ข้อห้ามเกี่ยวกับ ตะเกียบ (Chopsticks)

 

 

 

ข้อห้ามเกี่ยวกับ ตะเกียบ (Chopsticks)

 

 

อ่านประวัติ ศาสตร์ของตะเกียบ โดย อดุลย์ รัตนมั่นเกษม นักวิชาการจีนศึกษา เล่าว่า ในสมัยราชวงศ์ถัง นักการศึกษาชื่อ ขงอิ่งต๋า ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญตำราคัมภีร์ขงจื๊อ มีชีวิตอยู่เมื่อปี ค.ศ.574-648 สนองรับคำสั่งของพระเจ้าถังไท้จง เรียบเรียง "อู่จิงเจิ้งอี้" (Wujing Zhengyi- An Exact Implication of the Five Classics" สำหรับเป็นบรรทัดฐานในการสอบคัดเลือกคนเข้ารับราชการ

ขงอิ่งต๋าพูดถึงธรรมเนียมและมารยาทในการกินข้าวของคนจีนในสมัยนั้นว่า "มารยาท การกินข้าวของคนโบราณจะไม่ใช้ตะเกียบ แต่ใช้มือ เมื่อกินข้าวร่วมกับคนอื่นควรชำระมือให้สะอาดหมดจด อย่าให้ถึงเวลากินข้าวแล้วเอามือถูใบสน หยิบข้าวกิน เกรงจะเป็นที่ติฉินของคนอื่นว่าสกปรก"

 

 

คนโบราณ ที่ขงอิ่งต๋ากล่าวถึงคือคนในยุคขงจื๊อ จึงมีความเชื่อกันว่า คนจีนน่าจะรู้จักใช้ตะเกียบกันมาเป็นเวลานานมากกว่า 2,000 ปี ตะเกียบใช้สำหรับคีบผักต้มจากหม้อน้ำแกงมาไว้ในชามข้าว จากนั้นจึงเอามือหยิบข้าวกิน ถ้ามีใครใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวเข้าปากถือเป็นการเสียมารยาทมาก สิ่งใดที่บรรพบุรุษสร้างหรือกำหนดไว้จะไม่มีผู้ใดกล้าฝ่าฝืน คนจีนจึงรักษาธรรมเนียมการกินด้วยมืออยู่เป็นเวลานานหลายร้อยปี 

จีนเริ่ม ใช้ตะเกียบตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง แต่ยอมรับกันว่าคนจีนใช้ตะเกียบกินข้าวกันอย่างแพร่หลายหลัง ยุคราชวงศ์ฮั่น ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 3 
สมัยนั้น เรียกตะเกียบ ว่า "จู้" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "ไขว้จื่อ" เหตุเพราะชาวเรือถือคำว่า จู้ ที่ไปพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายว่า หยุด ว่าไม่เป็นมงคลต่อการเดินเรือ

การ ที่คนจีนใช้ตะเกียบกินอาหารมาเป็นเวลานับพันปีจึงมีคำสอนไว้มากมาย กระทั่งกลายมาเป็นวัฒนธรรมตะเกียบ ซึ่งมีตั้งแต่การจับตะเกียบจนถึง ข้อห้ามต่างๆ ดังนี้

 

 

 ห้ามวางตะเกียบเปะปะ จะ ต้องวางให้เป็นระเบียบเสมอกัน ทั้งคู่ คนจีนถือคำว่า "ชางฉางเหลียงต่วน" ความหมายตามตัวอักษรหมายถึง สามยาวสองสั้น โดยนัยหมายถึงความตาย หรือความวิบัติฉิบหาย
ดังนั้น การวางตะเกียบที่ทำให้เหมือนมีแท่งไม้สั้นๆ ยาวๆ จึงไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง ห้ามทำเช่นนี้เด็ดขาด


 ห้ามใช้ตะเกียบชี้หน้าผู้อื่น หรือถือไว้ในลักษณะที่ให้นิ้วชี้ชี้คนอื่นที่อยู่ร่วมโต๊ะ ห้ามอม ดูดหรือเลียตะเกียบ


 ห้ามใช้ตะเกียบเคาะถ้วยชาม เพราะมีแต่ขอทานเท่านั้นที่จะเคาะถ้วยชาม ปากก็ร้องขอความเมตตาให้บริจาคทาน

 

 ห้ามใช้ตะเกียบวนไปมาบนโต๊ะอาหาร ควรใช้ตะเกียบคีบอาหารที่ต้องการนั้นทันที


 ห้ามใช้ตะเกียบคุ้ยหาอาหาร การกระทำเช่นนี้เปรียบเหมือนพวกโจรสลัดขุดสุสานเพื่อหาสมบัติ เป็นกิริยาที่น่ารังเกียจ


 ห้ามคีบอาหารให้น้ำหยดใส่อาหารจานอื่น เมื่อคีบอาหารได้แล้วจะต้องให้สะเด็ดน้ำสักนิด เพื่อไม่ให้น้ำหยด และอย่าทำอาหารที่คีบอยู่หล่นใส่โต๊ะหรืออาหารจานอื่น


 ห้ามถือตะเกียบกลับข้าง คือถือปลายตะเกียบขึ้นใช้ช่วงบนคีบอาหาร กิริยานี้น่าดูแคลนที่สุด ถือว่าไม่ไว้หน้าตนเอง เหมือนหิวจนไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น


 ห้ามใช้ตะเกียบข้างเดียวเสียบแทงลงในอาหาร เป็นการเหยียดหยามน้ำใจกัน ห้ามปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะดูเหมือนปักธูปในกระถางไหว้คนตาย โดยเฉพาะข้าวให้คนอื่นแล้วปักตะเกียบไว้ในชามข้าวส่งให้ ถือเป็นการสาปแช่ง


 ห้ามวางตะเกียบไขว้กัน ถือว่าไม่ให้เกียรติทั้งตนเองและเพื่อนร่วมโต๊ะ


 ห้ามทำตะเกียบตกพื้น จะ ทำให้วิญญาณที่หลับสงบอยู่ใต้พิภพตื่นตกใจ ถือว่าอกตัญญู ต้องรีบเก็บตะเกียบมาวาดเครื่องหมายกากบาทบนจุดที่ตกทันที พร้อมกล่าวคำขอโทษ


 วิธี ถือตะเกียบที่ถูกต้อง จะต้องถือตะเกียบไว้ตรงง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ให้อีกสามนิ้วที่เหลือคอยประคองตัวตะเกียบไว้ และต้องถือให้เสมอกัน เมื่ออิ่มแล้วต้องวางตะเกียบขวางไว้กลางชามข้าวเสมอ



คอลัมน์ รู้ไปโม้ด / น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com
ที่มา นสพ.ข่าวสด


Credit: http://likeder.blogspot.com/2014/01/chopsticks.html
14 มี.ค. 57 เวลา 16:33 3,866 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...