วันที่ 13 มีนาคม วันช้างไทย

 

 

 

 วันที่ 13 มีนาคม วันช้างไทย

 

 

 

วันที่ 13 มีนาคม วันช้างไทย
            

          เมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันช้างไทย" เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และการดำรงอยู่ของช้างไทย


ที่มาของวันช้างไทย

"วันช้างไทย" เกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น

คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541

ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์

ปัจจุบันช้างป่าในประเทศไทยมีเหลืออยู่ประมาณ 3,000 ตัวในพื้นที่อนุรักษ์ 70 แห่ง สาเหตุที่ทำให้ช้างป่านับวันลดน้อยลง เนื่องมาจากการจับลูกช้างป่าหรือนำช้างจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมทะเบียนกับช้างบ้านที่ตายแล้ว หรือให้ออกตั๋วรูปพรรณใหม่ เพื่อนำลูกช้างเหล่านั้นไปฝึกแสดงละครช้างเร่ หรือแสดงตามปางช้างเอกชนบางแห่ง รวมทั้งนำลูกช้างไปเดินเร่ร่อน ทำให้ช้างป่าเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ทำให้เสียภาพลักษณ์ของประเทศชาติที่มีช้างเป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติแต่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างไม่เหมาะสม การล่าเอางาเพื่อนำไปแกะสลักทำเครื่องประดับ เครื่องรางของขลัง รวมทั้งเครื่องบูชา การล่าช้างเพื่อเอาอวัยวะซึ่งเป็นผลพลอยได้ เพื่อเอาชิ้นส่วนของอวัยวะไปบริโภคตามความเชื่อของบางคน

เมื่อช้างป่ามีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบนิเวศของป่าไม้เขตร้อนเกิดการเสียสมดุล เนื่องจากช้างป่ามีความสำคัญ ช่วยปลูกป่า ช่วยเกื้อกูลการดำรงชีวิตของสัตว์ชนิดอื่น ๆ ทำให้ผืนป่าคงความอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนต่าง ๆ
 
 
Credit: http://variety.teenee.com/index000.htm
13 มี.ค. 57 เวลา 11:37 3,538 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...