซียได้รับการเตือนภัย วันที่ 25 กรกฎาคม ซัดดัม ฮุสเซน พบกับเอพริล กลาสพาย เอกอัครราชทูตอเมริกันในกรุงแบกแดด ตามการแปลเป็นภาษาอิรักของการประชุมครั้งนั้น กลาสพายพูดกับผู้แทนอิรักว่า"เราไม่มีความคิดเห็นต่อความขัดแย้งอาหรับ-อาหรับ"ตามบันทึกส่วนตัวของกลาสพาย เธอกล่าวในการประชุมถึงพรมแดนที่ชัดเจนระหว่างคูเวตและอิรัก
" ว่าเธอได้เคยทำงานอยู่ในคูเวตเมื่อ 20 ปีก่อน ดังนั้น ในขณะนี้ เราจึงไม่เลือกฝ่ายต่อความสัมพันธ์ระหว่างอาหรับ"
เมื่อวันที่ 31 การเจรจาระหว่างอิรักและคูเวตในเจดดะห์ประสบความล้มเหลวอย่างรุนแรง

8.การบุกครองคูเวต

อากาศยานของคูเวตเข้าสกัดข้าศึกแต่ถูกยึดหรือทำลายไปร้อยละ 20 การรบทางอากาศกับกองพลขนส่งทางเฮลิคอปเตอร์ของอิรักเกิดขึ้นเหนือคูเวตซิตี อิรักสูญเสียทหารชั้นดีเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการปะทะประปรายระหว่างกองทัพอากาศคูเวตกับกองกำลังภาคพื้นของอิรักด้วยกองกำลังหลักของอิรักฝ่าแนวเข้าไปยังคูเวตซิตีนำโดยคอมมานโดที่ส่งโดยเฮลิคอปเตอร์และเรือเพื่อเข้าโจมตีเมืองจากทางทะเล ใขณะที่กองพลอื่นเข้ายึดท่าอากาศยานและสนามบิน อิรักทำการโจมตีวังดัสมาน ที่พักของเจ้าชายจาเบอร์ อัลอะห์หมัด อัลจาเบอร์ อัลชาบาห์ ซึ่งคุ้มกันโดยองครักษ์และรถถังเอ็ม-84 ในการรบ เจ้าชายองค์เล็กสุดฟาหัด อัลอะห์หมัด อัลจาเบอร์ อัลชาบาห์ถูกสังหารโดยฝ่ายอิรักฝ่ายต่อต้านส่วนใหญ่ถูกปราบปรามภายในสิบสองชั่วโมง ราชวงศ์หลบหนีออกนอกคูเวต ทำให้อิรักเข้าควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของคูเวต หลังจากการต่อสู้อย่างดุเดือดเป็นเวลาสองวัน กองกำลังส่วนใหญ่ของคูเวตถูกเอาชนะโดยริพับลิกันการ์ดของอิรักหรือไม่ก็หนีไปยังซาอุดิอาระเบีย เจ้าชายแห่งคูเวตและรัฐมนตรีสามารถหลบหนีและมุ่งหน้าลงใต้เพื่อขอลี้ภัยในซาอุดิอาระเบียได้ กองกำลังภาคพื้นของอิรักเข้าควบคุมคูเวตซิตี หลังจากนั้นมุ่งหน้าลงใต้เพื่อวางกำลังพลตลอดแนวชายแดนซาอุ หลังจากได้รับชัยชนะ ซัดดัมก็เริ่มตั้งการปกครองหุ่นเชิดโดยใช้ชื่อว่ารัฐบาลชั่วคราวแห่งคูเวตอิสระ ก่อนที่จะแต่งตั้งให้ญาติของตน อลี ฮัสซาน อัลมาจิดเป็นผู้ว่าราชการในวันที่ 8 สิงหาคม

7.การทัพทางอากาศ

ส่งครามอ่าวเริ่มขึ้นด้วยการทิ้งระเบิดทางอากาศอย่างดุเดือดในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 เครื่องบินของกองกำลังผสมทำการบินกว่า 1 แสนครั้งพร้อมทิ้งระเบิดกว่า 88,500 ตัน และได้ทำลายสิ่งก่อสร้างทางทหารและพลเรือนไปเป็นจำนวนมาก การศึกทางอากาศบัญชาการโดยพลอากาศโทชัค ฮอร์เนอร์จากกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำหน้าเป็นเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในขณะที่นายพลชวาซคอพฟ์ยังอยู่ที่สหรัฐหนึ่งวันหลังจากเส้นตายตามมติที่ 678 กองกำลังผสมได้เปิดการศึกทางอากาศขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นปฏิบัติการพายุทะเลทราย จุดประสงค์หลักของกองกำลังผสมคือการเข้าทำลายกองทัพอากาศและฐานต่อต้านอากาศยานของอิรัก การบินส่วนมากมีฐานจากซาอุดิอาระเบียและกองเรือบรรทุกเครื่องบินทั้งหกลำของกองกำลังผสมที่จอดอยู่ในอ่าวเปอร์เซียและทะเลแดงรถถังที่คาดว่าอาจเป็นที-54เอหรือไทป์ 59 ของอิรักที่ถูกทำลายจากการทิ้งระเบิดของกองกำลังผสมในปฏิบัติการพายุทะเลทรายเป้าหมายต่อไปคือศูนย์อำนวยความสะดวกและศูนย์บัญชาการของอิรัก ซัดดัม ฮุสเซนได้ทำการจัดการกองทัพอิรักด้วยตัวเองทั้งหมดในสงครามอิหร่าน-อิรัก นักยุทธวิธีของกองกำลังผสมหวังที่จะให้การต่อต้านของอิรักพังทลายลงให้เร็วที่สุดเมื่อศูนย์บัญชาการและควบคุมถูกทำลายการศึกทางอากาศครั้งที่สามเป็นครั้งใหญ่ที่สุดโดยเล็งเป้าไปที่กองกำลังทหารที่อยู่ในอิรักและคูเวต เช่น ขีปนาวุธสกั๊ด ศูนย์วิจัยอาวุธ และกองกำลังทางทะเล กองกำลังทางอากาศ 1 ใน 3 ของกองกำลังผสมได้รับมอบหมายให้ทำลายขีปนาวุธสกั๊ด ซึ่งบางลูกติดตั้งบนรถบรรทุกซึ่งทำให้ตามหาได้ยาก หน่วยรบพิเศษของสหรัฐและสหราชอาณาจักรได้แทรกซึมเข้าไปทางตะวันตกของอิรักเพื่อค้นหาและทำลายขีปนาวุธดังกล่าวการป้องกันทางอากาศของอิรักที่มีทั้ง อาวุธเคลื่อนที่ได้ พบว่าไร้ประสิทธิภาพต่อเครื่องบินของกองกำลังผสมอย่างมาก โดยกองกำลังผสมสูญเสียเครื่องบินไปเพียง 75 ลำจากการบินทั้งหมด 1 แสนครั้ง ในจำนวนนั้น 44 ลำถูกยิงตกโดยอิรัก 2 ลำชนกับพื้นดินขณะหลบการยิงจากทหารอิรักบนพื้น หนึ่งลำถูกยิงตกโดยเครื่องบินอิรัก

6.ยุทธการคาฟจิ

ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2534 กองกำลังอิรักได้เข้าโจมตีและยึดครองเมืองคาฟจิที่แทบจะไร้การป้องกันของซาอุ ยุทธการคาฟจิสิ้นสุดลงในอีกสองวันต่อมาเมื่อกองกำลังอิรักถูกรุกตีโดยกองกำลังป้องกันชาติซาอุดิอาระเบียและกองทัพน้อยนาวิกโยธินสหรัฐที่สนับสนุนโดยกองกำลังจากกาตาร์ กองกำลังชาติพันธมิตรได้ให้การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดและการระดมยิงด้วยปืนใหญ่ทั้งสองฝ่ายล้วนสูญเสียเป็นจำนวนมาก แม้ว่าทางอิรักจะมีการสูญเสียมากกว่าเล็กน้อย มีทหารอเมริกัน 11 นายถูกสังหารในเหตุยิงกันเองสองครั้ง รวมกับทหารอากาศอีก 14 นายที่เสียชีวิตจากเครื่องเอซี-130 ที่ถูกยิงตกโดยอิรัก และมีทหารอีกสองนายถูกจับเป็บเชลย กองกำลังของซาอุและกาตาร์สูญเสียทหารรวมกัน 18 นาย ส่วนอิรักสูญเสียทหารไป 60-300 นายและถูกจับอีก 400 นายคาฟจิกกลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทันทีหลังจากที่อิรักบุกคูเวต อิรักลังเลที่จะส่งกองพลยานเกราะจำนวนมากเข้ายึดครองเมืองและการใช้เมืองเป็นฐานโจมตีฝั่งตะวันออกที่มีการป้องกันน้อยของซาอุดิอาระเบียในเวลาต่อมานั้น ถูกมองว่าเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ ไม่เพียงแค่อิรักอาจสามารถรักษาเสบียงน้ำมันส่วนใหญ่ของตะวันออกกลางไว้ได้ แต่ยังอาจสามารถจัดการกับทหารสหรัฐที่วางอยู่ตามแนวป้องกันที่เหนือกว่าได้ดีกว่านี้เสียด้วย

5.การทัพทางบก

กองกำลังผสมได้ยึดครองน่านฟ้าด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่าอิรัก กองกำลังของพวกเขาได้เปรียบอย่างมากเพราะได้รับการป้องกันจากเป็นเจ้าอากาศ ซึ่งได้มาโดยกองทัพอากาศก่อนที่จะมีการรุกทางบก กองกำลังผสมยังมีความได้เปรียบทางเทคโนโลยีสองอย่างด้วยกัน คือ รถถังประจัญบานหลักของกองกำลังผสม เช่น เอ็ม1 เอบรามส์ของสหรัฐ ชาลเลนเจอร์ 1 ของอังกฤษ และเอ็ม-84เอบีของคูเวต มีความสามารถเหนือกว่าไทป์ 69 ของจีนและที-72 ของอิรักอย่างมาก รวมทั้งทหารยานเกราะของกองกำลังผสมเองก็ได้รับการฝึกฝนมาดีกว่าการใช้จีพีเอสทำให้กองกำลังผสมสามารถหาหนทางได้โดยไม่ต้องพึ่งถนนหรือสัญลักษณ์ใดๆ เมื่อรวมกับการลาดตระเวนทางอากาศทำให้พวกเขาเลือกที่จะสู้ด้วยการสงครามกลยุทธ์แทนที่จะใช้การรบแบบแตกหัก เพราะพวกเขารู้ว่าพวกเขาอยู่ตรงไหนและศัตรูอยู่ตรงไหน พวกเขาจึงสามารถโจมตีเป้าหมายเฉพาะแทนที่จะเป็นการค้นหาศัตรูตามพื้นดิน

4.เริ่มต้นบุกอิรัก

หน่วยรบแรกที่ถูกส่งเข้าไปยังอิรักคือหน่วยลาดตระเวนสามหน่วยจากหน่วยเอสเอเอสของอังกฤษ โดยมีรหัสว่า บราโววันซีโร บราโวทูซีโร และบราโวทรีซีโร หน่วยลาดตระเวนหน่วยละแปดนายนี้ได้เข้าไปยังหลังแนวของอิรักเพื่อรวบรวมข้อมูลของขีปนาวุธสกั๊ด ซึ่งไม่สามารถตรวจพบด้วยเครื่องบินได้ เพราะพวกมันถูกซ่อนไว้ใต้สะพานและถูกอำพรางในตอนกลางวัน อีกเป้าหมายหนึ่งคือการทำลายสายสื่อสารไฟเบอร์ออพติกที่อยู่ในท่อและตัวส่งสัญญาณไปยังเครื่องยิงขีปนาวุธสกั๊ด ปฏิบัติการนี้มีเพื่อป้องกันไม่ให้อิสราเอลเข้าแทรกแซง แต่เนื่องจากไม่มีที่กำบังเพียงพอที่จะทำภารกิจทำให้บราโววันซีโรและบราโวทรีซีโรต้องยกเลิกภารกิจ ในขณะที่บราโวทูซีโรดำเนินภารกิจต่อจนกระทั่งพวกเขาถูกตรวจพบ มีเพียงสิบเอกคริส ไรอันเท่านั้นที่สามารถหลบหนีไปยังซีเรียได้ทหารบางส่วนจากกองพลน้อยที่ 2 กรมทหารม้าที่ 5 จากกองพลทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐเข้าทำการโจมตีโดยตรงใส่อิรักในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ตามมาด้วยการโจมตีอีก
ครั้งในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่วันที่ 15-20 กุมภาพันธ์ได้เกิดยุทธการวาดิอัลบาตินขึ้นในอิรัก เหตุการณ์นี้เป็นการโจมตีครั้งแรกในสองครั้งโดยกองพันที่ 1 กรมทหารม้าที่ 5 จากกองพลทหารม้าที่ 1 การโจมตีครั้งนั้นเป็นการโจมตีหลอกล่อเพื่อให้ทหารอิรักคิดว่ากองกำลังผสมจะทำการรุกจากทางใต้ ทหารอิรักทำการป้องกันอย่างดุเดือดทำให้ทหารอเมริกันต้องล่าถอยตามแผนไปยังวาดิอัลบาติน ทหารสหรัฐสามนายถูกสังหารและได้รับบาดเจ็บเก้านาย ยานพาหนะต่อสู้ทหารราบสูญเสียป้อมปืนไปหนึ่ง แต่สามารถจับเชลยได้ 40 นายและทำลายรถถัง 5 คันพร้อมกับลวงอิรักได้สำเร็จ การโจมตีครั้งนี้นำด้วยกองพลน้อยทางอากาศที่ 18 เพื่อกวาดพื้นที่หลังกองพลทหารม้าที่ 1 และโจมตีกองทหารอิรักทางทิศตะวันตก ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 อิรักเห็นด้วยกับข้อตกลงหยุดยิงที่โซเวียตเสนอ ข้อตกลงดังกล่าวเรียกร้องให้อิรักถอนทหารให้ไปอยู่ในตำแหน่งก่อนการรุกรานคูเวตภายใน 6 อาทิตย์และให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเฝ้าดูการหยุดยิงและล่าถอยของอิรักกองกำลังผสมปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวแต่ให้การว่าจะไม่ทำการโจมตีทหารอิรักที่ล่าถอย และให้เวลา 24 ชั่วโมงเพื่อเริ่มการล่าถอย ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์มีทหารอิรักถูกจับเป็นเชลย 500 นาย ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์กองกำลังยานเกราะของอังกฤษและสหรัฐจำนวนมหาศาลข้ามชายแดนอิรักคูเวตและเข้าไปยังอิรักพร้อมจับเชลยได้นับร้อย อิรักทำการต่อต้านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สหรัฐสูญเสียทหารไป 4 นาย

3.กองกำลังผสมตราทัพเข้าอิรัก

ไม่นานนักในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ก็เกิดการโจมตีทหารอิรักที่อยู่ทางตะวันตกของคูเวตโดยกองพลน้อยที่ 5 ของสหรัฐอย่างเต็มอัตราโดยมีกรมทหารม้ายานเกราะที่ 2 เป็นหัวหอก ในขณะเดียวกันกองพลน้อยทางอากาศที่ 18 ของสหรัฐก็เปิดการโจมตีจากทางซ้ายผ่านทะเลทรายทางใต้ของอิรักโดยมีหัวหอกเป็นกรมทหารม้ายานเกราะที่ 3 และกองพลทหารราบที่ 24 ของสหรัฐ ทางปีกซ้ายของการโจมตีได้รับการคุ้มครองโดยกองพลยานเกราะเบาที่ 6 ของฝรั่งเศส กองกำลังฝรั่งเศสเข้าปะทะกับกองพลทหารราบที่ 45 ของอิรักอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสสูญเสียทหารไปเล็กน้อยและสามารถจับเชลยได้เป็นจำนวนมาก จากนั้นก็รักษาตำแหน่งเพื่อป้องกันการตอบโต้จากอิรัก ทางปีกขวาได้รับการคุ้มกันโดยกองพลยานเกราะที่ 1 ของอังกฤษ เมื่อกองกำลังพันธมิตรบุกทะลวงลึดเข้าไปในเขตของอิรักก็เลี้ยวไปทางตะวันออกเพื่อเริ่มการโจมตีโอบกองทหารริพับลิกันการ์ดก่อนที่พวกเขาจะหลบหนีไป อิรักทำการต่อสู้อย่างดุเดือด การปะทะครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อนๆ เพราะทหารอิรักไม่ยอมแพ้หลังจากที่รถถังคันของฝ่ายตนถูกทำลาย ทหารอิรักสูญเสียเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยานพาหนะและรถถังจำนวนมาก เช่นกัน ในขณะที่สหรัฐสูญเสียน้อยมากโดยเสียยานเกราะไปเพียงหนึ่งคัน กองกำลังผสมรุกเข้าไปอีก 10 กิโลเมตรและบรรลุเป้าหมายภายในสามชั่วโมง พวกเขาจับเชลยได้ 500 นายและสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมหาศาลด้วยการเอาชนะกองพลทหารราบที่ 26 ของอิรัก มีทหารสหรัฐหนึ่งนายเสียชีวิตจากกับระเบิด อีกห้าคนเสียชีวิตเพราะยิงกันเอง และอีกสามสิบได้รับบาดเจ็บขณะปะทะ ขณะเดียวกันกองกำลังของอังกฤษก็เข้าโจมตีกองพลเมดินาและฐานส่งกำลังบำรุงของริพับลิกันการ์ด เกือบสองวันที่มีการรบกันดุเดือดที่สุด อังกฤษได้ทำลายรถถังไป 40 คันและสามารถจับตัวผู้บังคับบัญชากองพลได้หนึ่งนายขณะเดียวกันกองกำลังของสหรัฐก็เข้าโจมตีหมู่บ้านอัลบูเซย์ยาห์และพบกับการต่อต้านที่รุนแรง สหรัฐไม่มีการสูญเสียแต่สามารถทำลายยุทโธปกณ์พร้อมกับจับเชลยได้เป็นจำนวนมาก
ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 กองกำลังอิรักได้ยิงขีปนาวุธสกั๊ดใส่ค่ายทหารของอเมริกาในเมืองดาห์รานในซาอุดิอาระเบีย สังหารทหารอเมริกาไป 28 นาย การรุกคืบของกองกำลังผสมทำได้รวดเร็วกว่าที่นายพลของสหรัฐคาดการณ์เอาไว้ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ทหารอิรักก็เริ่มถอยทัพออกจากคูเวตหลังจากที่พวกเขาวางเพลิงทุ่งน้ำมัน (มีบ่อน้ำมัน 737 แห่งถูกเผา) ขบวนทหารอิรักที่ล่าถอยเคลื่อนขบวนไปตามทางหลวงอิรัก-คูเวต แม้ว่าพวกเขากำลังล่าถอยแต่ขบวนรถก็ถูกโจมตีอย่างรุนแรงโดยกองทัพอากาศของกองกำลังผสมทำให้ถนนสายนั้นได้ชื่อว่าทางหลวงมรณะ ทหารอิรักนับร้อยถูกสังหาร กองกำลังทั้งสหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศสดำเนินการไล่ล่าทหารอิรักที่ล่าถอยต่อตั้งแต่ชายแดนจนไปถึงอิรัก จนในที่สุดก็ห่างจากกรุงแบกแดดเพียง 240 กิโลเมตรก่อนที่จะถอยกลับไปยังชายแดนอิรักที่ติดกับคูเวตและซาอุดิอาระเบียในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ หลังจากผ่านการศึกทางบกได้ 100 ชั่วโมง ประธานาธิบดีบุชก็ประกาศหยุดยิงและประกาศว่าคูเวตเป็นอิสระแล้ว

2.กองกำลังผสม

กระทรวงกลาโหมสหรัฐรายงานว่าสหรัฐสูญเสียทหารไป 148 นายจากการรบ พร้อมกับนักบินหนึ่งนายสูญหายขณะปฏิบัติหน้าที่ (ร่างของเขาถูกพบและระบุตัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2552) อีก 145 นายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ สหราชอาณาจักรเสียทหารไป 49 นาย (9 นายจากการยิงกันเองโดยสหรัฐ) ฝรั่งเศสสูญเสีย 2 นาย และชาติอื่นๆ 37 นาย (ซาอุ 18 นาย อียิปต์ 1 นาย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 6 นาย กาตาร์ 3 นาย) ไม่รวมคูเวต มีทหารคูเวตอย่างน้อย 605 นายที่หายสาบสูญหลังจากถูกจับเป็นเชลยถึง 10 ปี การสูญเสียในครั้งเดียวที่เยอะที่สุดของกองกำลังผสมเกิดขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เมื่ออิรักยิงขีปนาวุธอัลฮุสเซนใส่ค่านทหารสหรัฐในดาห์รานประเทศซาอุดิอาระเบีย สังหารกองกำลังสำรองของสหรัฐไป 28 นาย โดยรวมแล้วทหารกองกำลังผสมถูกสังหารโดยฝ่ายอิรัก 190 นาย 113 นายเป็นชาวอเมริกันจากกองกำลังผสมทั้งหมด 358 นายที่เสียชีวิต ทหารอีก 44 นายถูกสังหารและได้รับบาดเจ็บอีก 57 นายจากการยิงพวกเดียวกันเอง มีทหาร 145 นายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ อุบัติเหตุครั้งร้ายแรงที่สุดเกิดขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2534 เมื่อเครื่องบินซี-130 ของกองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียตกขณะบินลงที่สนามบินราส อัล มิชาบปประเทศซาอุดิอาระเบีย ทำให้ทหารเซเนกัล 92 นายเสียชีวิต กองกำลังผสมมีทหารที่ได้รับบาดเจ็บประมาณ 776 นาย เป็นทหารอเมริกัน 458 นายทหารกองกำลังผสม 190 นายถูกสังหารโดยกองกำลังอิรัก ที่เหลืออีก 379 นายเสียชีวิตจากการยิงกันเอง อย่างไรก็ดีที่จำนวนดังกล่าวต่ำกว่าที่คาดการณ์กันไว้ มีทหารหญิงอเมริกัน 3 นายเสียชีวิต

1.การสูญเสีย

พลเรือน
จากการโจมตีทางอากาศที่หนักหน่วงทั้งด้วยเครื่องบินรบและขีปนาวุธร่อนทำให้เกิดข้อโต้เถียงเรื่องจำนวนพลเรือนที่เสียชีวิตในช่วงแรกของสงคราม ใน 24 ชั่วโมงแรกของสงคราม กองกำลังผสมได้ทำการบินกว่า 1 พันเที่ยวเพื่อโจมตีเป้าหมายในแบกแดด ตัวเมืองถูกระเบิดอย่างหนักเพราะว่าเป็นที่อยู่ของซัดดัมและศูนย์ควบคุมและบัญชาการของทหารอิรักนี่เองเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของพลเรือนในเหตุการณ์หนึ่งเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัญได้เขาโจมตีบังเกอร์แห่งหนึ่งในอะมิริยาห์ ทำให้มีชาวอิรักเสียชีวิต 408 คน ภาพของสถานที่เกิดเหตุและศพถูกถ่ายทอดในเวลาต่อมา และข้อถกเถียงก็เพิ่มขึ้นจากเหตุทิ้งระเบิดบังเกอร์ บ้างก็บอกว่าชาวอิรักเหล่านั้นเป็นพลเรือน บ้างก็เห็นว่าบังเกอร์ดังกล่าวเป็นสูนย์ปฏิบัติการของอิรักและพลเรือนเหล่านั้นถูกนำไปใช้เป็นโล่มนุษย์ การสืบสวนของเบธ ออสบอร์น ดาปองต์ประมาณได้ว่ามีพลเรือนโดนทิ้งระบิดไป 3,500 คนและอีก 1 แสนคนได้รับผลกระทบอื่นๆ จากสงคราม
อิรัก
ไม่มีใครรู้ตัวเลขที่แน่ชัดของผู้เสียชีวิตฝ่ายอิรัก เชื่อกันว่าอิรักสูญเสียเป็นจำนวนมหาศาล กล่าวกันว่าอิรักเสียทหารไปประมาณ 2 หมื่นถึง 35,000 นาย รายงานจากกองทัพอากาศ สหรัฐคาดว่ามีฝ่ายอิรักเสียชีวิต 10,000-12,000 คนจากการทัพทางอากาศ และอีก 1 หมื่นคนจากการทัพทางบก การประเมินนี้มีพื้นฐานมาจากรายงานของเชลยศึกชาวอิรัก รัฐบาลอิรักอ้างว่ามีพลเรือนเสียชีวิต 2,300 รายจากการทัพทางอากาศ จากการศึกษาโครงการการป้องกันทางเลือก มีพลเรือนอิรักเสียชีวิต 3,664 ราย ทหารอิรักเสียชีวิตประมาณ 20,000-26,000 นายและบาดเจ็บอีก 75,000 นาย

ที่มา: http://www.toptenthailand.com/topten/detail/20140121140626641
Credit: http://board.postjung.com/752167.html
15 มี.ค. 57 เวลา 08:24 2,639 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...