รู้จักกับภ.ง.ด. 90 และ 91 ฉันต้องกรอกแบบไหน

 

 

 

รู้จักกับภ.ง.ด. 90 และ 91 ฉันต้องกรอกแบบไหน

 

 

 

การจะยื่นภาษีผ่านแบบภ.ง.ด. 90 หรือ 91 นั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ โดยกรมสรรพากรได้แบ่งรายได้ออกเป็น 8 ประเภท

เดือนมีนาคมถือว่าเป็นโค้งสุดท้ายของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเชื่อว่าหลายคนที่ยังไม่ได้ยื่นภาษี โดยเฉพาะมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มยื่นภาษีปีนี้เป็นปีแรก อาจเกิดการสับสนว่า ตนเองจะต้องยื่นแบบภ.ง.ด. 90 หรือ 91 บทความนี้มีคำตอบให้ค่ะ

 

รู้จักกับเงินได้แต่ละประเภท

การจะยื่นภาษีผ่านแบบภ.ง.ด. 90 หรือ 91 นั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ โดยกรมสรรพากรได้แบ่งรายได้ออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ค่ะ

 

เงินได้ประเภทที่ 1 เป็นประเภทของเงินได้ที่เราคุ้นเคยกันดี โดยเป็นเงินได้จากการจ้างงาน เช่น เงินเดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา ค่าเบี้ยเลี้ยง โบนัส เป็นต้น

 

เงินได้ประเภทที่ 2 เป็นเงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า เบี้ยประชุม เป็นต้น เงินได้ประเภทนี้จะมีลักษณะใกล้เคียงกับประเภทที่ 1 โดยจุดที่แตกต่างจากประเภทที่ 1 คือ ประเภทที่ 2 เน้นความสำเร็จของงาน หากทำงานเสร็จ จึงจะได้รับเงิน

 

เงินได้ประเภทที่ 3 เป็นเงินได้จากค่าลิขสิทธิ์ และค่ากู๊ดวิลล์ เงินได้ประเภทนี้ มักพบในคนที่มีอาชีพเป็นนักเขียน

 

เงินได้ประเภทที่ 4 เป็นเงินได้จากดอกเบี้ยหรือเงินปันผล เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยพันธบัตร หรือเงินปันผลจากการลงทุนหุ้นสามัญ เป็นต้น

 

เงินได้ประเภทที่ 5 เป็นเงินได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นการเช่าที่ดิน บ้าน รวมถึงการผิดสัญญาเช่า

 

เงินได้ประเภทที่ 6 เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น หมอ นักกฎหมาย นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น

 

เงินได้ประเภทที่ 7 เป็นเงินได้จากการรับเหมา ซึ่งผู้รับเหมาต้องจัดหาสัมภาระในการก่อสร้างที่สำคัญด้วยตนเอง

 

เงินได้ประเภทที่ 8 เป็นเงินได้จากการทำธุรกิจ การพาณิชย์ การขายอสังหาริมทรัพย์ หรืออื่นๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์เงินได้ประเภทที่ 1-7

 

ภ.ง.ด. 90 และ 91 ฉันต้องกรอกแบบไหน

เมื่อ เราทราบแล้วว่า รายได้ของเราจัดเป็นเงินได้ประเภทไหน เราก็จะตัดสินใจได้แล้วว่า ต้องกรอกแบบภ.ง.ด. 90 หรือ 91 หากเรามีเงินได้ประเภท 1 เพียงอย่างเดียว ต้องกรอกแบบภ.ง.ด. 91 แต่หากมีรายได้ประเภทอื่น เช่น มีรายได้จากเงินเดือน (เงินได้ประเภท 1) และค่าคอมมิชชัน (เงินได้ประเภท 2) ก็ต้องกรอกในแบบภ.ง.ด. 90

 

สำหรับ ผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานในปี 2556 แล้วยังไม่มีภาระภาษีเกิดขึ้น อาจเกิดคำถามขึ้นว่า จำเป็นต้องยื่นแบบภ.ง.ด. หรือไม่ ขอให้ดูรายได้ที่เกิดขึ้นในปี 2556 ค่ะ หากเราเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้เป็นค่าจ้างซึ่งเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 เป็นเงินมากกว่า 50,000 บาท จะต้องยื่นแบบภ.ง.ด. 91 ส่วนผู้ที่มีรายได้ประเภทอื่น เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าคอมมิชชัน หรือทำธุรกิจส่วนตัว หากมีรายได้ทั้งปีมากกว่า 30,000 บาท ก็ต้องยื่นแบบภ.ง.ด. 90 ค่ะ

 

เมื่อทราบแล้วว่า เราจะต้องยื่นภาษีโดยใช้แบบภ.ง.ด. 90 หรือ 91 ควรรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับเงินได้และค่าลดหย่อนต่างๆ ให้ครบ แล้วรีบยื่นภาษี หากเป็นการยื่นที่กรมสรรพากรด้วยตนเอง ต้องยื่นภายในวันที่ 31 มีนาคม 2557ส่วนการยื่นผ่านอินเทอร์เนต ต้องยื่นภายในวันที่ 8 เมษายน 2557 เพราะหากยื่นช้าหรือชำระภาษีไม่ทัน จะมีค่าปรับ โดยถ้าไม่มีภาษีต้องชำระเพิ่ม จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่ถ้ามีภาษีต้องชำระเพิ่ม นอกจากจะเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาทแล้ว ยังมีเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระด้วยค่ะ

 

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Credit: http://variety.teenee.com/index000.htm
11 มี.ค. 57 เวลา 14:53 2,007 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...