การรักษาแบบหนอนบำบัด (Maggot Therapy) (มีภาพไม่น่าดูอย่างยิ่ง!) 18+

1. ประวัติและความเป็นมา


ย้อนไปเมื่อสมัย 1,000 ปีก่อน ชาวอินเดียแดงเผ่ามายาและชาวเจมบาซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองใน New South Wales ประเทศออสเตรเลียได้ใช้หนอนแมลงวัน (Maggot) ในการทำความสะอาดแผลหนองหรือแผลเน่าติดเชื้อโดยพวกเขาได้รับการถ่ายทอดความ รู้นี้มาจากบรรพบุรุษซึ่งสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และในประวัติศาสตร์ก็ ได้มีการบันทึกถึงประสิทธิภาพในการรักษาแผลเน่าติดเชื้อโดยหนอนแมลงวัน (Maggot) เมื่อปี 1829 โดยนายแพทย์ Baron Dominic Larrey ซึ่งเป็นหัวหน้าแพทย์และแพทย์ประจำพระองค์ในสมัยพระเจ้านโปเลียนซึ่งพบถึงประสิทธิภาพนี้ในขณะ ที่ทำการรักษาทหารที่บาดเจ็บในระหว่างสงคราม

 


ในปี 1929 นายแพทย์ William Baer ศัลยแพทย์ชาวอเมริกันซึ่งเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ Johns Hopkins School of Medicine ในรัฐ Maryland ซึ่งนับเป็นผู้ก่อตั้งวิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) สมัยใหม่ ได้ทำการศึกษาวิจัยการรักษาด้วยหนอน (Maggot) อย่างจริงจัง โดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์และได้เผยแพร่ความรู้นี้สู่สาธารณชน ส่งผลให้วิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและในช่วงปี ค.ศ. 1940 โรงพยาบาลในอเมริกามากกว่า 300 แห่งได้ใช้วิธีนี้ในการรักษาผู้ป่วยและบริษัท Lederle ซึ่งเป็นบริษัทยาก็ได้ผลิตหนอน (maggot) ออกขายสู่ท้องตลาด ต่อมาได้มีการคิดค้นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Sulfa และ Penicillin ขึ้น ทำให้ maggot therapy เริ่มจางหายไปจากวงการแพทย์

จวบจนกระทั่งในปี 1995 ที่ประเทศเยอรมันก็ได้มีการฟื้นฟูวิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) ขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาแผลเรื้อรังซึ่งมีประชากรที่ต้องตกอยู่ในสภาวะนี้ มากกว่า 3 ล้านคนโดยแผลที่เนื่องมาจากเบาหวานนับว่าเป็นอาการที่พบได้บ่อย และสถาบันต่างๆของเยอรมนีเช่น German Diabetis Society (Deutsche Diabetesgesellschaft) และ German Society for Angiology (Deutsche Gesellschaft fuer Angiology) ได้ทำการประเมินขั้นตอนการวินิจฉัยโรค, การรักษา และภาวะการฟื้นตัวของผู้ป่วย จากโรคเบาหวาน และพบว่าการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) นั้นทำให้ผู้ป่วยประมาณ 10,000 รายไม่จำเป็นจะต้องผ่าตัดเท้าหรือแขนทิ้งหากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก เริ่มของโรคและจากรายงานทางการแพทย์จากคลินิกชุมชนเฮิร์กส ในแฟรงเฟิร์ต ตั้งแต่ปี 1999 คลินิกชุมชนเฮิร์กส ในแฟรงเฟิร์ตได้นำลักษณะการบำบัดรักษาด้วยหนอนแมลงวันมาใช้กับการรักษาบาด แผลคนไข้ที่มีการเรื้อรังและไม่สามารถรักษาด้วยวิทยาการทาง การแพทย์ปกติได้ ซึ่งหลังจากการนำมาทดลองใช้ดังกล่าวแล้ว พบว่า บาดแผลที่ได้ให้หนอนแมลงวันในการรักษานั้นสะอาดได้เป็นระยะๆ คนไข้ซึ่งได้รับการรักษาบาดแผลโดยวิธีการดังกล่าวนี้เป็นประจำจะพบว่าบาดแผล ของเขาจะสะอาดขึ้นเรื่อยๆและถ้าหากหยุดพักหรือทิ้งช่วงระยะเวลาในการบำบัด ด้วยวิธีดังกล่าว สภาพของบาดแผลก็จะกลับมาแย่อีกครั้ง(1)

2. แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน


Lucilia sericata คือ แมลงวันมีอยู่มากมายหลากหลายสายพันธุ์ โดยประมาณได้ว่ามีมากถึง 120,000 สายพันธุ์ (species, sp) ทั่วโลก และประมาณ 10,000 sp. ที่สามารถพบได้ในภาคพื้นยุโรป Lucilia sericata เป็น species ที่อยู่ใน genus green bottles (Lucilia) หนอนของแมลงวัน หรือที่มีชื่อเรียกในภาษาละตินว่า Lucilia นั้น มีการนำมาใช้ในการรักษาแผลเรื้อรัง

วิวัฒนาการของ แมลงวันเริ่มต้นจากไข่ที่ได้วางไว้บนซากเนื้อแล้วพัฒนาไปเป็นหนอนแมลงวัน หนอนเหล่านี้จะผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยเซลล์ของเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และดูดส่วนที่ย่อยแล้วไปเป็นอาหารซึ่งหนอนแมลงวัน (Maggot) เหล่านี้จะย่อยสลายเฉพาะเนื้อเยื่อที่ตายแล้วเท่านั้น ไม่กัดกินเนื้อดีดังนั้นการกัดกินแบบลึกๆตามที่เข้าใจนั้นจะไม่พบในสัตว์ ประเภทนี้

หนอนแมลงวันเติบโตได้สูงสุด 12 มิลลิเมตร ภายในเวลา 3-4 วัน. หลังจากนั้นก็จะละทิ้งซากเนื้อเพื่อจะพัฒนาไปเป็นดักแด้ในสิ่งแวดล้อมที่ แห้งต่อไป

หลักการที่นำหนอนดังกล่าวมาใช้ในการทำลายเชื้อโรคในบาดแผลเนื้อตาย (Necrosis) ก็คือหนอนจะหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อย Necrosis (เนื้อตาย) ให้เป็นของเหลวและหลังจากนั้นก็จะดูดกิน Necrosis ที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกายเพื่อเป็นอาหารให้กับตัวมันเอง นอกจากนี้ยังพบว่าเอนไซม์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลและทำให้แผล สะอาด ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของแผล และข้อดีอีกประการหนึ่งของวิธีการดังกล่าวนี้ก็คือการกระตุ้นให้เกิดการ สร้างเสริมเซลล์เนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ (Granulation Tissue)

3. ข้อบ่งชี้ / รายละเอียดในการใช้ : ใช้กับแผลต่างๆ ดังนี้


- Diabetic foot ulcers แผลเนื่องจากโรคเบาหวานบริเวณเท้า
- Decubitus ulcers แผลกดทับจากโรคเบาหวาน
- Ulcers cruris
- MRSA and other wound infections แผลติดเชื้อจาก Staphylococcus aureus และอื่น ๆ
- Necrotizing tumor wounds แผลเนื้อเยื่อตาย
- Necrotizing fasciitis แผลพังผืดอักเสบ
- Burns แผลไหม้
- Thrombangitis obiterans
- Bacterial soft tissue infections และแผลเรื้อรังจากสาเหตุอื่นๆ

4. ระยะเวลาในการใช้(2)


โดยส่วนใหญ่แล้วจะเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ครั้งแรกที่ ใช้ แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความใหญ่ของบาดแผลด้วย ทันทีที่บาดแผลสะอาดก็สามารถสิ้นสุดการบำบัดรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวได้

5. ผลข้างเคียง(2, 3, 4)


ตามทฤษฎีแล้ว การบำบัดรักษาด้วยวิธีดังกล่าวนี้จะไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ ในบางครั้งอาจจะเกิดเลือดไหลออกที่บริเวณรูขุมขนซึ่งเป็นลักษณะหรือสัญญาณ ที่ดีสำหรับการหล่อเลี้ยงของเลือด
ประมาณ 90% ของผู้ที่เคยทดลองวิธีการดังกล่าวนี้จะรู้สึกจั๊กจี้และขยะแขยง

6. ประโยชน์ที่ได้รับคือ(1, 2, 3, 4)


ลดจำนวนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วอย่างรวดเร็ว
เพิ่มจำนวนเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่
ลดจำนวนของเหลวและกลิ่นเหม็นจากแผล
ลดความเจ็บปวด
ลดระยะเวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
หลีกเลี่ยงการผ่าตัด
ลดการใช้ยาฆ่าเชื้อ (Antibiotic)

 

ขอบคุณ..

 
ที่มา: 1. http://www.aim.ac.ir/AIM/0472/012.htm
2. http://www.cmb.lu.se/devbiol/sbdevbiol/res-axon7.html
3. http://www.biotherapy.md.huji.ac.il/matliterature.htm
4. http://www.telfordpct.nhs.uk/Nursing services/maggots.pdf
5. http://www.maeyens.com/biosurgery.htm
6.http://board.postjung.com/751523.html
Credit: http://www.unigang.com/Article/17597
13 มี.ค. 57 เวลา 20:35 5,518 1 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...